โครงการ “แพร่ handmade” การระดมความคิดกับเมืองแพร่ที่อยากเห็นในอีก 10 ปีข้างหน้า

ชวนพูดคุยถึงอนาคตและการสร้างความเป็นแพร่ที่อยากเห็นด้วยมือเรา

ผ่านกระบวนการระดมความคิดด้วยโจทย์ “เราอย่างเห็นเมืองแพร่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร”

กระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจในปัจจุบัน เมื่อความเจริญต่างๆเริ่มกระจายตัวไปสู่จังหวัดเล็กๆ มากขึ้นกว่าในอดีต เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์เริ่มทำให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น บวกกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงทำให้ผู้คนเหนื่อยล้า สูบพลังสร้างสรรค์ของผู้คนไปในแต่ละวัน ทางเลือกที่จะออกจากเมืองหลวง เพื่อริเริ่มการพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง เพื่อให้การใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต หนึ่งในเป้าหมายของเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองได้อย่างเข้มแข็งได้นั้นคือจังหวัดแพร่ แห่งนี้

แต่ในอีกด้านหนึ่งการกลับมาบ้านเกิดอาจเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเมืองแพร่ยังคงเผชิญปัญหาที่เด็กวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่การเรียนระดับอุดมศึกษา หรือวัยทำงาน มักเลือกที่จะเดินทาง มุ่งสู่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพ หรือจังหวัดหัวเมืองอย่างเชียงใหม่ เพื่อเรียนต่อหรือหางานทำ เพราะเมืองแพร่ไม่ได้มีสถานศึกษา หรือมีสาขาอาชีพที่หลากหลายมารองรับความต้องการของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นช่องว่างทางเวลาของคนอายุช่วงวัยรุ่นที่หายไปจากบ้านเกิดตัวเอง และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในจังหวัดแพร่แห่งนี้เท่านั้น วัฏจักรการมุ่งสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับจังหวัดอื่นๆเช่นกัน

แต่แล้วคำถามยังไม่จบ เมื่อวัยรุ่นที่กลับมาสู่บ้านเกิดในเมืองเล็กๆแห่งนี้ พวกเขาก็ยังไม่เห็นอนาคตการใช้ชีวิตอยู่ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ คำถามที่ว่า “กลับมาบ้านแล้วเราจะทำอะไร” หรือ “เมืองแพร่ไม่มีอะไรให้ทำ” “จะเริ่มต้นพัฒนาเมืองแพร่ให้ดีขึ้นด้วยตัวเองอย่างไรได้บ้าง” ยังคงเป็นโจทย์ที่เขายังต้องเผชิญเมื่อกลับมาอยู่ที่นี่

จากคำถามต่างๆ และปัญหาที่เราพบ พวกเราทีม คิด space จึงมีโอกาสร่วมมือกับกลุ่ม “เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่คนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้านเกิดรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาเมืองแพร่ เพื่อจัดกิจกรรมสำรวจ needs assesment ทัศนคติของคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ในจังหวัดแพร่ ว่ามีความต้องการที่จะเห็นเมืองแพร่พัฒนาไปในทิศทางใดบ้าง หรือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเกิดสวัสดิการอย่างไรที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในจังหวัดแห่งนี้ จนเกิดเป็นกิจกรรม “แพร่ Handmade”

จากโจทย์การหา needs assesment ต่อทัศนคติการพัฒนาเมืองแพร่ของคนในแต่ละชุมชนอาจมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นข้อดีที่จะทำให้เราได้ข้อมูลจำนวนมากที่สามารถนำไปต่อยอดให้เหมาะกับกลุ่มคนแต่ละพื้นที่ เราจึงเห็นว่าการสำรวจความคิดเห็นเพียงกลุ่มคนในตัวเมืองแพร่อย่างเดียวคงอาจไม่พอ เราจึงออกแบบการสำรวจข้อคิดเห็นให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดแพร่ในอำเภออื่นๆ

ข้อมูลกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม “แพร่Handmade”

เนื่องจากเรามีความเห็นร่วมกันว่า”เมืองแพร่” มีศักยภาพที่จะสามารถสร้างรากฐานการพัฒนาเมืองโดยคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชนเอง พวกเรา ‘คิด space’ ใช้โจทย์ใหญ่เป็นตีมในการทำกิจกรรมครั้งนี้ว่า “เราอย่างเห็นเมืองแพร่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร”

กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม “แพร่ Handmand” มีความหลากหลายมาก ทั้งนักเรียน, นักศึกษา, ศิลปิน, เจ้าของกิจการร้านกาแฟ, เจ้าของร้านเฟอนิเจอร์, นักพัฒนาเยาวชน, คุณครู รวมทั้งคุณหมอ ที่ทุกคนเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มีจุดประสงค์ร่วมกันคือ “อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของเมืองแพร่”

พวกเรา ‘คิด space’ จึงได้ออกแบบกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงความคิดเห็นอย่างไม่ถูกปิดกั้น เพื่อให้ได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม และเห็นว่า ทุกคนมีศักยภาพ สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมพัฒนาเมืองแพร่ในแบบที่เราอยากเห็นได้

กระบวนการทำความรู้จัก

ช่วงแรก เราเปิดด้วยกิจกรรมที่ชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันให้ลึกซึ้ง และรู้จักว่าแต่ละคน มีความสามารถ ความสนใจและทักษะอะไรบ้าง ด้วยตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่มา นอกจากเราจะได้รู้สาขาอาชีพ แต่ละคนยังมีความสนใจและความสามารถที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังมากมาย แม้ว่าผู้เข้าร่วมบางคนที่รู้จักกันมาก่อนแต่ก็เพิ่งได้รู้ว่าเพื่อนของคนข้างๆ เรามีความสามารถที่ไม่เคยรู้มาก่อน

