[Book Re:commendation] น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่

การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองในอดีต ถ้าไม่ศึกษาเรื่องของสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ก็มักจะศึกษาศูนย์กลางของอาณาจักรต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างไร แต่การศึกษาในหนังสือเล่มนี้นั้นสนใจการเติบโตและการเสื่อมถอย และโอกาสแห่งการพลิกฟื้นของเมืองที่เต็มไปด้วยพลวัตรของความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่กับความสะมพันธ์ของอำนาจนอกพื้นที่ และบ่อยครั้งการเปลี่ยนแปลงทิศทางจากการพัฒนาในระดับชาติมีผลต่อความมั่งคั่งและเสื่อมถอยของพื้นที่อยู่ไม่น้อย….

“น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่” นับเป็นชีวประวัติเมือง (urban biography) ที่เต็มไปด้วยสีสัน และทำให้คำว่าสถานที่ (place) นั้นไม่ติดกับวัตถุหรือสถาปัตยกรรมชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่คือพลวัตรของพื้นที่ ชุมชน และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในพื้นที่ เช่น เทศาภิบาล จังหวัด และเทศบาล รวมไปถึงสถาบันทางสังคมในพื้นที่
————ส่วนหนึ่งจากคำนำเสนอ โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์


น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่
โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?