
สืบเนื่องมาจากผลงานของศิลปะคนไทยได้ไปจัดแสดงถึงประเทศเกาหลีใต้ในงานนิทรรศการ ‘The Truth_to Turn It Over’ พูดถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองกวางจู ปี 1980 แต่กลับมีจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ตั้งคำถามกับความหมายเบื้องหลังผลงานของคนไทยด้วยกันว่าอาจไม่เหมาะสมที่จะเป็นงานที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการที่รำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ถอดถอนงานแต่อย่างใด


“ลวงตา: รูปแบบศิลปะกับอุดมการณ์เบื้องหลัง”
โดย
อ.ธนาวิ โชติประดิษฐ
อ.บัณฑิต จันทร์โรจกิจ
ผู้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ในงานดังกล่าว
พร้อมทั้งพูดคุยถึงรูปแบบงานศิลปะและอุดมการณ์การเบื้องหลังของงานโดยตั้งคำถามว่า รูปแบบของงานศิลปะกับอุดมการณ์ จะ “ซ้าย” หรือ “ขวา” ไม่ได้บอกกันได้ง่ายๆ เพียงแค่ตาเห็นอีกต่อไป
ชวนคุยโดย
อ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