‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative Wisdom Space   โดยมี ‘พรีเมียร์’ นาวินธิติ  ตัวแทนจากกลุ่ม SAAP 24:7 หนึ่งในสมาชิก Humanร้าย 5,  ‘ขวัญ’ ขนิษฐา ตัวแทนกลุ่ม SYNC space หนึ่งในสมาชิก Human ร้าย5  และ ‘เจ๋ง’ สิรศิลป์ ตัวแทนนักศึกษาสาขา Media art and Design มหาลัยเชียงใหม่  ในงานเสวนาจัดขึ้นจาก ความเห็นของ […]

เพราะรักและการปฏิวัติ จึงอ่านต่อ

Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510 การต่อสู้ช่วงชิงนิยามของ”ความรัก” ที่ให้ฝูกโยงกับวิถีชีวิต”สามัญชน” ในขณะเดียวกันยิ่งตอกย้ำความเข้มข้นการวิพากษ์ ชนชั้น“ศักดินา” ซึ่งการเมืองวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งต่ออุดมการบรรยากาศของ”การปฏิวัติ”เพื่อความหวัง ความฝันแบบใหม่ไปควบคู่กับการก่อร่างสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นประชากรโลกที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของคนหนุ่มสาวที่ไม่อาจหวนกลับไปสู่ระบบอำนาจ ขนบ ธรรมเนียมล้าหลังอีกต่อไป ในเล่มนี้ยังมีหนังสือและงานวรรณกรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์และชวนอ่านต่อที่น่าสนใจเช่น และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ , ปีศาจ โดย เสนีย์ เสาวพงศ์ , จนกว่าเราจะพบกันใหม่ โดย ศรีบูรพา และอื่นๆ  อ่านต่อ หมวดประวัติศาสตร์“ปฏิวัติ” ทำความเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมือง บรรยากาศของการลุกขึ้นมาปฎิวัติในชีวิตประจำวันของคนวัยหนุ่มสาวและกลุ่มหัวก้าวในช่วง 2475-2500 ในไทยกับหนังสือ […]

ภาพยนตร์ชีวประวัติกับความเป็นปัจเจกแบบไทยๆ

ภาพยนตร์ชีวประวัติกับความเป็นปัจเจกแบบไทยๆ ภาพยนตร์ชีวประวัติกับความเป็นปัจเจกแบบไทยๆ” “Biographical Films and Thai-Style Individualism” วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 โดย อ.พศุตม์ ลาศุขะ จากภาควิชาการภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มช. ซึ่งสอนวิชาวรรณกรรม สื่อภาพและเสียง ทฤษฎีวรรณกรรมและวัฒนธรรมศึกษา งานเสวนานี้มาจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ชื่อว่า “The good individuals of the state: middle-class culture and politics in Thai biographical films after 2006” ที่ อ.พศุตม์ เพิ่งสำเร็จการศึกษามาเมื่อต้นปี จาก School of Culture, History, and Language มหาวิทยาลัย The Australian National University . โดยมี อ.จณิษฐ์ […]

เสวนา ลวงตา: รูปแบบศิลปะกับอุดมการณ์เบื้องหลัง

สืบเนื่องมาจากผลงานของศิลปะคนไทยได้ไปจัดแสดงถึงประเทศเกาหลีใต้ในงานนิทรรศการ ‘The Truth_to Turn It Over’ พูดถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองกวางจู ปี 1980 แต่กลับมีจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ตั้งคำถามกับความหมายเบื้องหลังผลงานของคนไทยด้วยกันว่าอาจไม่เหมาะสมที่จะเป็นงานที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการที่รำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ถอดถอนงานแต่อย่างใด “ลวงตา: รูปแบบศิลปะกับอุดมการณ์เบื้องหลัง” โดย อ.ธนาวิ โชติประดิษฐ อ.บัณฑิต จันทร์โรจกิจ ผู้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ในงานดังกล่าว พร้อมทั้งพูดคุยถึงรูปแบบงานศิลปะและอุดมการณ์การเบื้องหลังของงานโดยตั้งคำถามว่า รูปแบบของงานศิลปะกับอุดมการณ์ จะ “ซ้าย” หรือ “ขวา” ไม่ได้บอกกันได้ง่ายๆ เพียงแค่ตาเห็นอีกต่อไป ชวนคุยโดยอ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