[Book Re:commendation] การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5


รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สยามประสบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่อิทธิพลของชาติตะวันตกส่งผลให้ราชสำนักสยามเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ราชสำนักฝ่ายใน” ดินแดนหลังกำแพงสูงที่ถูกปิดกั้นด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎระเบียบที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน…

ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นราชสำนักที่ปรากฏสีสัน เรื่องราว และบทบาทสตรีมากที่สุดสมัยหนึ่ง อันเนื่องมาจากยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการปกครองและอิทธิพลตะวันตก สตรีในราชสำนักที่นอกจากจะแสดงบทบาททั้งในฐานะภรรยาและมารดา จึงยังแสดงบทบาทของผู้นำในด้านสังคม วัฒนธรรม การตกเป็นเครื่องมือทางอำนาจ หรือแม้กระทั่งบทบาทผู้นำด้านการเมืองการปกครองอันเป็นเขตหวงห้ามของสตรีเสมอมา…

“การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5” เล่มนี้ มุ่งเผยให้เห็นเรื่องราวชีวิตเร้นลับของเหล่าอิสตรีที่เต็มไปด้วยความรัก แรงปรารถนา อำนาจ การเมือง และสายสัมพันธ์ ระหว่าง “ภรรยาเจ้า” และ “พระภรรยา” ที่ต่างช่วงชิงความเป็นใหญ่เหนือสตรีทั้งมวล…

การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5
โดย ฉัตรดาว ลีเชวงวงศ์
สำนักพิมพ์มติชน

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?