[Book Re:commendation] เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ


ในอดีตที่ผ่านมา มีการศึกษาเกี่ยวกับ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือคณะผู้ก่อการ “กบฏบวรเดช” มาแล้วไม่น้อย แต่เป็นที่น่าสนใจว่า การให้ความหมายกลุ่ม “เลือดสีน้ำเงิน” เหล่านี้ ในบางกรณีเป็นการให้ความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง บางคราวมีผู้เสนอว่า คณะผู้ก่อการฯ เหล่านี้ พยายามต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ในอีกคราว งานเขียนทางประวัติศาสตร์บางชิ้นกลับทำให้ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือพวก “น้ำเงินแท้” กลายเป็นพวก “ปฏิปักษ์ปฏิวัติ” ที่ต้องการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์…



“เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ” เล่มนี้ เริ่มต้นจากการตั้งข้อสงสัยต่อกลุ่มอดีตกบฏบวรเดชที่ผ่านการเป็นนักโทษการเมืองร่วมกัน และมักถูกติดป้ายชื่อว่าเป็น “อนุรักษนิยม” หรือ “นักประชาธิปไตย” โดยมุ่งสืบสาวพัฒนาการทางความคิดของนักโทษคดีกบฏบวรเดชบางราย โดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่พวกเขามีชีวิตอยู่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไล่มาถึงทศวรรษ 2500 เพื่อหาคำตอบว่าแท้จริงแล้วความคิดของคนกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรืออุดมการณ์เป็นอย่างไร…



เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ
โดย ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์
สำนักพิมพ์มติชน

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?