จิตติมา หลักบุญ |Jittima Lukboon

ณัฐวราพร จอมจักร์| Natwaraporn Jomjak

ขนาด:240×160 ซม. 
เทคนิค: ภาพถ่ายคอลลาจ บนผ้าใบ 
ปีผลิต:2020

Size: 240×160cm.
Technic: Photo collage on canvas
Year: 2020


concept

ปางเสด็จประเวศด้าว                      ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานไชย                         กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร                      แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว                      เพริศพริ้งพายทอง ๚

Above is the first verse of the royal barge-rowing song (pronounced as “gaap-hay-rua”), a crucial element in the royal barge procession, arranged only on special occasions, much like the Royal Coronation. Manned by a large number of crew, the rhythmic song ensures coordination of the rowing movements of the oarsmen. 

งานชิ้นนี้เกิดจากความสนใจในงานพิธีกรรมหรือรัฐพิธี ที่จัดขึ้นบ่อยครั้งเพื่อเป็นเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ทั้งในหน่วยงานระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ในระดับงานท้องถิ่น พบว่าแต่ละปีมีงานรัฐพิธีเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างน้อย 13 ครั้ง

แต่ละครั้ง “ดอกไม้” จำนวนมหาศาลถูกนำมาใช้ในการประดับประดาให้สวยงาม บางรัฐพิธีที่มีช่วงเวลาหลายวัน ดอกไม้จะถูกนำมาเปลี่ยน และเมื่อเสร็จงานก็ถูกทิ้งไป โดยเฉพาะในพิธีเฉลิมฉลองระดับประเทศ บริเวณถนนราชดำเนินและถนนราชดำริ ที่ใช้งบประมาณสำหรับดอกไม้แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก การใช้ดอกไม้จำนวนมหาศาลในพิธีการเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน ผ่านการศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนถนนราชดำเนินและราชดำริ ซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์เสมอมา และชื่อผลงานคือตัวเลขของจำนวนต้นไม้ที่ใช้ในพิธีนั้น

จากการค้นคว้าดอกไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม พบว่าในลายประดับชุดครุยมหาจักรีมีลายดอกไม้คือ “ดอกประจำยาม” ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ไม่มีอยู่จริงและมักถูกใช้ในงานศิลปะของไทย เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันฯ จึงนำดอกประจำยามมาทำงานศิลปะชิ้นนี้ โดยประกอบกันเป็นรูปในกรอบใหญ่ และนำภาพหรือสิ่งของเชิงสัญลักษณ์ของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มาร้อยเรียงในลายดอกประจำยามนั้น


This work is born out of the questions towards ceremonies that are organized throughout the year in honor of paying respect to the monarch, both on provincial level to national level.  On a local level alone, there are up to 13 events each year on the minimum.

Tremendous amounts of flowers have been used, replaced and at the end discarded for decoration for such ceremonial events, particularly on historical Ratchadamri and Rachadamnoen Rd. Being costly budgeted items, flowers have become the focal point of the work. The title of this artwork is the amount of plants used in one ceremony.

Upon researching the types of flowers used in these ceremonies, there is a flower called “Pra-cham Yam” an imaginary flower always featured in Thai arts, a pattern in royal gown. Pra-cham Yam then becomes the flower of choice in this work, assembled as a photo collage in which the elements symbolize crucial historical events happened in the country.


Process

field research and production