Day: January 12, 2019

[Book Re:commendation] คอมมิวนิสม์สำหรับสหายน้อย

‘ทุกคนนั่งอยู่รอบๆ เตารีดเพื่อครุ่นคิดพิจารณาระบอบทุนนิยม ตอนนี้พวกเขารู้แล้วว่าความพินาศย่อยยับที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดของทุนนิยมหน้าเลือด “เห้อออ ไม่เห็นจะดีตรงไหนเลย” ผู้คนครุ่นคิด “เริ่มแรกทุนนิยมก็ทำให้เราไม่มีความสุข แล้วจากนั้นระบอบมันก็ห่วยไปเรื่อยๆ” “และอีกอย่างนึงนะ” ใครบางคนตะโกนขึ้น “เราอยู่ในระบอบทุนนิยมมาตั้ง 500 ปี นั่นมันนานเกินพอละนะ ถึงเวลาเปลี่ยนได้แล้วปะ?”’ —————บางส่วนจาก ‘คอมมิวนิสม์สำหรับสหายน้อย’ ทำไมต้องประกอบสร้างคอมมิวนิสม์ขึ้นมาอีกครั้งในศตวรรษที่ 21 กันหรือ? ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความหายนะอย่างสุดขีดของมันหรืออย่างไร? ทำไมยังต้องมายืนหยัดกับคำโบราณคร่ำครึอันเสื่อมถอยนี้อีกเล่า? ‘คอมมิวนิสม์สำหรับสหายน้อย’

[Book Re:commendation] น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่

การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองในอดีต ถ้าไม่ศึกษาเรื่องของสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ก็มักจะศึกษาศูนย์กลางของอาณาจักรต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างไร แต่การศึกษาในหนังสือเล่มนี้นั้นสนใจการเติบโตและการเสื่อมถอย และโอกาสแห่งการพลิกฟื้นของเมืองที่เต็มไปด้วยพลวัตรของความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่กับความสะมพันธ์ของอำนาจนอกพื้นที่ และบ่อยครั้งการเปลี่ยนแปลงทิศทางจากการพัฒนาในระดับชาติมีผลต่อความมั่งคั่งและเสื่อมถอยของพื้นที่อยู่ไม่น้อย…. “น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่” นับเป็นชีวประวัติเมือง (urban biography) ที่เต็มไปด้วยสีสัน และทำให้คำว่าสถานที่ (place) นั้นไม่ติดกับวัตถุหรือสถาปัตยกรรมชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่คือพลวัตรของพื้นที่ ชุมชน และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในพื้นที่ เช่น เทศาภิบาล จังหวัด

[Book Re:commendation] การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์

เป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐศาสตร์ ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ (body of knowledge) สาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ คือการแสวงหาหนทางที่จะเข้าใจถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการเมือง เพื่อจะคาดการณ์แนวโน้มของปรากฏการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ไปใช้หรือไม่ และมากเพียงใด เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม การที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจน จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นกระบวนการจำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้น ด้วยการชี้ให้เห็นระดับ ประเภท และทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวการณ์หนึ่ง อันจะทำให้เข้าใจได้ว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้น แะเกิดขึ้นอย่างไร ในความหมายอย่างกว้าง กระบวนการนี้ก็คือ

[Book Re:commendation] เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ

ในอดีตที่ผ่านมา มีการศึกษาเกี่ยวกับ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือคณะผู้ก่อการ “กบฏบวรเดช” มาแล้วไม่น้อย แต่เป็นที่น่าสนใจว่า การให้ความหมายกลุ่ม “เลือดสีน้ำเงิน” เหล่านี้ ในบางกรณีเป็นการให้ความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง บางคราวมีผู้เสนอว่า คณะผู้ก่อการฯ เหล่านี้ พยายามต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ในอีกคราว งานเขียนทางประวัติศาสตร์บางชิ้นกลับทำให้ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือพวก “น้ำเงินแท้” กลายเป็นพวก “ปฏิปักษ์ปฏิวัติ” ที่ต้องการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์… “เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง

[Book Re:commendation] การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สยามประสบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่อิทธิพลของชาติตะวันตกส่งผลให้ราชสำนักสยามเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ราชสำนักฝ่ายใน” ดินแดนหลังกำแพงสูงที่ถูกปิดกั้นด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎระเบียบที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน… ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นราชสำนักที่ปรากฏสีสัน เรื่องราว และบทบาทสตรีมากที่สุดสมัยหนึ่ง อันเนื่องมาจากยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการปกครองและอิทธิพลตะวันตก สตรีในราชสำนักที่นอกจากจะแสดงบทบาททั้งในฐานะภรรยาและมารดา จึงยังแสดงบทบาทของผู้นำในด้านสังคม วัฒนธรรม การตกเป็นเครื่องมือทางอำนาจ หรือแม้กระทั่งบทบาทผู้นำด้านการเมืองการปกครองอันเป็นเขตหวงห้ามของสตรีเสมอมา… “การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่

[Book Re:commendation] Creating Innovators:คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

“คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากขัดเกลาลูกหลานให้เป็นนักคิดผู้สร้างสรรค์” — USA TODAY โทนี วากเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะพาไปสำรวจเบื้องหลังความสำเร็จของนักสร้างสรรค์และเจ้าของกิจการรุ่นใหม่จากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งวิศวกรผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของไอโฟนรุ่นแรก ชายผู้พลิกโฉมอุตสาหกรรมรองเท้าด้วยความหลงใหลตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กชายสมาธิสั้นผู้กลายเป็นนักสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ เด็กหนุ่มชาวแอฟริกาผู้เปลี่ยนความคิดเรื่องมุ้งให้กลายเป็นนวัตกรรมป้องกันมาลาเรียในบ้านเกิด และแสดงให้เห็นว่า “ผู้ใหญ่” รอบตัวเด็กมีบทบาทอย่างไรในการปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ จุดประกายจินตนาการ และสอนให้รู้จักรับมือกับความล้มเหลว… Creating Innovators: คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก จะแสดงให้เราเห็นเส้นทางพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่รากฐานสำคัญอย่างวิธีการเลี้ยงดูในครอบครัว ต่อยอดสู่กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน ก่อนจะนำไปประยุกต์ใช้ในโลกการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือหนังสือที่เหมาะสำหรับพ่อแม่

