ตึกอ.มช.ไม่ใช่แค่กองปูนแต่เป็นความทรงจำและลมหายใจของผู้คน

ตึกอ.มช.ไม่ใช่แค่กองปูนแต่เป็นความทรงจำและลมหายใจของผู้คน

ตึกอ.มช.ไม่ใช่แค่กองปูนแต่เป็นความทรงจำและลมหายใจของผู้คน
ความทรงจำต่อ ‘ ตึกอ.มช. ‘ สถาปัตยกรรมล้ำค่าที่กำลังจะถูกทุบทิ้ง เลือนลาง และสร้างใหม่ บทบาทของนักศึกษาต่อสังคมและชุมชนรอบ ๆ ภายใต้โครงสร้างเผด็จการมหา’ลัย

เมื่อวาน (25 ก.พ. 2023) ที่งานกาด 25 อำลาอ.มช. งานที่จัดโดยพรรคนศ.ยุวธิปัตย์ ซึ่งถูกระบุเป็นกิจกรรมที่จัดเพื่ออำลาตึกอ.มช. (อาคารกิจกรรมนักศึกษามช.) … มีการเสวนาน่าสนใจในหัวข้อ ” อาคารกิจกรรมนักศึกษา จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต (ทิศทางต่อการใช้พื้นที่อาคารกิจกรรมนักศึกษา)”
.
พวกเรากลุ่มเด็กเปรตแห่งมช.ผู้มีอุดมการณ์สนับสนุนวัยรุ่ยวันค่ำคืนฮุ่ง แอบหลงไปฟังมา แล้วก้พบว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจเอามาแชร์กับเพื่อน ๆ นั่นคือประเด็นเสวนาของคุณศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ อาจารย์จากสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์มช.นี่เอง

เราเห็นว่าประเด็นที่คุณศรยุทธได้พูดมานั้นสอดคล้องกับหลักการเรื่อง “ พื้นที่สาธารณะ ” ในแบบที่เราประกาศจุดยืน+ยึดถือกันเสมอมาเป็นอย่างมาก เรายึดมั่นเสมอว่า “ พื้นที่ ” มันไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวด้วยตัวของมันเอง มันล้วนเกี่ยวโยง ผูกพันกับผู้คน โครงสร้างพื้นฐาน เป็นสนามของการคัดง้างกันในทางอำนาจ การเมือง ความเป็นประชาธิปไตย และเสรีภาพเสมอมา เราเลยได้แกะข้อความออกจากมุมมองที่คุณศรยุทธได้เสนอมาในงานนี้เพื่อเอามาแบ่งปันเพื่อน ๆ

สรุปประเด็นแบ่งปันของศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธเกี่ยวกับความทรงจำของตึกอ.มช.

1. ตึกอ.มช.มีคุณค่าและความหมายยิ่งกว่าอาคารก่อสร้าง แต่มันเป็นเสมือนบ้านและเป็นมากกว่าห้องเรียน

2. ตึกอ.มช.ยึดโยงกับความทรงจำทางสังคมและเหตุการณ์ทางการเมืองมากมายตั้งแต่ถูกก่อสร้างขึ้นมามันจึงเป็นความทรงจำร่วมของสังคม

3. ตึกอ.มช. และตึกมากมายในมช.เป็นร่องรอยสำคัญทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

สรุปประเด็นหลักการของศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธเกี่ยวกับการทุบตึกอ.มช.แล้วสร้างใหม่

1. ไม่ต้องการให้เวทีเสวนานี้สร้างความชอบธรรมให้กับการทุบตึกอ.มช.แล้วสร้างใหม่โดยไร้ซึ่งการคำนึงถึงความทรงจำ และการมีส่วนร่วม

2. ไม่รู้จะเอาความทรงจำไปเก็บไว้ตรงไหนเพราะมช.มันกว้างเกินกว่าจะบรรจุความทรงจำร่วมทางสังคมของผู้คน

3. หากหยุดยั้งการทุบตึกอ.มช. และตึกอื่น ๆ ไม่ได้ก็ต้องทำจดหมายเหตุเพื่อบันทึกความทรงจำของผู้คนให้มากที่สุด

4.การออกแบบที่ดีต้องทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน (Participatory design) อย่าทำให้นักศึกษากลายเป็นแค่ลูกค้าที่มาเลือกบริโภคของในห้าง

