เวิร์คช็อปครั้งนี้ สมาชิก Human ร้าย 4 ได้ลงพื้นที่ยาวนานตลอดสองวันเต็ม เพื่อที่จะฝึกผัสสะทางสายตาและกระบวนการฝึกคิดหามุมมองในการสื่อสารผ่านภาพถ่าย โดย คุณธีรพงษ์ สีทาโส หนึ่งในสมาชิกช่างภาพจากกลุ่ม Realframe ร่วมกับ อ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ที่มาช่วยเสริมเนื้อหา และชี้ให้เห็นประเด็นข้อค้นพบจากการถ่ายภาพทางมานุษยวิทยา และการตั้งคำถามต่อความจริงที่ถูกนำเสนอบนงานศิลปะภาพถ่าย
กิจกรรมเริ่มต้นของพวกเรา ไม่ใช่การเรียนรู้เทคนิกการใช้กล้อง แต่คือการสลับสับเปลี่ยนกันตั้งคำถาม กับกระบวนการการถ่ายภาพผู้คน คำถามแรกที่เราเริ่มต้นก่อนเรียนรู้การจับกล้องและเดินสำรวจ คือใกล้แค่ไหนถึงเรียกว่าใกล้ ในมิติของงานภาพถ่ายมานุษยวิทยา การเข้าใกล้ผู้คน การจัดการภาพในเฟรม มันจะเผยความจริงของสายตาผู้บันทึกภาพ และผู้ที่อยู่ในภาพได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ และทดลอง ฝึกฝนการหา
งานนี้พวกเราชาว Human ร้าย ได้มีโอกาสลงพื้นที่บริเวรชุมชนหัวฝายอีกครั้ง เป็นสนามทดลอง, ลองผิด ลองถูก ลองสัมผัส พร้อมกับโจทย์ที่ท่าท้ายการหามุมมองในการเล่าเรื่องจากข้อสังเกตเล็กๆในชุมชน สู่การตั้งคำถาม วิพากษ์ในประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมผ่านกระบวนการสร้างภาพชุดเล่าเรื่องในตอนท้ายของกิจกรรม