Human ร้าย Human Wrong เฉพาะกิจ | 2023

พลังนุ่มคือการรวมตัวกันเฉพาะกิจของเหล่าสมาชิก Human ร้าย Human Wrong และเพื่อนๆ ที่มีความสนใจในการทำงานสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบกิจกรรม และทดลองทำงานแคมเปญในรูปแบบ ‘Artivism’ ในเมืองเชียงใหม่แห่งนี้

‘พลังนุ่ม’ เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันขึ้นมาเฉพาะกิจที่ทำกิจกรรมปฎิบัติการบนพื้นที่สาธารณะในตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยทักษะศิลปะ และการทำงานแคมเปญรูปแบบต่างๆ ในเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารกับสาธารณะว่า “พวกเราอยากเห็นความรู้ด้านสร้างสรรค์สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีคุณภาพ เพื่อลดต้นทุนให้กับคนรุ่นใหม่ และนักสร้างสรรค์มือใหม่โดยองค์กรหรือหน่วยงานรัฐที่จัดสรรทรัพยากรด้านองค์ความรู้สร้างสรรค์ ทำงานผลักดันให้เกิดขึ้น”

“พลังนุ่ม” เชื่อว่าการไปถึงเป้าหมายที่ทำให้ ทรัพยากรสร้างสรรค์เหล่านี้เข้าถึงฟรี ไม่กระจุกตัวอยู่เพียงกลุ่มคนเพียงบางกลุ่ม นั้น ข้อแรกเราช่วยกันร่วมกับส่งเสียง ผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน หน้าที่ นโยบายที่ตั้งไว้ในการทำงานให้ตรงกับ เป้าหมายของนโยบายที่วางไว้อีกซักตั้ง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนใน หลายระดับ และข้อสองพลังเสียงพลังไอเดียของประชาชนทุกคนที่จะอยากเห็นสังคม ขยับไปข้างหน้าให้ดียิ่งขึ้นต้องสามารถร่วมร่างนโยบายให้ตรงกับเป้าหมายที่หลากหลายของผู้คน และที่สำคัญโปรดอย่าหยุดความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ และทำให้ทุกคนเห็นว่านี่คือ พลังที่จำเป็นของยุคสมัยอยู่ในมือของคนรุ่นใหม่ และองค์กรของเราต้องสนับสนุน เป็นเรื่องพื้นฐานการใช้ชีวิตของทุกคน

 

Our vision is a country where creative knowledge flows freely. We call upon organizations and government agencies stewarding these resources to actively and inclusively unlock the doors to empower the next generation of creative minds.

While being crucial for a thriving creative economy, access to vital creative knowledge remains cost-prohibitive for many, especially aspiring young creators and the rising generations. We urge a paradigm shift – recognizing creativity as essential, not just a luxury. Governments and institutions, entrusted with allocating resources, must prioritize equitable access to empower the next generation, unlocking the true potential of creativity

We need your voice to urge relevant agencies to revise their policies and align them with the broader societal goals we share. This has two dimensions, first, ensuring policies that reflect creativity meet the needs of all citizens, and second, harnessing the collective power of ideas to drive positive change. 

ก่อนจะมาเป็น "พลังนุ่ม"

ก่อนจะมาเป็นทีมเฉพาะกิจ “พลังนุ่ม” เรากลับมา Workshop แบบจัดเต็ม กันอีกครั้งโดยมี mentor อย่าง “พี่หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์”, “พี่แมว, ประกิต กอบกิจวัฒนา” และ “อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี”มาช่วยเป็นที่ปรึกษาอย่างเข้มข้นให้พวกเรา โดยเรียนรู้เครื่องมือการทำงานกันเป็นทีม ,ระดมสมอง, หาข้อมูล แชร์ไอเดียศิลปะมันส์ๆ จากประสบการณ์ที่หลากหลายของสมาชิกแต่ละคน พร้อมททั้งชวนกันคิดและออกแบบประเด็นที่อยากจะสื่อสาร ซึ่งเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ “ปัญหา” ที่ร่วมกันของทุกคน และเชื่อมโยงสู่สังคมได้อย่างไร  เพื่อนำไปสู่การสื่อสารและวิพากษ์ปัญหานั้นในพื้นที่สาธารณะในรูปแบบงานศิลปะ และงานแคมเปญ รวมทั้งการชวนเพื่อนๆ มาร่วมงาน ร่วมสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของการทำโปรเจ็คนี้ไไปด้วยกัน