ต่อไปนี้ คือสิ่งที่คุณศรยุทธได้แบ่งปันคำตอบในคำถามเดียวกันกับผู้เสวนา 2 คนแรก (อดีตผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษามช. และอดีตประธาชมรมพื้นบ้านล้านนา) ที่ตอบคำถามถึงความทรงจำของตนเองต่อตึกอ.มช. โดยให้เหตุผลว่าคำตอบต่อคำถามข้อนี้ของคุณศรยุทธนั้นจะเชื่อมโยงไปยังคำถามต่อไป

” ผมรู้สึกว่าตึกอ.มช.มันเป็นมากกว่าห้องเรียน มันเป็นเหมือนบ้าน มันเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้ ผมใช้เวลาในปี 1 ปี 2 ปี 3… ประมาณ 3 ปีครึ่งที่กินนอนที่ตึกนี้ ตอนนั้นผมสามารถบอกได้เลยว่าห้องน้ำห้องไหนบ้างที่สะอาด ผมสามารถเดินไปบอกพี่ยามแล้วบอกว่าน้ำตรงไหนเสีย แล้วเราก็ช่วยกันซ่อม ผมเคยเดินขึ้นทางแทงก์น้ำ แล้วขึ้นไปไต่บนยอดของทุกหน้าจั่วที่ทุกคนเห็น (ยอดหลังคาบนตึกอ.มช.) เคยนอน(บนนั้น)ด้วย “


