[Book Re:commendation] เราต่างเป็นนักออกแบบ

“เราต่างเป็นนักออกแบบ” เริ่มต้นด้วยเรื่องราวท้องถิ่นและสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัน กล่าวคือผู้คนในชีวิตประจำวัน ความตั้งใจในการต่อสู้กับปัญหาโอกาสในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด — ความหมายที่แท้จริงของชีวิต 
เราเฝ้ามองวิธีที่ผู้คนเหล่านี้ค้นพบพลังของความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถของพวกเขาและบ่อยครั้งวิธีการที่ค้นพบนี้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มรูปแบบใหม่ (องค์กรประสานความร่วมมือ) และสิ่งประดิษฐ์ ที่องค์กรเหล่านี้ใช้เป็นพื้นฐานเพื่อเอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหา และนักออกแบบก็เป็นส่วนที่แข็งขันของการค้นพบใหม่นี้…

หนังสือเล่มนี้ ได้ให้ความชัดเจนต่อการริเริ่มต่างๆ มากมาย ทั้งก่อนและหลังกระแส “ร่วมออกแบบร่วมสร้างสรรค์” (Co-design Co-creation) โดยสรุปคือการออกแบบโครงการชีวิตของผู้คนหรือองค์กร การออกแบบสำหรับโลกที่แท้จริงนี้จึงมากกว่าการออกแบบวัสดุเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ แต่คือการเข้ามาสู่ปริมณฑลแห่งชีวิตสังคม และนักออกแบบทั้งสมัครเล่นเช่นคนทั่วไปและนักออกแบบมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญจะประสานความร่วมมือกัน….

เราต่างเป็นนักออกแบบ


โดย เอซิโอ มานซินี่ 
แปลโดย เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร 
สำนักพิมพ์ อินี่ บุ๊คส์

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?