จะเห็นได้ว่า กลุ่มคนที่ร่วมกิจกรรมในห้องนี้มีทักษะ ความสามารถและองค์ความรู้ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทักษะเล่นดนตรี วาดภาพ ย้อมผ้า ทักษะด้านภาษา ความรู้ประวัติศาสตร์ล้านนา การยิงธนู จากนั้นทีม คิดspace ได้จัดระเบียบ รวบรวมทุกคำตอบพร้อมกับแยกประเภทความสามารถและทักษะที่พวกเรามีให้เห็น

เมื่อเรารู้จักผู้เข้าร่วมหลังจากกิจกรรมและเมื่อเราแปรงข้อมูลที่ได้ ผู้เข้าร่วมจึงได้เห็นข้อมูลที่เป็นทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรทางความรู้ที่อยู่ข้างๆเรา หลังจากนั้นไม่ช้า กิจกรรมต่อไปจึงเริ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เราได้เห็นคุณค่าของทักษะที่เรารวบรวมไว้ ว่าแต่กลุ่มคนส่วนใหญ่ในคลาสนี้อยากเรียนรู้ทักษะหรือความรู้จากใครบ้าง

ขั้นตอนต่อมา ทีมของเราเริ่มกระตุ้นให้ ผู้เข้าร่วมทุกคนได้คิด และได้แลกเปลี่ยนว่าผลลัพธ์ที่เราได้จากการสำรวจความต้องการการเรียนรู้เสริมทักษะจากคนในห้องนี้ในกิจกรรมแรก จะนำไปสู่การพัฒนาเมืองแพร่เราได้อย่างไรบ้าง รวมถึงการแลกเปลี่ยนปัญหา ข้อดี ข้อเสียของเมืองแพร่ หรือคิดเห็นอย่างไรหากเรานำเอาวัตถุดิบความรู้และทักษะที่มีนำไปใช้ หรือจะนำไปประยุกต์อย่างไรได้บ้างให้เหมาะกับคนในพื้นที่

ซึ่งในขั้นตอนนี้นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระในมุมมองที่พวกเขาเป็นเจ้าของเมืองแพร่ และเห็นความเป็นไปในแต่ละมุมของสาขาอาชีพตัวเองในรายละเอียดที่แต่ละคนก็ยังไม่เคยรู้มาก่อน ยกตัวอย่าง กลุ่มนักเรียนนักศึกษาต่างยกตัวอย่างกิจกรรมในโรงเรียนที่ผู้ใหญ่ออกแบบให้ปฎิบัติตามที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้น กลุ่มนักพัฒนาเยาวชนให้ความคิดเห็นอีกด้านหนึ่งของปัญหาวัยรุ่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาว่าพวกเขาต้องการพื้นที่ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มนักธุระกิจในเมืองแพร่เล่าประสบการณ์การเปิดร้านกาแฟเพราะต้องกลับมาดูแลครอบครัว

จะเห็นได้ว่าแต่ละสาขาอาชีพ ความสนใจ มีมุมมองข้อคิดเห็นต่อเมืองแพร่ในรายละเอียดที่แตกต่างกันไป พร้อมถกเถียง และรับฟัง คนอื่นๆ เพราะปลายทางของทุกคนต่างต้องการทำความเข้าใจพลวัติที่เกิดเมืองแพร่เพื่อจะออกแบบ สิ่งที่อยากกจะเห็นในอนาคตอันใกล้ที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในการพัศนาไปได้ด้วยทักษะ องค์ความรู้ และศักยภาพที่มี

กิจกรรมในครั้งนี้เราเริ่มด้วยโจทย์ “ว่าเราอยากเห็นอนาคตเมืองแพร่ในอีก 10 ปีเป็นอย่างไร” เพื่อให้ทุกคนได้มีธงในใจ และกระบวนการ”แพร่Handmade”ที่ทำเป็นเหมือนการร่วมเขียน “แผนที่” ที่ทำให้เห็นเส้นทางไปสู่เป้าหมายได้ด้วยทรัพยากรที่เรามี ว่าสิ่งที่เรา”อยากให้เกิดขึ้น” นั้นสามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

Out put ที่ออกมาหลังจากที่เราได้ข้อมูลการทำกิจกรรมครั้งนี้ สามารถเห็นข้อคิดเห็นที่ได้เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาเมืองแพร่ได้ในอนาคต

หลังจากจบกระบวนการนอกจากสมาชิกจะได้เห็นข้อคิดเห็น การชี้ให้เห็นที่มาที่ไปปัญหา และการนำเสนอแนวทางแก้ไขเป็นดราฟท์ง่ายๆไว้ จะเห็นได้ว่าพวกเราได้ก้อนข้อมูลใหม่ ที่ได้จากคนแพร่ อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นก้อนข้อมูลที่สามารถนำเอาไปต่อยอดได้ในอนาคต เพื่อสามารถนำเสริมสร้างหนทางการนำไปสู่เป้าหมายที่เราวางไว้ร่วมกัน คือการเห็นภาพเมืองแพร่ในอีก 10ปี ข้างหน้า เป็นของพวกเรา โดยพวกเราคนแพร่


สนใจร่วมออกแบบหลักสูตรการคิดเชิงวิพากษ์ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ


Latest Story

Kenduri Seni Patani 2024 เทศกาลศิลปะเชื่อมประเด็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม – การเมือง – และชุมชนหลากหลายภูมิภาคมาจัดแสดงในปัตตานี

เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024  : ภายใต้แนวคิด “ก่อนอุบัติ และหลังสลาย” ส่วนหนึ่งจากแถลงการณ์ภัณฑารักษ์ ” เทศกาลศลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ภายใต้แนวคิด “Before birth and