“ผมมีความผูกพันกับตึกนี้ ช่วงป.ตรีผมแทบไม่เคยเข้าห้องเรียน เพราะห้องเรียนมันน่าเบื่อมาก และไม่ได้รู้สึกว่าห้องเล็ก ๆ สี่เหลี่ยมขาว ๆ ที่มีโต๊ะมันจะสร้างการเรียนรู้ให้กับเรามากไปกว่าการอ่านเฉย ๆ” คุณศรยุทธกล่าว และเสริมอีกว่า “สมัยนั้นอาจารย์ที่ (สอนอย่าง) Active ก็มี รวมถึงคนที่ใช้แผ่นใสอันเดิม ๆ สอนก็มี ก็มักจะมีเด็กกิจกรรมหลายคนมากที่เดินออกจากห้อง พออาจารย์ถามว่าไปไหน ? ผมก็บอกว่าผมอ่านที่อาจารย์สอนหมดแล้ว ลาก่อน!! แล้วผมก็จะมาสิงอยู่ที่นี่… ผมรู้สึกว่าตึกอ.มช.มันเป็นมากกว่าห้องเรียน มันเป็นเหมือนบ้าน มันเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้ ผมใช้เวลาในปี 1 ปี 2 ปี 3… ประมาณ 3 ปีครึ่งที่กินนอนที่ตึกนี้ ตอนนั้นผมสามารถบอกได้เลยว่าห้องน้ำห้องไหนบ้างที่สะอาด ผมสามารถเดินไปบอกพี่ยามแล้วบอกว่าน้ำตรงไหนเสีย แล้วเราก็ช่วยกันซ่อม ผมเคยเดินขึ้นทางแทงก์น้ำ แล้วขึ้นไปไต่บนยอดของทุกหน้าจั่วที่ทุกคนเห็น (ยอดหลังคาบนตึกอ.มช.) เคยนอน(บนนั้น)ด้วย” คุณศรยุทธเปิดด้วยความทรงจำสมัยเรียน
.
“ที่ผมจะบอกคือกิจกรรมในช่วงปี 41 (ตอนนั้นผมอยู่ที่นี่ในปี 41) ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองครับ เราไม่ได้กำลังพูดถึงการเมืองในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างเดียว แต่เรากำลังพูดถึงการเมืองในชีวิตประจำวันของเรา มันเป็นบรรยากาศที่หลายคนรู้สึกว่าห้องเรียนมันน่าเบื่อหน่าย เราสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองแล้วกลับไป Challenge กับอาจารย์ ตอนนั้นผมเดินไปแล้วบอกว่าสิ่งที่อาจารย์สอนเนี่ย.. ‘มันผิด’ เพราะหนังสือที่เราอ่านกัน กับวงคุยที่นักศึกษานั่งคุยกันที่นี่ (ตึกอ.มช.) มันน่าตื่นเต้นกว่ากันมาก” คุณศรยุทธได้เล่าถึงบรรยากาศการเรียนในสมัยนั้น และเล่าต่อไปอีกว่า “ตอนนั้นผมอยู่พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ เป็นโชคดีมากที่เราไม่เคยชนะการเลือกตั้งเลย ในยุคนั้นพวกเราไม่ได้โฟกัสการเลือกตั้ง ไม่โฟกัสกับการเป็นสภา ฯ หรือสโมสรนักศึกษาเลย (กิจกรรมที่เราทำ) เราจะค่อนข้างเน้นการเปิดพื้นที่ของที่นี่ (ตึกอ.มช.) เชื่อมโยงกับคนในสังคม กับชุมชนรอบนอก… วันดีคืนดี ตึกอ.มช.ไม่ใช่แค่ที่สำหรับนักศึกษาหรือพนักงานมหาลัยอย่างเดียว เวลานั้นคนที่เดือดร้อน บ้านถูกไล่ที่ออกจากป่า เวลาเขาแก้ปัญหาเขาไม่ได้ไปหาพนักงานรัฐหรือนายอำเภอนะครับ เขาเดินมาหาเราที่นี่ ชุมชน(ที่ว่า)นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการทับเขตอุทยาน วันดีคืนดีเขาถูกไล่ออกมา เขาไปไหนครับ? เขามาที่นี่ เขามานั่งคุยกับนักศึกษา ” คุณศรยุทธเริ่มเล่าให้เห็นภาพของบทบาทนักศึกษาต่อสังคม
.
“ชุมชนแออัดที่อยู่ในเมืองถูกดินจากรถบรรทุกล้อมทับหมู่บ้านและพร้อมที่จะถูกเกลี่ยทับ เขาไปไหนครับ ? เขามานอนทีนี่นะครับ กระทั่งตอนเช้า รถทัวร์ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เขามากินข้าวที่นี่เหมือนกัน ดังนั้น.. ความหมายของตึกอ.มช. มันมากกว่าอาคารราชการ แต่มันกลายเป็นบ้านของนักศึกษาหลายคน กลายเป็นที่พักพิงของชุมชนข้างนอก กลายเป็นที่ร้องเรียน รับเรื่องราวปัญหาของสังคม เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘ใครมีความทรงจำบ้างกับที่นี่ ?’ ผมคิดว่า ผมไม่เคยที่จะวางตึกอ.มช.อยู่ในพื้นที่มหาลัยหรือราชการเพียงอย่างเดียว เพราะนั่นคือความไม่เป็นธรรมกับความทรงจำของคนอีกหลายคนที่อยู่ร่วมกับเรา ตึกอ.มช.มันเป็นความทรงจำร่วมของผู้คนจำนวนมาก ผมคิดว่าถ้าเราวางมันในบริบทแบบนี้ คุณค่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันจะมีคุณค่ามากกว่าความสวยงามของตึกทางกายภาพ เราจะเห็นความเชื่อมโยงของมหาลัยกับสังคม กับผู้คนข้างนอกตลอดเวลา ดังนั้นถ้าใครถามผมว่า เราจะต้องสร้างตึกแบบไหน ? และเราควรจะสร้างตึกหรือเปล่า ? ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องของพวกเราเพียงอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของผู้คนอีกจำนวนมากที่มีประสบการณ์ร่วมกัน”

คุณศรยุทธเชื่อมโยงคำตอบแรกไปสู่คำถามที่ 2 ที่ถามถึงความคิดเห็นต่อการปรับปรุงและสร้างอาคารหลังใหม่ ตามที่เขาได้เกริ่น