กิจกรรมของ 'พลังนุ่ม' | 'POP UP' Event

รุงลัง Gallery

‘รุงลัง Gallery’ โครงการทดลองที่เปิดรับสมัครผลงานจากนักสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่ไม่มีต้นทุนในการใช้งานพื้นที่จัดแสดงงาน ได้ออกแบบและจัดแสดงผลงานตัวเองในกล่องที่มีพื้นที่จำกัด  และ นำเอากล่องผลงานของศิลปิน กว่า 20 ผลงาน จัดแสดงบนพื้นที่สาธารณะคู่ขนานไปกับช่วง  Chiang mai Design week เพื่อแสดง จุดยืนว่าพวกเราเหล่านักสร้างสรรค์มือใหม่ก็ต้องการการสนับสนุนพื้นที่และการลดต้นทุนในการเข้าถึง



พลังนุ่ม x มิตรnightsociety : 
“สินค้าปลดระวางของเหล่านักนักสร้างสรรค์”

กิจกรรมร่วมกับกลุ่มมิตรnightsocietyเปิดท้ายขายสินค้ามือสอง และของที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งหลงเหลือจากการทำงานด้านศิลปะและงานออกแบบ โดยสินค้าที่คัดมาจะมีเรื่องราวของเจ้าของที่เคยทำงานเกี่ยวกับงานศิลปะและการออกแบบที่เชื่อมโยงไปถึงประเด็นต้นทุนของแรงงานสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีบอร์ดข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการพื้นฐานที่รองรับแรงงานสร้างสรรค์และการเรียกร้องให้เกิดสวัสดิการจากภาครัฐที่มีคุณภาพ

[ละลาน] รุงลัง gallery | Final Exhibition

ละลาน รุงรัง gallery

กิจกรรมการจัดแสดงรวมผลงานจากศิลปิน และไม่ใช่ศิลปินที่สมัครเข้ามาร่วมกิจกรรม “รุงรัง Gallery” หลังจากที่จัดแสดงงานคู่ขนานในพื้นที่สาธารณะช่วงเทศกาล ChiangMai Design Week 2023 กับผลงานกว่า 20 ผลงาน ในครั้งนี้เราจึงจัดแสดงผลงานในพื้นที่อาคารร้าง พร้อมกับกิจกรรมพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอที่นักสร้างสรรค์มือใหม่ต้องการให้ภาครัฐกระจายทรัพยากรองค์ความรู้สร้างสรรค์ให้มีคุณภาพ,เวทีเสวนาในประเด็นเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรองค์ความรู้สร้างสรรค์ และกิจกรรมอื่นๆ 

โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำโครงการทดลองใช้พื้นที่ที่ไม่ถูกใช้งานและปล่อยทิ้งร้างให้สามารถเอื้อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมสื่อสารในประเด็นพื้นที่ที่มีข้อจำกัดนั้นสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ และต้องพลักดันให้เกิดการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนและผลักดันให้กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์มือใหม่ที่ไม่มีต้นทุน ได้มีพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง

อาคารร้างหน้าทางเข้าตึก สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ด้านข้างหอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 24 เดือนธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 11 เดือนมกราคม 2567

โดยมีกิจกรรมร่วมจากเพื่อนๆ พลังนุ่มร่วมจัดด้วย ได้แก่

  • หมด passion market ตลาดนัดของใช้หมวดงานสร้างสรรค์ที่ต้องการหาคนส่งต่อ ขนของมาแลกเปลี่ยนเวียนขายกันอย่างอิสระ
  • ชวนกันมาชมผลงานรุงลัง gallery กว่า 30 ชิ้น
  • เดี่ยวไมโครโฟนกึ่งวิชาการครั้งแรกของเชียงใหม่! ในประเด็น “ที่ทางของวัฒนธรรมและการเมืองในความคิดของอัลธูแซร์ เจมสัน และคนอื่นๆ “ โดย สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มช. ที่จะทำให้ทุกคนเชื่อมโยง เห็นถึงความสำคัญของการเกิดแรงงานสร้างสรรค์
  • ปิดลาน ปูเสื่อผิงไฟ พูดคุย ส่งต่อกำลังใจเหล่าวัยรุ่นนักสร้างสรรค์

