Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change 2022

Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change

จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสรุปสิ่งที่ สมาชิก Human ร้าย ปีที่5 ทั้ง 3 ทีม ได้ทดลองทำงานรณรงค์บนพื้นที่สาธารณะ ตลอดระยะเวลา เกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม 2022) ในพื้นที่สาธารณะทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ และการสื่อสารบนโลกออนไลน์ จนออกมาเป็นผลงานการสรุปสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ สิ่งที่ได้ออกแบบงานรณรงค์เข้าไปสื่อสารหรือสร้างกิจกรรมให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตามเหตุการณ์กระแสสังคม แต่ละช่วงเวลา แต่ละกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำไปสู่การสร้างความสนใจให้คนเชียงใหม่ตระหนักต่อประเด็นที่แต่ละทีมรณรงค์

ในงาน Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change วันที่ 24 กันยายน พวกเราได้ใช้พื้นที่’ลานเสี่ยว’ ในการจัดนิทรรศการแสดงข้อมูลจากงานรณรงค์ของแต่ละทีม ได้แก่ ทีมขนสุขสาธารณะ , ทีม Sync space และ ทีม SAAP 24:7


ทีมขนสุขสาธารณะ

วันที่ 23 กันยายน (ก่อนวันงานHuman ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change) ได้จัดกิจกรรมรถขนส่งสาธารณะโมเดลกระดาษ จำลองเส้นทางในถนนสาย แม่เหียะ- ซอยวัดอุโมงค์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปฎิบัติการที่ทำให้ได้รับความสนใจจากชาวบ้านในชุมชน สมาชิกในทีมได้พูดคุย รับฟังความคิดเห็นประเด็นขนส่งสาธารณะและกำลังใจจากคนที่ผ่านไปมา

ในวันที่ 24 กันยายน ทีมขนสุขสาธารณะจัดแสดงนิทรรศการสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ทั้งการสื่อสารเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ การปฎิบัติการบนพื้นที่สาธารณะ จนได้รับข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนที่หลากหลาย ทั้งประเด็นปัญหาการเดินทางของชาวเชียงใหม่ ปัญหาโครงการขนส่งมวลชนสาธารณะต่างๆ ที่หยุดใช้ไป รวมไปถึงข้อมูลกลุ่มคนที่ยังคงทำงานการขับเคลื่อนประเด็นขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่

สามารถดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่

Facebook.com/KhonSookForUs


ทีม SYNC SPACE

ทีม SYNC space นำเสนอข้อมูลที่เป็นจุดเริ่มต้นของคำถาม “หากจะจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ พื้นที่สาธารณะในเชียงใหม่ตรงไหนบ้างที่สามารถรองรับการใช้งานได้ฟรีบ้าง?” จากคำถามนี้ สู่การทำงานรณรงค์ที่พวกเขาอยากเห็น นั่นคือเชียงใหม่จะต้องมีพื้นที่สาธารณะที่ฟรี และหน่วยงานของรัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุน หรือลดข้อจำกัดในการขอใช้พื้นที่

ซึ่งทีม SYNC SPACE ได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดจากการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ ในการรณรงค์เรื่องพื้นที่สร้างสรรค์มาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ในแต่ละมุมเมืองเชียงใหม่
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ www.facebook.com/syncspace.people และ SYNC SPACE portfolio

จากกิจกรรมรณรงค์ที่พวกเขาได้ออกไปปฎบัติการทำให้ได้ข้อถกเถียง ข้อเสนอทั้งจากกลุ่มคนรุ่นใหม่และหน่วยงานรัฐ เป็นข้อมูลสองชุดใหญ่ๆ คือ 1.เชียงใหม่มีพื้นที่สาธารณะที่สามารถขอใช้ทำงกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ แต่ในแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่อาจจะไม่สนับสนุนการทำงานสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มที่ 2.ข้อมูลความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่อยากให้พื้นที่สาธารณะมีองค์ประกอบที่สนับสนุนงานสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นการสรุปข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ในชื่อนิทรรศการเล็กๆของพวกเขา’ POP-UP: SYNC MAP | MANIFESTO ZINE | WORK ARCHIVE ‘ และทำให้ผู้ชมในงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ต่อพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ ผ่านบอร์ดข้อมูลสีสันสดใสที่พวกเขาได้จัดแสดงในวันงาน ภายใต้แนวคิด SYNC CITY / SYNC SPACE / SYNC PEOPLE!  ทั้งสามคำนิยามนี้มาจากเบื้องหลังข้อเสนอของทีม SYNC SPACE คือ
✼ พื้นที่ศิลปะส่วนกลางของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเกิดขึ้นจริงในเชียงใหม่
✼ เปลี่ยนพื้นที่ร้างเป็นพื้นที่สร้างสรรค์หมุนเวียน 
✼ กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทางศิลปะและพื้นที่สาธารณะ

