อ่านอะไรในประวัติศาสตร์เวลา : จาก พฤษภาคม 2535 – พฤษภาคม 2553

..

ประวัติศาสตร์การเมืองที่รัฐเขียน เรื่องราว น้ำเสียงถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ ลดทอนรายละเอียดของอารมณ์ความรู้สึก รัฐมีอำนาจที่สามารถสร้างสิ่งที่เราต้อง “จดจำ” และด้านหนึ่งอำนาจรัฐก็ “ทำให้ลืม” ในสิ่งที่เรียกว่า อาขญากรรมรัฐ (state crime) ด้วยเช่นกัน จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้สยบยอม และยังคงต่อสู้เพื่อ ไม่ให้ “ความจริง” นั้นเลือนหายไป ยังมีเส้นทางของประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นและขนานกันไป ซึ่งอาจะจะมีเพียงจุดเริ่มต้นที่เป็นผลพวงจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน

หนังสือการประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์จากหลากหลายมุมมอง น้ำเสียง และทัศนคติ ของประชาชนชั้นสามัญ จาก ปี พ.ศ. 2535 (และก่อนหน้านี้) จนถึง 2553 ยังเป็นเป้าหมายสำคัญที่พวกเขาไม่ต้องการให้การต่อสู้กับความรุนแรงที่รัฐกระทำถูกทำให้ลืมเลือนไป เพราะนี่คือช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประชาชน 

ชวนอ่านประวัติศาสตร์คู่ขนาน เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นในเดือน “พฤษภาคม” 
หนังสือเปิดพื้นที่ทำความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลากหลายมุมมองของสามัญชน

19-19 ภาพชีวิต และการต่อสู้คนเสื้อแดง

เมื่อภาพถ่ายคือพลังของการบอกเล่าเรื่องราว และการบันทึกประวัติศาสตร์เชิงประจักษ์ ชวนให้ผู้อ่านสืบเสาะหาเรื่องราวภายใต้เวลาที่หยุดนิ่ง

…หลังจากรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวชุมนุม เดินขบวนเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง ด้วยท่าทีที่มีต่อ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย 
รวมทั้งกลุ่มคนที่แสดงจุดยืนต่อความเป็นประชาธิปไตย จุดที่เป็นเป้าหมายร่วมกันคือการปฎิเสธรัฐประหารและผลผลิตของเผด็จการ เกิดเป็นการรวมตัวในฐานะ “แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ” เพื่อขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 
รวมทั้งกดดันให้ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี แต่เป้าหมายไม่บรรลุผล จึงหันไปรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งพวกเขาเห็นว่าเป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจเผด็จการ และใช้เวลาต่อสู้เป็นเวลายาวนานจนถึง 19 พฤษภาคม 2553…พวกเขาเรียกตัวเองว่า “คนเสื้อแดง”

อ่านประวัติศาสตร์การเมืองครั้งสำคัญของการต่อสู้ภาคประชาชนกลุ่มคนเสื้อแดง

“19-19 ภาพชีวิต และการต่อสู้คนเสื้อแดง : จาก 19 กันยา 49 ถึง 19 พฤษภา 53” จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน 

สมุดปกขาว การสังหารหมู่ ที่กรุงเทพฯ

สมุดปกขาว การสังหารหมู่ ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

..
“โอกาสที่เท่าเทียม และความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ ” 
คือแนวคิดในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ“คนเสื้อแดง”

เพราะพวกเขาต่อสู้เพื่อต้องการมีสิทธิ์มีเสียง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมบูรณ์

…..
หนังสือเล่มนี้นำเสนอประเด็นข้อเท็จจริงการละเมิดกฎหมาย การละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน การใช้อำนาจเกินความจำเป็น และระบบการไล่ลาประหัตประหารทางการเมือง ในช่วงเวลาที่ประชาชนเรียกร้องเสรีภาพ การมีส่วนร่วมภาคการเมือง 
รวมไปถึงกระบวนการหาข้อเรียกร้องการรับผิดชอบของผู้สูญเสียในการชุมนุมฯ

ฟ้าเดียวกัน ฉบับ 40 ปี 6 ตุลา ความขัดแย้งและวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทย

ฟ้าเดียวกัน ฉบับ 40 ปี 6 ตุลา ความขัดแย้งและวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทย

..
สังคมไทยผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐกระทำต่อประชาชนมาหลายครั้งหลายครา รวมทั้งการย่ำยีความเจ็บปวดของประชาชนผ่านการใช้อำนาจอยุติธรรม ปิดบัง และลบความผิด 

เหตุใดจึงไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมได้? ทำไมวัฒนธรรมการลอยนวลจากการรัฐประหารและเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองยังคงอยู่ และยังคงเอื้อผลประโยชน์กับผู้ที่มีอำนาจ และไม่อาจถอนรากถอนโคนปัญหานี้ได้ 

ชวนอ่านรวมบทความ เปิดเผยข้อเท็จจริงความอยุติธรรมของโครงสร้างการเมืองไทย และบาดแผลของผู้คนที่เป็นผลมาจากกฎหมายนิรโทษกรรม

“พฤษภา – พฤษภา สังคม – รัฐไทย กับความรุนแรงทางการเมือง

เหตุการณ์ พฤษภาฯเลือด 2535 (Bloody May 1992) สู่ พฤษภาฯ อำมหิต 2553 (Cruel May 2010) ระหว่างเส้นทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ภาคประชาชนและความสูญเสียที่เกิดขึ้นในใจกลางกรุงเทพมหานคร ถูกเรียกว่าเป็น “อาชญากรรมรัฐ” 

กระบวนการทำให้ “ลืม” ได้เกิดขึ้นตามมา ผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นเวลาเกือบศตวรรษเรามีกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว 22 ฉบับ และยังมีประวัติศาสตร์อะไรอีกบ้าง ที่รัฐพยายามทำให้เราลืม..

หนังสือ “พฤษภา – พฤษภา สังคม – รัฐไทย กับความรุนแรงทางการเมือง“ รวบรวม บทความ “เก่า” และ “ใหม่”ของประวัติศาสตร์คู่ขนานการต่อสู้ภาคประชาชน เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง

กรุงเทพฯ(ไม่)มีคนเสื้อแดง : บันทึกการต่อสู้ของคนเสื้อแดงกรุงเทพฯ

หนังสือ ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ชวนผู้อ่านย้อนอดีตตั้งแต่จุดเริ่มต้น จาก“กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ”สู่ คนเสื้อแดง 

เส้นทางการต่อสู้แสนยาวนานที่พาคนจากคนหลากหลายพื้นที่ ทั้งต่างจังหวัดและคนกรุงเทพ มุ่งสู่ศูนย์กลางประเทศไทย เพื่อเขียนประวัติศาสตร์การเรียกร้องความเท่าเทียมและสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน // ความจริง และเรื่องราวความเกลียดชังคนเสื้อแดง ที่ขยายพื้นที่ไปสู่สงครามคีย์บอร์ดจากความจริงต่างมุม

จนไปถึงเหตุการณ์ “การเคลียร์เสื้อแดง ออกจากกรุงเทพฯ”ในวันสลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม และการเกิดขึ้นของกลุ่ม “เสื้อแดงใหม่” 

อ่าน” ฉบับ ศิลปะหลัง ”ราชประสงค์” ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ตุลาคม – ธันวาคม 2553

“อ่าน” ฉบับ ศิลปะหลัง ”ราชประสงค์” ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ตุลาคม – ธันวาคม 2553

ชวนอ่านบทความ บทวิจารณ์ ในช่วงเวลาที่ “ศิลปะ” กำลังท้าทายการรวมศูนย์อำนาจรัฐ และยึดอำนาจจากประชาชน บทความรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นที่มีต่อพื้นที่ “ศิลปะ”ไทย กับความสัมพันธ์ต่อประวัติศาสตร์การต่อสู้ของภาคประชาชน ในฐานะกระบอกเสียงอีกรูปแบบหนึ่ง

รวมทั้งชวนตั้งคำถามในท่วงทำนองของบทกวี วรรณกรรม ว่างานศิลปะจะยังคงเป็นเครื่องมือต่อรองการรวมศูนย์อำนาจของประชาชนได้อยู่หรือไม่

 ตราบใดที่ประวัติศาสตร์การต่อสู้ภาคประชาชนก็ยังไม่มีจุดสิ้นสุด

อำนาจหนึ่งที่สามัญชนจะทำได้ คือการบันทึกประวัติศาสตร์ของตนเพื่อไม่ให้ถูกหลงลืม

Latest Story

Kenduri Seni Patani 2024 เทศกาลศิลปะเชื่อมประเด็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม – การเมือง – และชุมชนหลากหลายภูมิภาคมาจัดแสดงในปัตตานี

เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024  : ภายใต้แนวคิด “ก่อนอุบัติ และหลังสลาย” ส่วนหนึ่งจากแถลงการณ์ภัณฑารักษ์ ” เทศกาลศลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ภายใต้แนวคิด “Before birth and