ธันวา เอี่ยมประสิทธิ์ | Thanwa Iamprasit

ขนาดขนาด:180×220×220 ซม. 
เทคนิค: งานจัดวาง วัสดุไม้ไผ่และมูลสัตว์ 
ปีผลิต: 2020 


Size: 180×220×220 cm.
Technic: Installation (bamboo and animal feces)
Year: 2020 


concept

หากสัญชาติคือตัวกำหนดคุณค่าทางสังคมของมนุษย์ ชนชั้นแรงงานไร้สัญชาติจะไม่มีสิทธิได้มีคุณค่าทางสังคมเลยแม้แต่น้อย ชาวบ้านในชุมชนสลัมคอกควายคือแรงงานไร้สัญชาติราคาถูก ซึ่งเป็นที่ต้องการและเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฝั่งไทย แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขากลับถูกแขวนอยู่บนความไม่แน่นอนเพียงเพราะสถานะที่รัฐไม่รองรับ พวกเขาถูกละเลย ถูกมองข้ามคุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้มีวิถีชีวิตที่งดงามและมีคุณค่าบนความยากลำบากซึ่งไม่ต่างจากมนุษย์ทั่วไป

Stateless labor in the studied slum community remains largely unaccepted despite their consistent contribution to local economy on Thailand border. They fail to be recognized as mutual human being, let alone treated with dignity. Being undocumented, they are restricted and have no access to certain rights and public services.


เราควรทำอะไรบ้างไหม? ถ้าหากเรารู้ว่าสังคมที่เราอาศัยอยู่ยังมีกลุ่มคนที่ยังไร้ตัวตนและไม่เป็นที่ยอมรับ บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติยังเป็นกลุ่มคนที่ไม่ถูกสนใจหรือถูกมองว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมเฉกเช่นพวกเรา กลุ่มคนเหล่านี้มักถูกมอกว่าเป็นเพียงแรงงานราคาถูก งานชิ้นนี้จึงนำเสนอคุณค่าของมูลวัวที่เปรียบเหมือนคุณค่าของชาวบ้านในชุมชนสลัมคอกควายที่มักถูกมองข้าม

หากสัญชาติคือตัวกำหนดคุณค่าทางสังคมของมนุษย์ ชนชั้นแรงงานไร้สัญชาติจะไม่มีสิทธิได้มีคุณค่าทางสังคมเลยแม้แต่น้อย ชาวบ้านในชุมชนสลัมคอกควายคือแรงงานไร้สัญชาติราคาถูกที่เป็นที่ต้องการและเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฝั่งไทย แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขากลับถูกแขวนอยู่บนความไม่แน่นอน เพียงเพราะสถานะที่รัฐไม่รองรับ พวกเขาถูกละเลยและมองข้ามคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ควรจะมีเทียบเท่ากับมนุษย์คนอื่น ๆ งานชิ้นนี้จึงตั้งคำถามกับคุณค่าและความงดงามบนความยากลำบากของชีวิตของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยใช้มูลวัวซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกนิยามว่าสกปรก น่ารังเกียจ ทว่ามีคุณประโยชน์มากมายเป็นสัญญะในการสื่อสารในงานชิ้นนี้ 

When there are still groups of stateless people living with us and not accepted. When they don’t get any recognition nor regarded as human as us, as cultured as us. Should we do something? These people are seen only as cheap labor. This piece then uses cow manure—a very beneficial substance in agriculture but often disregarded, to signify worthiness of the stateless worker living in Kok Kwai (Translation: Buffalo shed) community.

If having a nationality determines one’s value to the society, stateless workers are worth nothing. Even though their works are in demand and crucial to the economy, their lives are unsecured. They are neglected and disregarded as human beings who deserve as much rights as others due to the lack of citizenship status and being undocumented. This work begs a question on the value, the hardship and the beauty of their lives, using cow manure that is seen as dirty but full of benefits as means of communication. 


Process

field research and production