ช่วงบ่าย ทีม SYNC SPACE มีกิจกรรมการแสดง performance art จากสมาชิกในทีม ด้วยการใช้พื้นที่โดยรอบของลานเสี่ยวในการแสดงครั้งนี้

ทีม SAAP 24:7

ทีม SAAP 24 : 7 มาพร้อมกับนิทรรศการข้อมูลที่จัดในรูปแบบ แคมป์ปิ้ง จากแนวคิด “หากมหาลัยไม่สามารถใช้พื้นที่ได้24 ชม. พวกเรา(จำเป็น)ต้องรนหาพื้นที่ข้างนอกด้วยตัวเอง เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตทั้งวันทั้งคืน” ภายในเต้นท์รวมเอาภาพ’มีม’ ที่ผสมกับความคิดเห็นจิกกัด สไตล์ ‘วัยรุ่ย SAAP’ ที่แสดงออกถึงความคับข้องใจในข้อจำกัดของการใช้พื้นที่ในมหาลัยที่นักศึกษาต้องเผชิญ

บริเวณรอบๆเต้นท์ มีบอร์ดแสดงความคิดเห็นที่ถูกแปะสติ๊กเกอร์แสดงสถิติในประเด็นต่างๆ เช่น นักศึกษาอยากให้มีกิจกรรมอะไรในพื้นที่สาธารณะในมหาลัย , นักศึกษาใช้เวลาอ่านหนังสือช่วงไหน และอ่านหนังสือทำการบ้าน ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ไหน เป็นต้น ซึ่งสถิติที่แสดงผลออกมาเกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยตรงของนักศึกษาในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งบอร์ดเหล่านี้ได้นำไปติดตั้งในบริเวณต่างๆของมหาลัย และนำมาแสดงสรุปผลในวันงาน

คลิกดูข้อมูลของบอร์ดสถิติได้ที่นี่

ไฮไลท์ของการนำเสนอผลงานของทีม SAAP คือการเปิดตัวเอ็มวีเพลงแรปประจำทีม ที่มีเนื้อหาวิพากษ์การใช้พื้นที่มหาลัยที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของนักศึกษา และปัญหาเชิงโครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังของประเด็นนี้ได้ในหนึ่งเพลง

กิจกรรมสุดท้ายของทีม SAAP คือ วงเสวนาจากเพื่อนๆตัวแทนกลุ่มนักศึกษาชมรมประชาธิปไตย กลุ่ม ที่อยากเห็นพื้นที่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถรองรับการเรียนรู้ และใช้ชีวิต 24 ชม. ซึ่งมีทั้งการแจกแจงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ข้อจำกัด และข้อเสนอที่จะทำให้นักศึกษาสามารถมีพื้นที่ 24 ชม.

ชาววัยรุ่ย SAAP ยังคงไม่หยุดการขับเคลื่อนงานรณรงค์พื้นที่การเรียนรู้ 24 ชม.

ติดตามการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ที่นี่ facebook.com/SAAP247


Latest Story

Kenduri Seni Patani 2024 เทศกาลศิลปะเชื่อมประเด็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม – การเมือง – และชุมชนหลากหลายภูมิภาคมาจัดแสดงในปัตตานี

เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024  : ภายใต้แนวคิด “ก่อนอุบัติ และหลังสลาย” ส่วนหนึ่งจากแถลงการณ์ภัณฑารักษ์ ” เทศกาลศลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ภายใต้แนวคิด “Before birth and