[Book Re:commendation] ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องเด่นของสังคมร่วมสมัย ทั้งในแง่ปรากฏการณ์สังคมและประเด็นทางวิชาการ อาจกล่าวได้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอุดมคติที่เกิดขึ้นในทางทฤษฎี หากแต่ในทางปฏิบัติกลับมีความย้อนแย้งและอาจเกิดขึ้นจริงไม่ได้ การศึกษาถึงการแลกเปลี่ยนและการตอบโต้ของแนวคิดและค่านิยมเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะทำให้เห็นถึงปัญหา ขีดจำกัด และความท้าทายต่างๆ ที่อุดมคติว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมต้องเผชิญในสภาวะสังคมร่วมสมัย… “ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม” คือหนังสือรวมบทความที่เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการด้านปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และสถาปัตยกรรมจากสถาบันต่างๆ ที่ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์และดำเนินการวิจัยประเด็นทางความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน “ตัวบท” ที่ต่างกัน ใน “บริบท” ที่ต่างกัน เพื่อเปิดเผยให้เห็นการปะทะสังสรรค์ การต่อรอง และการครอบงำของคุณค่าและทัศนคติจากต่างบริบทสังคมวัฒนธรรม… ถกเถียงเรื่องคุณค่า

[Book Re:commendation] China 5.0

[Book Re:commendation] China 5.0 China 5.0 สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งในด้านบวกและลบภายใต้สีจิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ 5 ทั้งยังสะท้อนภาพความท้าทายของจีนไฮเทคที่เดินหน้าด้านเทคโนโลยีไปอีกขั้นด้วยความเร็วติดจรวด จากยุค 4.0 คือเทคโนโลยีดิจิทัล ก้าวสู่ยุค 5.0 คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ซึ่งจะเป็นกุญแจชี้ทิศทางอนาคตของจีน… ไม่ว่าคุณจะทำงานในสาขาใด คุณไม่สามารถเป็นผู้นำในสาขานั้นได้ถ้าไม่มีความเข้าใจเรื่องจีน เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป แต่เป็น “โลกของจีน”… โลกที่จีนเป็นวิชาบังคับ

[Book Re:commendation]ผู้หญิงสีฟ้า

โลกนี้หญิงชายเป็นผู้สร้าง แต่ว่าปัญหาอยู่ในการสร้างโลกของแต่ละคนช่างแตกต่างกันไปตามแต่วิธีการของส่วนตัว นี่อาจจะเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างสรรค์วรรณกรรมของคุณชมัยภร แสงกระจ่างก็เป็นได้ เพราะคุณชมัยภรมักบอกเสมอว่า “ไม่ชอบเขียนเรื่องแบบเดิม” ดังนั้นมิไยที่บรรณาธิการ นักอ่าน แฟนคลับ จะเรียกร้องว่า “เขียนเรื่องแบบนั้นอีกสิ” “อยากอ่านเรื่องแบบนี้” คุณชมัยภรมักจะตอบว่า “ก็เขียนไปแล้วนี่” … “ผู้หญิงสีฟ้า” เป็นนวนิยายที่เคยเขียนลงเป็นตอนในนิตยสารขวัญเรือน อ่านต้นเรื่องเหมือนจะเป็นเรื่องบู๊ เพราะนางเอกอยู่ในแวดวงสีดำ แต่ด้วยความเป็นนักเขียนแบบชมัยภร ในที่สุด ผู้หญิงสีฟ้า จึงกลับเป็นเรื่องชีวิต ที่ทำให้ผู้อ่านต้องกลับมามองตัวเองอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างครอบครัว

[Book Re:commendation] เราต่างเป็นนักออกแบบ

“เราต่างเป็นนักออกแบบ” เริ่มต้นด้วยเรื่องราวท้องถิ่นและสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัน กล่าวคือผู้คนในชีวิตประจำวัน ความตั้งใจในการต่อสู้กับปัญหาโอกาสในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด — ความหมายที่แท้จริงของชีวิต เราเฝ้ามองวิธีที่ผู้คนเหล่านี้ค้นพบพลังของความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถของพวกเขาและบ่อยครั้งวิธีการที่ค้นพบนี้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มรูปแบบใหม่ (องค์กรประสานความร่วมมือ) และสิ่งประดิษฐ์ ที่องค์กรเหล่านี้ใช้เป็นพื้นฐานเพื่อเอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหา และนักออกแบบก็เป็นส่วนที่แข็งขันของการค้นพบใหม่นี้… หนังสือเล่มนี้ ได้ให้ความชัดเจนต่อการริเริ่มต่างๆ มากมาย ทั้งก่อนและหลังกระแส “ร่วมออกแบบร่วมสร้างสรรค์” (Co-design Co-creation) โดยสรุปคือการออกแบบโครงการชีวิตของผู้คนหรือองค์กร การออกแบบสำหรับโลกที่แท้จริงนี้จึงมากกว่าการออกแบบวัสดุเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ แต่คือการเข้ามาสู่ปริมณฑลแห่งชีวิตสังคม และนักออกแบบทั้งสมัครเล่นเช่นคนทั่วไปและนักออกแบบมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญจะประสานความร่วมมือกัน…. เราต่างเป็นนักออกแบบ โดย เอซิโอ