AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

งานเปิดตัวหนังสือ ” AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ”

พร้อมพูดคุยกับผู้เขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะมาเล่าเรื่องราว ที่มา และประเด็นเนื้อหาภายในเล่ม

ชวนคุยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี

จากสาขา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2017

“ขบวนการ Autonomia สามารถอ่านในฐานะเศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง หรือสังคมวิทยาก็ได้ ความสนใจและคำถามของผมต่อ Autonomia คือมาร์กซิสต์จะยังสามารถใช้อธิบายสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นตายลงไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วเราที่เฉื่อยชาจะสามารถกลายเป็นองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร……”
– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“ความคิดของ Spinoza ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในสถานะabsolute แต่อธิบายว่าเสรีภาพนั้นอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับที่อาจารย์เก่งกิจอธิบายในหนังสือว่าทุกขบวนการนั้นเชื่อมโยงกับปฏิบัติการและบริบทโดยรอบ. ชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพแบบมนุษยนิยมที่มองทุกอย่างแยกขั้วชัดเจนนั้นมีปัญหา…….”

 – ทัศนัย เศรษฐเสรี

“ศักยภาพของมนุษย์หรือพลังทางการผลิตเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนความสัมพันธ์ทางการผลิต การครอบงำและการขูดรีด……”
– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“Autonomia ไม่เคยเชื่อในขบวนการหรือวิธีการต่อสู้ที่เป็นสากลตายตัว แต่เชื่อในการต่อต้านที่เกิดจากการปกป้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระ และผลักดันให้มนุษย์ใช้ศักยภาพอย่างถึงที่สุด…
และนี่คือสิ่งที่ทุนนิยมไม่เคยยอมให้เราทำ…..”
– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“ทุนนิยมทำให้มนุษย์กลายเป็นชุมชนของข้อมูลและหาประโยชน์จากเรา ขณะเดียวกันก็สลายเราเป็นข้อมูลที่ไม่มีชีวิตจิตใจ….”
– ทัศนัย เศรษฐเสรี


ประเด็นหลักของงานเสวนาครั้งนี้คือการพูดคุยถึงที่มาและเนื้อหาของหนังสือ ‘Autonomia ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการปฏิวัติของส่วนรวม’ ของ อ. ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ซึ่งว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีของขบวนการ Autonomia ที่จะเปิดทางไปสู่การศึกษาระบบทุนนิยมในแง่มุมใหม่และการตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเพื่อความเท่าเทียมอีกครั้ง อ. เก่งกิจผู้เขียนหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า ขบวนการ Autonomia คือส่วนผสมของการเมืองอิตาลี ปรัชญาฝรั่งเศส และเศรษฐกิจอเมริกา ผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวในอิตาลี  โดยขบวนการ Autonomia นั้นสามารถอ่านในฐานะเศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง หรือสังคมวิทยาก็ได้ ความสนใจและคำถามของอ. เก่งกิจต่อ Autonomia คือมาร์กซิสต์จะยังสามารถใช้อธิบายสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นตายลงไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วเราที่เฉื่อยชาจะสามารถกลายเป็นองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร จึงกลายเป็นหนังสือรวมบทความที่คลี่คลายแนวคิดทฤษฎีของ Autonomia และวิพากษ์ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ  จากนั้นอ. ทัศนัยได้เสริมถึงแนวความคิดของ Spinoza ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับขบวนการ Autonomia ซึ่งไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในสถานะสัมบูรณ์ตายตัว แต่มองว่าเสรีภาพนั้นอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับที่อ. เก่งกิจอธิบายในหนังสือว่าทุกขบวนการนั้นเชื่อมโยงกับปฏิบัติการและบริบทโดยรอบ ชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพแบบมนุษยนิยมที่มองทุกอย่างแยกขั้วชัดเจนนั้นมีปัญหา ท้ายที่สุดแล้วจึงสรุปว่า Autonomia ไม่เคยเชื่อในขบวนการหรือวิธีการต่อสู้ที่เป็นสากลตายตัว แต่เชื่อในการต่อต้านที่เกิดจากการปกป้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระ และผลักดันให้มนุษย์ใช้ศักยภาพอย่างถึงที่สุด หนังสือเล่มนี้จึงเป็นไปเพื่อคลี่ขยายและเปิดเผยแนวคิดดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้นในสังคมไทย จากนั้นผู้เข้าร่วมเสวนาจึงแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงหนทางและความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวและการก่อร่างสร้างตัวของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมในบริบทสังคมไทย


Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?