ธนพล ธุวานนท์ | Thanapol Thuwanon
ธนพล ธุวานนท์
อำนาจกับคำพูด, พ.ศ. 2564
ภาพพิมพ์บนกระดาษ
ภาพชุด 5 ชิ้น 52 x 52 ซม.
Thanapol Thuwanon
Power and Words, 2021
Print on paper
Set of 5 prints, 52 x 52 cm. each
concept
เมื่อคำพูดดูถูกเหยียดหยาม เป็นเครื่องมือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้มีอำนาจหรือเผด็จการ คำพูดที่แฝงด้วยนัยยะของความเหลื่อมล้ำของปมปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม ส่งผ่านอยู่ในรูปแบบของคำที่มีความหมายและสัญลักษณ์ทางภาษา แม้จะเป็นน้ำเสียงที่เรียบเฉย แท้ที่จริงมันคืออาวุธทำร้ายที่สร้างผลกระทบต่อจิตใจของผู้รับสาร
In a society where inequality and ignorance remain, words can be used as insulting and dehumanizing weapons by those in power. Despite how calm the words may sound, words connote meaning and symbols, ready to put one in pain.
สิ่งที่คอนซ้ำเติม ปั่นทอนจิตใจของคนตัวเล็กตัวน้อย ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 จนถึงวันนี้ กลับไม่ใช่ความรุนแรงของเชื้อร้าย แต่เป็นคำพูดและการปฎบัติของรัฐที่มีต่อประชาชน
“ไม่อยากล็อกดาวน์ทั้งประเทศ เพราะรู้ว่าปัญหามันคืออะไร ล็อกดาวน์ตัวเองให้ได้ก่อนมั้ย ถ้าเราไม่อยากติดเชื้อก็ไม่ต้องไปไหน อยู่บ้าน 14-15 วัน”
คำพูดที่ไร้คำหยาบคาย แต่กลับเต็มไปด้วยความรู้สึกของการดูถูกเหยียดหยาม เครื่องมือหนึ่งลดทอนศักดิศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อำนาจเผด็จการ ที่ถูกผลิตซ้ำ รุนแรงขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อยๆ อย่างหน้าตาเฉย
คำพูดจากปากผู้มีอำนาจในวินาทีนี้ไม่อาจสร้างความน่านับถือ เต็มไปด้วยนัยยะความกระอักกระอวนของความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างทางสังคมที่เป็นปมปัญหาใหญ่ส่งต่อกันจนนส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชนชั้น
แม้จะดูแลตัวเอง “ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก” ในทุกๆวันอย่างไร ก็กลับไม่มีนัยยะความหมายของคำพูดไหนสามารถให้ความหวังได้ว่า เราจะผ่านปัญหานี้ไปได้
มิหนำซ้ำการทำงานของรัฐยังไม่สามารถแสดงศักยภาพในการดูแลประชาชนได้อย่างแท้จริงในเวลาทุกข์ยาก