Previous slide
Next slide

Human ร้าย, Human Wrong 4 : 2020

ในปีนี้ Human ร้าย Human Wrong ปีนี้ มาในตีมการเรียนรู้เรื่องของ ‘ผัสสะ’ (sensory)  เพื่อทำความเข้าใจความหลากหลายของวิถีชีวิตผู้คนในชีวิตประจำวัน ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานแนวคิดสิทธิมนุษยชน, มานุษยวิทยา และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ จนออกมาเป็นผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดเรื่องราวเงื่อนไขการใช้ชีวิตที่ถูกกดทับ ละเลย นำไปสู่การตั้งคำถามถึงผัสสะการรับรู้บางอย่างถูกปิดกั้นจนกลายเป็นสถานการณ์ปกติ 

สมาชิก Human ร้ายในปีที่ 4 ได้พัฒนาแนวคิด ความสนใจต่อประเด็นความเป็นมนุษย์ในมิติที่ลึกซึ้ง หลากหลายมุมมอง ด้วยการผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ และทักษะความสามารถเฉพาะของแต่ละคน พร้อมทั้งส่งเสริมศักยภาพการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2019 เป็นต้นมา สู่การผลิตเป็นผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารสิ่งที่พวกเขาได้สัมผัส เรียนรู้ความเป็นมนุษย์อย่างแตกต่างหลากหลาย รวมไปถึงการท่าท้าย ตั้งคำถามต่อปรากฏการณ์ที่ดำเนินอยู่ในการใช้ชีวิตของสังคมหน่อยเล็กจนไปถึงโครงสร้างทางสังคมขนาดใหญ่ ผ่านผลงานทั้ง 16 ชิ้นงาน 16 เรื่องราว

 

“Human ร้าย, Human Wrong” คือโครงการฝึกปฏิบัติการ (workshop) สำหรับคนเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่นำเอากระบวนการ
วิเชิงวิพากษ์ผสมผสานกับความรู้ และทักษะทางศิลปะร่วมสมัย นำมาเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์การแสดงออกและสื่อสารประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนรวทั้งประเด็นความแตกต่างหลากหลายของผู้คนในสังคม ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปัจจุบัน 

" เราไม่ได้ทำเพียงผลงานศิลปะ
แต่พวกเราถ่ายทอดข้อค้นพบและการเรียนรู้ครั้งสำคัญ
ผ่านงานศิลปะกับสาธารณะ "

We don’t just make works of art. But we share important stories and learnings through stories with the public.

โครงการ Human ร้าย Human Wrong ไม่ได้เป็นโครงการสำหรับสำงานศิลปะ เราเน้นกระบวนการฝึกคิด ตั้งคำถาม และการหาข้อค้นพบในมุมมอง และมิติต่างๆ
ตามความสนใจของเหล่าสมาชิก เพื่อนำมาเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแบบฉบับของแต่ละคน
และนี่จึงเป็นส่วนหนึ่งจากการบันทึการลงพื้นที่และกระบวนการทำงานของสมาชิก Human ร้ายฯ ก่อนจะมาเป็นผลงานศิลปะในตอนท้ายโครงการฯ

Human RAI Human Wrong Project  is not a project for an art office. We emphasize the process of practicing thinking, asking questions, and finding findings from various perspectives and dimensions. 

According to the interests of the members To bring ideas for creating works of art in the style of each person.And this is therefore part of the recording of the field visit and work process of the Human members before becoming the artwork at the end of the project.