“ผมโตมากับการสร้างตึกที่สวยมากของมช. ผมยอมรับว่าตึกของมช.เนี่ยเป็นตึกที่.. ทุกคนรู้ใช่มั้ยครับว่าตึกอ.มช. ห้องสมุดคณะวิศวะ ฯ ตึกไบโอ ฯ ตึกทันตกรรม ฯ และอีกหลายตึกในมช.เนี่ย… เป็น Case study ในการศึกษาความเปลี่ยนแปลงเชิงสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เพราะหลังจากปี 2500 เป็นต้นมาที่เริ่มสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรดาสถาปนิกต่าง ๆ ที่จบจากต่างประเทศมา มีมช.เป็นพื้นที่ประลองทางความคิด คุณจะเห็นตึกที่มีขายึกยือตรงหอพัก คุณจะเห็นตึกที่(ดู)เป็นไปไม่ได้อย่างตึกอ.มช. ที่เอาคอนกรีตมาเทเป็นหน้าจั่วสลับไปมา ฉะนั้นในแง่มุมประวัติศาสตร์เนี่ย ตึกไม่น้อยในมช.คือพื้นที่ในประวัติศาสตร์ศิลปะสถาปัตยกรรม มีคนทำวิจัยเรื่องนี้เยอะมาก” คุณศรยุทธพยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตึกอ.มช.ในวงการวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรม

“ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่เอง มันมีความสัมพันธ์ค่อนข้างมาก พื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันไม่ได้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นจากการที่หน่วยงานสร้างให้เราเพียงอย่างเดียว (ภายใต้กรอบ กฎ ระเบียบ กฏเกณฑ์ต่าง ๆ) แต่มันเป็นพื้นที่ที่นักศึกษา สามารถสร้างสรรค์พื้นที่และประกาศได้ว่านี่คือพื้นที่ของเรา และเราสามารถที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ของเราขึ้นมาได้ มันจึงไม่น่าแปลกใจที่ตึกที่ผมเคยอยู่เนี่ย (ตึกอ.มช.) พวกเราสามารถที่จะอยู่ตรงไหนก้ได้ ทำกิจกรรมตรงไหนก็ได้ เราเคยก่อกองไฟกันตรงนี้ ขณะเดียวกันก็เคยมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา เคยมานั่งคุยกับเราตรงนี้เหมือนกัน”

คุณศรยุทธได้เสริมอีกว่า “ผมจำได้ว่า ผมเคยพาคนมาชุมนุมที่นี่ประมาณ 300-400 คนเกี่ยวกับการจัดการจราจรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยที่ผมยืนไฮด์ปาร์คอยู่ตรงนั้น (//พูดพร้อมชี้ไปยังอาคารหอ 3 หญิง) และมีคนอีกเยอะแยะมากมาย ในปี 2542 ในขณะเดียวกันเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ตึกที่ถูกสร้างมาใหม่ มันวางบนพื้นฐานของการที่ตึกเหล่านั้นถูกเตรียมเอาไว้ให้กับบรรยากาศที่เรียกนักศึกษาว่าลูกค้า และพอเราเรียกนักศึกษาว่าลูกค้า มันมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ว่าตึกต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา… มันเอาไว้รองรับความสะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกันมันก็เหมือนห้างสรรพสินค้าที่มีการจัดสรรพื้นที่ต่าง ๆ ให้กับพวกเราเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แน่นอนพื้นที่มันสวยขึ้น สะดวกสบายขึ้น ผมยอมรับ แต่ Concept ของพื้นที่สาธารณะในความหมายของการถกเถียง พูดคุยในเชิงความรู้ การเมือง การแสวงหาคุณค่าในชีวิต มันจะอยู่ตรงไหน ? ในพื้นที่ที่มันถูกเตรียมเอาไว้ให้ลูกค้าต่าง ๆ เหล่านั้น ผมก็คงตอบได้ประมาณนี้ นะครับ”

” ผมไม่รู้ว่าจะเอาความทรงจำของผมไปอยู่ที่ไหน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันกว้างมากจนไม่มีพื้นที่ให้คนตัวเล็ก ๆ อย่างผมมีความทรงจำของตัวเองบรรจุลงไปในนี้ได้… เมื่อใดก็ตามที่เราทำลายสถาปัตยกรรมในเชิงสิ่งปลูกสร้างลงไป มันเท่ากับการทำลายสถาปัตยกรรมของความทรงจำของผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย ถ้าตึกมันถูกอนุมัติแล้ว แล้วตึกที่อยู่ข้างหลังเรานี้มันถูกทุบ ผมไม่รู้ว่าผมจะเอาความทรงจำผมไปวางไว้ตรวงไหนในมช. “

หลังการเสวนาดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง… พิธีกรได้ถามถึงผู้เสวนา 2 คนที่ได้รับการระบุว่าเป็นตัวแทนของนักศึกษาที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน อันได้แก่…ว่าที่นายกสโมสรนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ และว่าที่สมาชิกสภานักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ถึงความคาดหวังและความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่ตึกอ.มช.ใหม่ที่กำลังจะถูกสร้างหลังจากทุบตึกอ.มช.เดิมในไม่ช้า.. ทั้งสองได้แสดงความคิดเห็นไปในระบะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน คุณศรยุทธได้ตระหนักถึงอะไรบางอย่าง และขอพูดเสริมต่อประเด็นดังกล่าว

“ผมพึ่งรู้ว่าต้องคุยเรื่องนี้ ผมออกตัวก่อน ไหน ๆ มีวีดีโออัด… ผมไม่รู้มาก่อนว่าจะคุยเรื่องตึก(ใหม่) ผมเข้าใจว่าตึกนี้คงจะมีการเริ่มร่างแบบ ตั้งงประมาณไปแล้ว” คุณศรยุทธออกตัวถึงความเซอร์ไพรซ์ในสิ่งที่พึ่งรู้

“ผมขออนุญาตนะครับ ผมเดาว่าสิ่งที่ผมมาพูดวันนี้จะกลายเป็นสร้างความชอบธรรมให้กับการสร้างตึก ผมจึงขอพูดในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าของอ.มช.เฉย ๆ ฉะนั้นการก่อสร้างตึกนี้จะมีหรือไม่มี เป็นพันธกิจของนศ.ในปัจจุบัน ผมอธิบายได้อยู่ 2 อย่าง

ประเด็นแรก ถ้าตึกมันอนุมัติไปแล้ว นั่นหมายความว่าเวทีนี้พยายามให้ความชอบธรรมกับการก่อสร้างที่มันจะเป็นไปได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ ผมขออนุญาตพูดในฐานะคนแก่นิดนึง… ผมไม่รู้ว่าจะเอาความทรงจำของผมไปอยู่ที่ไหน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันกว้างมากจนไม่มีพื้นที่ให้คนตัวเล็ก ๆ อย่างผมมีความทรงจำของตัวเองบรรจุลงไปในนี้ได้… เมื่อใดก็ตามที่เราทำลายสถาปัตยกรรมในเชิงสิ่งปลูกสร้างลงไป มันเท่ากับการทำลายสถาปัตยกรรมของความทรงจำของผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย ถ้าตึกมันถูกอนุมัติแล้ว แล้วตึกที่อยู่ข้างหลังเรานี้มันถูกทุบ ผมไม่รู้ว่าผมจะเอาความทรงจำผมไปวางไว้ตรวงไหนในมช. และไม่ใช่แค่ความทรงจำของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นความทรงจำของคนอีกมากมายที่สัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Concern หรือตระหนักในเหตุผลตรงนี้ ผมเสนอแบบนี้… ‘ไม่ต้องทุบ แต่ปรับปรุงมัน’ แต่คงทำไม่ได้ เพราะว่าแบบมันมาแล้ว…” คุณศรยุทธพูดอย่างผิดหวัง ก่อนอภิปรายต่อไปยังอีกประเด็น ในเชิงการเสนอวิธีเก็บรักษาความทรงจำของผู้คนอย่างประนีประนอมกว่าเดิม แม้ไม่เต็มใจ…

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันกว้างเกิน… ใหญ่เกินไปจนไม่มีพื้นที่ให้คนตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเราได้พูดถึงเรื่องพวกนี้” หลังจากคุณศรยุทธเสนอทางเลือก ก็ได้ย้ำถึงความรู้สึกผิดหวังอีกครั้ง

