Tag: booktalk

“ดูสามย่าน หันมองมช. : พันธกิจมหา’ลัยไทย 2024” 

สรุปประเด็น”ดูสามย่าน หันมองมช. : พันธกิจมหา’ลัยไทย 2024″ บทนำ – ทำไมต้องเป็นหนังเรื่องนี้ ที่เราเลือกนำมาฉายในมช. ?.พิสิษฏ์ นาสี – Gentrification… การเบียดขับคนจนในโลกการศึกษาท่ามกลางบริบทเสรีนิยมใหม่.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ – จากปลายกระบอกปืนเผด็จการทหาร.. สู่การปล้นทรัพยากรโดยคนรวย มิติทางชนชั้นที่ถูกกลบเกลื่อน.นาวินธิติ จารุประทัย – ประสบการณ์นักศึกษาในมหา’ลัยยุคมุ่งทำเงิน… ฝันหวานกับความเป็นจริงในโลกวิชาการ ทำไมต้องเป็นหนังเรื่องนี้ ที่เราเลือกนำมาฉายในมช.

The Last Breath of Sam yan – สารคดีที่นิสิต/นักศึกษาทั่วประเทศควรดู

วันนี้มารีวิวและชวนดูสารคดี The Last Breath of Samyan ใจความของรีวิวนี้คือ… สารคดีดังกล่าวจะช่วยเปิดประตูให้คุณเริ่มเข้าใจบริบทของ “ ทุกมหาวิทยาลัย ” ในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของอุดมการณ์ “ เสรีนิยมใหม่ ” อย่างเข้มข้น ด้วยความแนบเนียน ท้าทายพันธกิจและบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา ซึ่งสร้างความขัดแย้งในตัวเองที่ต้องจัดการตนเองในฐานะ “ นายทุน ” บนบทบาทของ “ สถาบันการศึกษา

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยไปทางไหน

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาสังคมไทยมีความตื่นตัวทางการเมืองเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่หมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและวัฒนธรรมครั้งสำคัญ ซึ่งมีผลต่อทัศนคติ และการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทย และจากสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเราจึงมีคำถามใหญ่ร่วมกันว่า “ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน”, “สังคมการเมืองไทยจะนำมาสู่จุดเปลี่ยนในประเด็นใดบ้าง” และ “เราในฐานะประชาชนจะต้องรับมืออย่างไร” ในโอกาสที่สังคมไทยกำลังก้าวผ่านจากปี 2022 สู่ปี 2023 Book Re:public จึงชวนผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน สังคมศาสตร์, รัฐศาสตร์ และ กฎหมาย มาร่วมแกะรอยปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองในปัจจุบัน สู่การคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านงานเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน :

ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที

จากกิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินมาจนถึงวันที่ 10 ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นอกจากกิจกรรมหลักที่ประชาชนยืนสงบนิ่งในทุกๆวันช่วงเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไป สิ่งที่เรามักจะสังเกตเห็นเมื่อไปร่วมกิจกรรม คือการยืนอ่านหนังสือของผู้คนหลากหลายช่วงอายุ หลากหลายเนื้อหาความสนใจ  จากการเข้าไปสอบถาม หลายคนที่ยืนอ่านหนังสือบอกว่า ทุกวันจะมีกล่องลังกระดาษที่บรรจุหนังสือหลากหลายประเภทวางไว้อยู่มุมหนึ่งของลานฯ ให้คนที่มาร่วมกิจกรรมได้ยืมอ่านขณะที่ยืน และนำไปคืนเมื่อเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที สิ้นสุดลง  ซึ่งเจ้าของไอเดีย “ยืมหนังสือ” ช่วงของการทำกิจกรรมยืนหยุดขังคือ “หมอมีน”และ “ซู่หมู” จากสมาชิกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง 

อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

“กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง”  หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม

ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

หากใครเป็นแฟนคลับของร้านหนังสืออิสระ Book Re:public คงยังจำกันได้ว่าเราเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่ สาขาคันคลอง จนย้ายมาที่ สาขาถนนกองบิน 41 (ปี2015 – 2019) และในครั้งที่ 3 ณ เวลานี้ เราได้ย้ายมาอยู่ที่ ซอยวัดอุโมงค์ แม้ขนาดของร้านจะเล็กลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของพวกเราในปี 2021 นี้ ย้อนกลับไปในช่วงเวลา

ล้านนานอก(ก)รอบ

ล้านนา นอก(ก)รอบ: อ่านประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านแว่นตาคู่ใหม่ ชวนคุยโดย – อาจารย์วิชญา มาแก้วอาจารย์ประจำภาควิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ – คุณเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีนักวิชาการอิสระด้านล้านนาคดีศึกษา – อาจารย์ มนวัธน์ พรหมรัตน์อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2019 อ.มนวัธน์ : สวัสดีท่านผู้ฟังและสวัสดีผู้ชมไลฟ์ที่กำลังชมตอนนี้และจะชมต่อไปในอนาคตด้วย วันนี้หัวข้อล้านนานอกรอบ หรือ นอกกรอบ