ณัฐมน สะเภาคำ | Nattamon Saphaokham
ณัฐมน สะเภาคำ
ผีเสื้อราตรีผู้ขับขี่(เคลื่อน)ความปรารถนา, พ.ศ. 2564
วิดีโอ, เสียง และสื่อผสม
300 x 400 ซม.
Nattamon Saphaokham
Night Butterflies Who Drive Their Desire, 2021
Video, sound and mixed media
300 x 400 cm.
concept
หากความบันเทิงเริงรื่นที่มีเสียงเพลง เสียงท่อรถดัง ๆ ของมอเตอร์ไซต์ที่เป็นการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์วิถีชีวิตวัยรุ่นสก๊อย กลายเป็นสิ่งรบกวนโสตประสาทของผู้คน เชิญชวนเข้ามายืนในที่ของพวกเขา เราอาจเริ่มมองเห็นชีวิตที่ถูกกดทับ ความอยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น รวมไปถึงระบบการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ มาสัมผัสวัฒนธรรมแห่งการปลดปล่อยผ่านเสียงเพลง ท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นการแสดงและต่อรองเชิงอำนาจภายใต้เงื่อนไขของสังคม ที่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ควรจะได้รับอย่างเท่าเทียม
This stage, a simulation of “Skoy”(Thailand biking girls’) version of entertainment, will give you a glimpse of their lives and identity—which is deemed a sensory disturbance by many. Awaiting to be seen are lives growing up amidst a society of suppression, injustice, inequality with a poor education system. Come dance along to the sound of these girls’ liberation as they protest against these societally unjust limitations for all to hear.
องค์ประกอบของผลงาน : ผีเสื้อราตรีผู้ขับขี่(เคลื่อน)ความปรารถนา
ส่วนที่1 : เวทีและวิดีโอสอนท่าเต้น พร้อมเสียงเพลงผสมบทสนทนา
“…แล้วเราเคยโดนใครดูถูกบ้างไหม มีเยอะ สก๊อยเคยโดนไหม โดน จํากพวกคู่อริ พวกที่แบบแสร้ง ด่าอีสก๊อย
คนที่ด่าก็คงเป็นเคยเป็นเหมือนกันแหละพี่เน้ําะว่าแบบมึงก็เคยต้องผ่านมางั้นไมรู้หรอกว่าสก๊อยเป็น
ก็ไม่เคยโกรธนะใครที่ว่า ทุกคนเคยผ่านมา หนูก็เคยเป็น…”
—-ส่วนหนึ่งของบทสนทนาในเพลง Skoy’sDesire
Art Project Sound Mix เพลงประกอบศิลปะจัดวาง ” ผีเสื้อราตรีผู้ขับขี่(เคลื่อน)ความปรารถนา ” , ความยาว 13.29 นาที
(composed by Aku Annop)
ส่วนที่ 2 : ภาพถ่าย potrait ชุด 3 ภาพ
ภาพถ่ายพิมพ์บนกระดาษ 29.7 x 42 เซนติเมตร 3 ภาพบนผนัง
ส่วนที่ 3 : ผนังรวบรวมข้อมูลการทำงานและการลงพื้นที่
ผนังรวบรวมข้อมูลบันทึกการลงพื้นที่ ประกอบด้วย ภาพถ่าย กระดาษจดบันทึกด้วยลายมือ และวิดีโอสารคดีสั้น
วิดีโอสารคดีสั้นเบื้องหลังการลงพื้นที่กลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ความยาว 4.56 นาที
“เมื่อก่อนใครก็ต้องอยากมีไลก์เยอะ ๆ อยากมีตัวตนในเฟซกันทั้งนั้นแหละ ตอนนั้นวุฒิภาวะของเรายังไม่ถึง เราไม่ได้คิดอะไร เทรนด์ของสังคมที่ใครก็ทำ เราชอบเต้นหน้าเวที เต้นในผับ ได้เต้นเหมือนได้ปลดปล่อย แต่ตอนนี้แทบจะหายไปจากตรงนั้นเลย “
เรายังคงมีภาพแสงไฟ สีสันสะท้อนแสงที่อยู่บนเวทีและเสียงดนตรี ความคึกคักของผู้คนในงานแข่งรถซิ่ง เป็นช่วงเวลาหนึ่งของแต่ละปีที่กลุ่มวัยรุ่นจะได้พบปะ ปลดปล่อยอัตลักษณ์และตัวตนไปพร้อมกับสีสันที่หลากหลายของวัยหนุ่มสาว
แต่ความบันเทิงเริงรื่นที่มีเสียงเพลง เสียงท่อรถดังๆ ของมอเตอร์ไซต์ ที่เป็นการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์วิถีชีวิตวัยรุ่นสก๊อย ได้กลายเป็นสิ่งรบกวนโสตประสาทของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องการตีกรอบ รวมทั้งสร้างระเบียบจัดการสิ่งที่เขามองว่าเป็น “ความวุ่นวาย” นั้นไปเสีย
แต่ในปีนี้ ‘ความวุ่นวาย’ อาจจะกลายเป็นความเรียบนิ่ง เสียงเพลงแห่งความรื่นเริง กลายเป็นความเงียบงัน จากสถานการณ์ Covid-19 พื้นที่แห่งการแสดงออกตัวตนของพวกเขายังคงถูกกดทับและทำให้เงียบอีกครั้ง
เรื่องเล่าหลังม่านเวทีของเหล่าผีเสื้อราตรี
โดย “ป๊อปปี้” ณัฐมน สะเภาคำ