[Book Re:commendation] ท่งกุลาลุกไหม้

[Book Re:commendation] ท่งกุลาลุกไหม้

หนังสือ ท่งกุลาลุกไหม้ ผลงานแปลรวมเรื่องสั้นจากต้นฉบับ EI LIano en IIamas ภาษาสเปนสู่ภาษาอีสาน โดย พีระ ส่องคืนอธรรมนักแปลรุ่นใหม่ไฟแรงที่ให้คำนิยามผลงานแปลเล่มนี้ว่า “ลาว อีสาน ใหม่” โดยเรื่องราวคร่าวๆ จะเป็นการพูดถึงความทุกข์ยากลำบาก การดิ้นรนที่จะมีชีวิต ที่ตัวละครถูกทอดทิ้งจากครอบครัว ภาครัฐ หรือแม้แต่พระเจ้าในดินแดนแร้งแค้นดังทุ่งกุลาร้องไห้

ภาษาอีสานที่พีระได้สร้างสรรค์ขนบรูปแบบการแปลและการอ่านสู่การตีความและร้อยเรียง ถ้อยคำต่างๆเป็นภาษาอีสาน เป็นภาษาในน้ำเสียงประดักประเดิด ไม่ได้สัมพันธ์กับความคุ้นเคยจากธรรมชาติของการใช้ภาษา ทั้งอีสาน และไทย เขาจึงเรียก น้ำเสียงจากตัวอักษรที่แปลออกมาเหล่านี้ว่า “ลาว อีสาน ใหม่”

ในการแปลเป็นภาษาอีสานสำหรับหนังสือเล่มนี้เป็นการท่าทายการกรอบความคิดการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ภาษาไทยกลาง การผลักน้ำเสียงอีสานให้ห่างจากศูนย์กลางความเป็นไทย หรือแม้แต่การที่เหล่าคนอีสาน โยกย้าย ขยับขยายฐานที่อยู่จนไม่สามารถแยกแยะออกได้อย่างชัดเจนผ่านน้ำเสียงจากถิ่นที่อยู่ได้อีกต่อไป แต่หากเราคิดว่าอีสานคือส่วนหนึ่งของไทย เราก็ต้องทำความเข้าใจภาษาอีสานได้เช่นกัน

อีกด้านหนึ่งนั้น น้ำเสียงของหนังสือเล่มนี้กลับเป็นน้ำเสียง อีสานที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความยากลำบากในการอ่านและแปลความหมาย เบื้องหลังหนังสือเล่มนี้จึงบอกเล่าการเมืองเรื่องของภาษาที่สลับสับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่การทำความเข้าใจเรื่องราวผ่านภาษาไทย อีสาน และ สเปนอยู่ตลอดเวลาที่ใ้ช้กับหนังสือเล่มนี้

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?