 

Too young to be a filmmaker
By พลังนุ่ม : Fluffy Force & untitled for film

กิจกรรมร่วมกับกลุ่มมิตรnightsocietyเปิดท้ายขายสินค้ามือสอง และของที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งหลงเหลือจากการทำงานด้านศิลปะและงานออกแบบ โดยสินค้าที่คัดมาจะมีเรื่องราวของเจ้าของที่เคยทำงานเกี่ยวกับงานศิลปะและการออกแบบที่เชื่อมโยงไปถึงประเด็นต้นทุนของแรงงานสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีบอร์ดข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการพื้นฐานที่รองรับแรงงานสร้างสรรค์และการเรียกร้องให้เกิดสวัสดิการจากภาครัฐที่มีคุณภาพ

และนี่คือสิ่งที่พวกเราอยากประกาศให้รู้ ! 
| LALAN MANIFESTO

เชียงใหม่ เมืองที่เต็มไปด้วยการเกิดขึ้นของ “กิจกรรม” ในนามของความสร้างสรรค์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีพันธกิจสนับสนุนความสร้างสรรค์ เป็นต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2014  และถูกนิยามว่าเมืองที่มีองค์ประกอบของวัฒนธรรม กิจกรรม ผู้คน และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์  แต่คนทำงานสร้างสรรค์รุ่นใหม่กลับโดน “ละ【__________】 ” ไว้ในตำแหน่งที่ยากจะเปล่งเสียงหรือสร้างบทสนทนาของตนเอง

เชียงใหม่แวดล้อมไปด้วย “ลาน” ในบริบทของพื้นที่ที่กำลังถูกทำให้เป็น “พื้นที่สร้างสรรค์” แต่กลับเป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยนิยามของรัฐ ทำให้พื้นที่เหล่านั้นอาจกำลังจะรกร้างและไร้ซึ่งร่องรอยของนักสร้างสรรค์มือใหม่ที่อยู่นอกเหนือนิยามนั้น ในขณะเดียวกันผู้คนจำนวนมากที่กำลังเริ่มต้นชีวิตทำงานสร้างสรรค์ พวกเขาเหล่านั้นเป็นนักสร้างสรรค์มือใหม่ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพตัวเอง ต้องการพื้นที่ในการลองผิดลองถูก และยังไม่มีต้นทุน ในโมงยามที่การเข้าถึงทรัพยากรเพื่อพัฒนาความสร้างสรรค์มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้คนเหล่านี้จึงตกอยู่ในสภาวะไร้เสถียรภาพ อีกทั้งขาดการสนับสนุนจากรัฐทั้งในด้านต้นทุนความรู้ พื้นที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ  นักสร้างสรรค์เหล่านี้จึงถูก “ละ【__________】 ” ออกจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ทางกายภาพ(ของรัฐ) พื้นที่ทางจินตภาพ(ของรัฐ) และพื้นที่สำหรับพัฒนาศักยภาพ(ของรัฐ)

