หญิงร้ายเจ้าเสน่ห์ ‘แห่ง’ และ ‘ใน’ อินโดจีน: หญิงพื้นเมืองและผู้หญิงขาว (The Femme Fatale ‘of’ and ‘in’ Indochina: The Native and The White Femme Fatale)
หัวข้อที่ 1: หญิงร้ายเจ้าเสน่ห์ ‘แห่ง’ และ ‘ใน’ อินโดจีน: หญิงพื้นเมืองและผู้หญิงขาว (The Femme Fatale ‘of’ and ‘in’ Indochina: The Native and The White Femme Fatale)
ตัวบท
Chivas-Baron, Clotilde, Confidences de métisse (Paris: Charpentier et Fasquelle, [1926] 1927).
Farrère, Claude, Les Civilisés (Paris: Kailash, [1905] 2004).
Harry, Myriam, Petites épouses (Paris: Calmann-Lévy, 1902).
Leuba, Jeanne, ‘Pour un bijou’, Revue indochinoise, 5-6 (1917), 381-92.
หัวข้อที่2 : คนสองเพศและชายรักร่วมเพศ: จากจิตวิญญาณนิยมแบบตะวันออกสู่การเสียดเย้ยอาณานิคม (The Androgyne and the Homosexual: from Oriental Mysticism to Imperial Satire) วันที่
ตัวบท
Pouvourville, Albert de, L’Annam sanglant (Paris: Kailash, [1898] 1995).
Farrère, Claude, Les Civilisés (Paris: Kailash, [1905] 2004).
ชวนอ่านและสนทนาโดย วันรัก สุวรรณวัฒนา และ อ. ดร.สุภัค จาวลา ณ ร้านหนังสือ Book Re:public
ประเด็นสนทนาในวงเสวนาดังกล่าว คือการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นเพศวิถีในวรรณกรรมฝรั่งเศสยุคปลายศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ของดินแดนใต้อาณานิยมอย่างดินแดนอินโดจีน ผ่านแนวการวิเคราะห์วาทกรรมอาณานิคมและทฤษฎีอาณานิคมศึกษาร่วมกับการศึกษาแนวนวประวัติศาสตร์ และพบข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าวรรณกรรมดังกล่าวมีลักษณะการสร้างตัวละครชายหญิงพื้นถิ่นอินโดจีนในลักษณะที่ผิดเพี้ยนจากมาตรฐานศีลธรรมฝรั่งเศสยุคนั้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ตัวละครหญิงที่มีลักษณะเจ้าเสน่ห์ คาดเดายาก แต่นำมาสู่ความเลวร้ายและปัญหา หรือตัวละครชายที่มีลักษณะคล้ายผู้หญิง ข้อสังเกตเหล่านี้ช่วยชี้ให้เห็นบทบาททางการเมืองของวรรณกรรมอาณานิคมในการสร้างภาพแทนของคน/ความเป็นอื่นต่อผู้คนในดินแดนใต้อาณานิคมให้มีลักษณะแปลกแยกและด้อยค่ากว่าคนขาวซึ่งซ้อนทับกับประเด็นเพศวิถี ขณะเดียวกันยังสะท้อนภาพแทนของคนผิวขาวเจ้าอาณานิคมที่ต้องการสร้างให้ตัวเองสมบูรณ์แบบและภาพจำที่ศิวิไลซ์อีกด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้นำมาสู่การแลกเปลี่ยนพูดคุยในแง่อิทธิพลของสังคม การเมือง ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่สะท้อนผ่านวรรณกรรม รวมไปถึงชี้ให้เห็นอคติและความไม่เท่าเทียมที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่ทำให้ทุกคนได้หวนกลับมาวิพากษ์วรรณกรรมและเรื่องเล่าของรัฐในฐานะเครื่องมือของอำนาจและภาพแสดงของมายาคติที่สร้างความไม่เท่าเทียมและอคติขึ้นในสังคม