“ป๊อปปี้” ณัฐมน สะเภาคำ
“ป๊อปปี้” ณัฐมน สะเภาคำเรื่องเล่าหลังม่านเวทีของเหล่าผีเสื้อราตรี
Read More
ต้องยอมรับว่างานของเราไม่ได้เป็นงานที่เน้นฝีมือ หรือเป็นงาน visual ที่สวยงามน่าจับจอง แต่มันเป็นงานที่สื่อสารอย่างซื่อสัตย์ตามข้อมูลแบบโต้ง ๆ เพื่อสื่อสารประเด็นทางเรื่องความเป็นเพศของวัยรุ่นหญิงชายขอบ ซึ่งคำพูดของอาจารย์ได้เข้ามาสะกิดในจุดที่คนในสังคม รวมทั้งเราเองพยายามจะ Standardization กับทุกอย่าง คือการทำให้มีมาตรฐาน มีลำดับขั้นตอนเสียงวิดีโอกำกับท่าเต้น 1 2  3 4 ของฉันลอยล่องขึ้นมา ทำให้ย้อนคิดได้ว่า เออ ทำไมต้องใส่สเต็ปตั้งแต่แรกนะ เพราะชีวิตของน้อง ๆ เองก็ไม่ได้เดินตามมาตฐานสังคมแบบเรา อย่างต้องเรียนจบสูง ๆ ทำงานบริษัท แต่งงานตอนอายุ 25 หรือมีลูก ต้องยอมรับว่างานของเราไม่ได้เป็นงานที่เน้นฝีมือ หรือเป็นงาน visual ที่สวยงามน่าจับจอง แต่มันเป็นงานที่สื่อสารอย่างซื่อสัตย์ตามข้อมูลแบบโต้ง ๆ เพื่อสื่อสารประเด็นทางเรื่องความเป็นเพศของวัยรุ่นหญิงชายขอบ ซึ่งคำพูดของอาจารย์ได้เข้ามาสะกิดในจุดที่คนในสังคม รวมทั้งเราเองพยายามจะ Standardization กับทุกอย่าง คือการทำให้มีมาตรฐาน …. สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกเวิร์คชอปของโครงการ Human ร้าย Human wrong 4 ที่มอบความรู้เป็นวิทยาทานต่อการกระบวนการคิดงานและทำหัวข้อ ขอบคุณทุกคำแนะนำและการร่วมมือจากคนหลาย ๆ ฝ่ายไปจนถึงการสร้างผลงาน
"ฮัพ" ภูริชญา พันแพง | Purichaya Panpaeng
"ฮัพ" ภูริชญา พันแพง | Purichaya PanpaengHearsay เขาว่ากันว่า…
Read More
จากการลงพื้นที่รอบนี้ประกอบกับการพูดคุยกับพี่เจ้าหน้าที่ครั้งที่แล้ว เราเลยลองลิสต์มาว่า การเกิดปัญหา 1 ครั้งเนี่ย หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเค้ามีการดำเนินการอย่างไร แล้วทำไมประชาชนถึงเลือกที่จะแก้ปัญหา D.I.Y กันเอง แทนที่จะแจ้งหน่วยงานใด ๆ มาซ่อมแซม ช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งที่พบจึงเสริมหัวข้อของเราให้ชัดขึ้นว่า จินตนาการผ่านเรื่องเล่าที่ชาวบ้านสร้างขึ้นมากันเองก็เหมือนกับพวกเทปเรืองแสงใด ๆ ที่พวกเขานำมาติดแจ้งเตือนกันเองผ่านทางโค้ง การดำเนินการที่ล่าช้าของระบบราชการทำให้พวกเค้าต้องอยู่กันอย่างตามมีตามเกิด เพราะถึงแจ้งปัญหาไปก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่แปลกเลยที่จะมีคำกล่าวที่ว่า ประชาชนต้องดูแลกันเอง ผ่านหูอยู่เสมอ
“แก๊ก” ศุภร เนียมกำเนิด
“แก๊ก” ศุภร เนียมกำเนิดเรื่องเล่าหลังกระดาษข้อสอบ | Happy Family Time?
Read More
ฉันตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ Human ร้าย, Human Wrong เพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองทำอะไรใหม่ๆดูบ้าง การเข้าร่วมโครงการให้ความรู้และประสบการณ์กับฉันมากมาย ฉันคิดว่าตัวเองคงผ่านมันไปได้แบบง่ายๆสบายๆ แต่เมื่อถึงเวลาที่ฉันต้องนำเสนอหัวข้องาน สมองของฉันกลับว่างเปล่า ฉันคิดอะไรไม่ออก ไม่รู้ว่าตัวเองสนใจเรื่องอะไร ไม่รู้ว่าอยากทำอะไร ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะพูดอะไร อย่างที่ใครเขาพูดกันว่าการเริ่มต้นมักจะยากเสมอ ฉันใช้เวลาทบทวนกับตัวเองอยู่นานหลายสัปดาห์ เปลี่ยนหัวข้อครั้งแล้วครั้งเล่า ถกเถียงกับพี่ๆโครงการนับครั้งไม่ถ้วน และแล้วสิ่งที่เคยคาใจฉันก็วนกลับมาตามหลอกหลอนอีกครั้ง มีคำสามคำปรากฎขึ้นในใจ ครอบครัว ข้าราชการ อำนาจนิยม
“เตอร์” อินทัช​ บุญชูยิ้มแย้ม
“เตอร์” อินทัช​ บุญชูยิ้มแย้มเรื่องเล่าเบื้องหลังการทำงาน จาก’ชุมชนหัวฝ่าย’ สู่ ‘ครอบครัวของฉัน’
Read More
“ชายขอบแต่ไม่ชายขอบ?” นี้เป็นคำพูดที่จุดประกายไอเดียของผมจาก 'พี่อ้อย รจเรข วัฒนพาณิชย์' ผู้ริเริ่มโครงการในครั้งนี้ ชายขอบเป็นคำที่หมายถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลาง หรือในอีกบริบทหนึ่งคือคนที่ถูกผลักออกจากสังคมหลัก เป็นคนที่ไม่ได้ถูกเหลียวแล สำหรับในวลีนี้หมายถึง การที่ชาวชุมชนหัวฝายได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายขอบที่คนในเมืองใหญ่ได้หลงลืม มองข้าม และพยายามหันหลังให้กับการมีอยู่ของพวกเขาต่างหาก หาใช่พื้นที่ชายขอบทางภูมิศาสตร์ไม่
Previous
Next

และยังมีเรื่องราวเบื้องหลังการทำงานของสมาชิกคนอื่นอีกมากมาย

And there are many stories behind the art work of the other members.

ผลงานศิลปะ ของสมาชิก Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4

ประมวลภาพกิจกรรม Human ร้าย ปีที่ 4

ประมวลภาพ workshop การเรียนรู้หลากหลายเนื้อหาสาระ ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน มานุษยวิทยา และศิลปะร่วมสมัย ใ ของโครงการ Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4