อีกทั้งปฏิเสธไม่ได้ว่าหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบสนับสนุนศักยภาพด้านความรู้ ความสร้างสรรค์ กลับทำงานไม่เป็นไปตามพันธกิจเท่าที่ควร ทั้งในการสร้างเครือข่าย สนับสนุนคนทำงานสร้างสรรค์รุ่นใหม่ แต่กลับสนับสนุนคนทำงานสร้างสรรค์เพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมที่จะเข้าถึงทรัพยากรของหน่วยงานเหล่านี้ นำไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไมพื้นที่ของหน่วยงานเหล่านั้นทั้งที่รัฐเป็นผู้จัดสรร กลับเข้าถึงได้อย่างยากลำบาก มีเงื่อนไขมากมาย ซ้ำยังมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงและใช้บริการทรัพยากรด้านองค์ความรู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงของประชาชน แต่หน่วยงานที่จัดสรรทรัพยากรกลับมองไม่เห็น (หรือทำเป็นมองไม่เห็น) ปัญหาที่เกิดขึ้น เสมือนว่ากำลังผลักคนทำงานสร้างสรรค์รุ่นใหม่ออกไปไกลขึ้นเรื่อย ๆ และอาจละเลยพันธกิจของตนโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่แท้จริงแล้ว รัฐไม่สามารถ “ละ【__________】”ความรับผิดชอบนี้ได้

“ละลาน รุงลัง Gallery” ชวนให้ทุกคนได้เข้ามาสำรวจกลุ่มนักสร้างสรรค์ในหลากหลายนิยาม แต่มีความหวังเดียวกันคือการเข้าถึงพื้นที่สร้างสรรค์ได้อย่างเท่าเทียม ภายใต้การแสดงงานในรูปแบบ “กล่อง” ที่บรรจุผลงานสร้างสรรค์ภายใต้ข้อจำกัดของขอบเขตพื้นที่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขายังคงเผชิญหน้ากับข้อจำกัดของพื้นที่ที่คับแคบและมีจำนวนจำกัด รวมถึงทรัพยากรการพัฒนาศักยภาพด้านความสร้างสรรค์ที่เข้าถึงได้ยาก แต่แท้จริงแล้วพวกเขาเอง รวมถึงทุกคนคือผู้ที่มีอำนาจในการเข้าถึงและใช้สอยทรัพยากรเหล่านั้นได้ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่ต้องไม่ถูก “ละ【__________】” ออกจากพื้นที่ทางความสร้างสรรค์ พวกเราอยากเห็นพื้นที่เชียงใหม่ ละลานตาไปด้วยความสร้างสรรค์ที่ปราศจากความเหลื่อมล้ำและขอบเขตทางจินตภาพ พวกเราอยากให้ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรด้านองค์ความรู้สร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ห้องสมุดเฉพาะทาง ทรัพยากรสารสนเทศ หอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นหนึ่งในการต่อยอดให้กับผู้คนในเชียงใหม่ได้มีไอเดีย ทรัพยากรในการทำงานสร้างสรรค์ และสนับสนุนคนทำงานสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่อย่างยั่งยืนโดยไม่ “ละ【__________】” ใครไว้ข้างหลัง

 

 

“La Lan Rung Lang” by Fluffy Force

From vibrant creativity-championing agencies established in 2014, Chiang Mai has cultivated a burgeoning creative economy. This very scene silences the voices of the next generation. These aspiring creatives struggle to find platforms for dialogue and expression within the existing structures, feeling excluded from the equation of the so-called “creative economy.”

Chiang Mai’s state-defined “creative spaces” risk exclusionary emptiness, ignoring budding talents beyond their narrow vision. New creatives, yearning for affordable trial-and-error, face instability due to a lack of state support for knowledge, space, and more. Marginalized in physical, imaginary, and developmental realms, these creators remain on the creative periphery.

Agencies officially accountable for Chiang Mai’s creative scene fail to deliver true support to the emerging generation. Biased support, steep resource costs, and inaccessible knowledge leave new creatives on the margins. While the state funds hard-to-reach, exclusionary spaces, it ignores the rising tide of talent struggling to access basic creative resources.

The La Lan Rung Lang Gallery confronts the creative economy’s exclusivity, inviting both creatives and the public to engage. Displayed within a confined space, young talents facing resource limitations showcase their work. These constraints should not hold them back; they deserve the resources to flourish and contribute to a truly inclusive creative space and economy.

Imagine Chiang Mai aglow with limitless creativity, unchained from stifling limits and false barriers. We dream of a city where anyone can tap into a boundless stream of knowledge founded in public libraries, art galleries and museums – all open doors for every citizen to explore. Through these spaces, the city can ignite ideas, nurture talents, and empower every individual to contribute to a vibrant, sustainable Chiang Mai.