“ (สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ) ให้ความสำคัญกับการเก็บจดหมายเหตุทางด้านภาพ เสียง และความทรงจำของผู้คน พวกคุณจะโตไปในอนาคตโดยลบอดีตไม่ได้ คุณจะยึดโยงกับผู้คนในสังคมโดยที่คิดถึงแต่ตัวเองไม่ได้ คุณต้องมี Sympathy กับสังคมข้างนอก ถ้าตึกมันอนุมัติไปแล้วผมเสียใจ แต่ความเสียใจของผมมันอยู่ในฐานะปัจเจกบุคคล ไม่ใช่ในฐานะคนที่ทำงานในปัจจุบัน(ในฐานะของอาจารย์มช.) ถ้าพวกคุณแคร์เรา หรือความทรงจำของคนอื่นในสังคมที่เขาผูกพันกับที่นี่ ขอความกรุณา จงทำจดหมายเหตุว่าด้วยตึกนี้ มันไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผู้บริหาร) ที่มีความทรงจำกับที่นี่ ผมตกใจมาก แต่ผมรู้ว่าผมทำอะไรไม่ได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันกว้างเกิน… ใหญ่เกินไปจนไม่มีพื้นที่ให้คนตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเราได้พูดถึงเรื่องพวกนี้” หลังจากคุณศรยุทธเสนอทางเลือก ก็ได้ย้ำถึงความรู้สึกผิดหวังอีกครั้ง
.
“ผมบอกไปเกี่ยวกับนัยยะสำคัญของสถาปัตยกรรมแล้วว่ามีความสำคัญมากในเชิงการเรียนการสอนด้านสถาปัตฯ และการพูดถึงประวัติศาสตร์สถาปัต ฯ ในเมืองไทย ‘รักษามันไว้…’ ถ้าวันนึงต้องทุบมันทิ้ง จงเก็บเรื่องเล่า ภาพ และความทรงจำออกจากสิ่งที่เป็นสถาปัตยกรรมที่คุณมองว่ามันกำลังผุพัง… ไปสู่ความทรงจำของผู้คน และก่อรูปมันขึ้นมาใหม่ ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มันมีความสง่างามที่แชร์ความทรงจำร่วมกับผู้คนในสังคม พวกคุณยืนอยู่ด้วยตัวเองอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้”

“อันที่สองที่ผมจะพูด ถ้าตึกมันสร้าง แน่นอนตึกเก่ามันมีข้อจำกัดมากมาย พวกเราก็ทราบ … สถาปัตยกรรมแบบที่เราเห็น ข้อจำกัดก็คือเพดาน เพราะน้ำมันรั่ว นี่คือข้อจำกัดของสิ่งปลูกสร้างในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2510 – 2520 โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างในเชิงการทดลองที่ใช้ซีเมนต์มาทำเป็นหลังคา มันมีข้อจำกัดแน่นอน แต่อย่าลืมนะครับ อำนาจที่ควบคุมสังคมได้ดีที่สุด คืออำนาจในการมอบพื้นที่และการให้อิสระกับการใช้พื้นที่ที่ ‘จำกัด’ ภายใต้ Choice ที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่าคุณจะต้องใช้อะไรบ้าง เมื่อนั้นเอง จินตนาการเรื่องเสรีภาพของเราจะถูกจำกัดลง และเราจะไม่สามารถนึกถึงจินตนาการเรื่องเสรีภาพในความหมายอื่น ๆ อีกต่อไปได้ นี่คือเหตุผลที่ผมสนใจและทำงานเรื่อง Space ตลอดเวลา นี่คือเหตุผลที่เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการออกแบบพื้นที่ อันนึงที่สำคัญที่สุดคือ ‘อย่าให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบพื้นที่คนเดียว’ มันมีคำอยู่คำหนึ่งครับในทางวิชาการ คือ ‘Participatory design’ การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ให้ผู้คนได้มาร่วมออกแบบ ผมทำงานด้านนี้… ผมจะบอกว่าโมเดลนี้มันเป็นแค่ตุ๊กตา (ด้วยซ้ำ) มันสามารถไปได้ไกลกว่านี้อีกเยอะ มันสามารถสร้างความเป็นไปได้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมในปัจจุบัน และจินตนาการของคนได้มากกว่านี้” คุณศรยุทธเสริมอีก พร้อมทิ้งท้ายอย่างแหลมคมว่า

“แต่ถ้าโมเดลนี้สำเร็จรูปมาแล้ว นี่คือระบอบเผด็จการเชิงสถาปัตยกรรม เท่านี้ครับ…”

ภาพอ.มช.ในอดีต

8 กรกฎาคม 2024 | พิธีสูตรถอน พื้นที่รื้อถอน อ.มช.

“คณะผู้บริหาร และบุคลากร ร่วมทำพิธีสูตรถอน พื้นที่รื้อถอนอาคารกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 เวลา 07.39 น. ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อ.มช.)”

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?