ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ | Yotsunthon Ruttapradid
ขนาด:300×160 ซม.
เทคนิค: สื่อผสม วีดีโอ และปติมากรรมพลาสติก
ปีผลิต:2020
Size: 300×160 cm.
Technic: Mixed media (video and plastic sculpture)
Year: 2020
concept
อนุสาวรีย์ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของการปักหมุดความหมายบนพื้นที่ ผ่านการกระทำและองค์ประกอบต่าง ๆ อนุสาวรีย์ผู้ปกครองในสมัยก่อน ถือเป็นการปักหมุดความหมายว่าด้วยความเป็นชาติข้ามกาลเวลาเหนือพื้นที่ทางกายภาพโดยผู้สร้างอนุสาวรีย์ ซึ่งมักเป็นผู้กุมอำนาจในการเลือก สร้าง และให้ความหมายเชิงอุดมการณ์ในสมัยปัจจุบัน
เรื่องเล่าเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ มีองค์ประกอบที่ถูกคัดสรร เป็นร่องรอย ส่วนเสี้ยวของตัวละครหลัก และคนที่เชื่อมโยงกับเรื่องเล่านั้น ๆ ออกมาเป็นภาพตัวแทนที่ละทิ้งประวัติศาสตร์หรือความจริงที่หลากหลายเกี่ยวกับพวกเขาเหล่านั้น
Erected to affirm dominant discourse, monuments are selectively constructed with components serving to reproduce nationalist ideology. The story being told is representation of partial fragment of the protagonists, failing to divulge the whole truth or other narratives around them.
กระบวนการของการสร้าง ขนาดที่ใหญ่มหึมา ท่าทางและหน้าตาที่เป็นตัวแทนของบุคคลนั้น กอปรกับองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ร่วมให้ความหมาย ความขลัง ของอนุสาวรีย์นั้น ๆ การลงพื้นที่อุทยานราชภักดิ์ ทำให้เห็นการสร้างความทรงจำสาธารณะ: อุดมการณ์ชาตินิยมผ่านพื้นที่ที่เหนือจริง พิธีกรรมต่างๆ ถูกใช้ประกอบ เพื่อส่งเสริมความศักดิ์สิทธ์ของอนุสาวรีย์เหล่านั้น
การสร้างเรื่องเล่าหรือประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่โดยข้ามกาลเวลานั้น ทำให้เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าสิ่งใดคือเรื่องเล่าที่แท้จริง เรื่องเล่าเหล่านั้นมักมีร่องรอยของตัวละครนั้น หรือ คนที่มีส่วนเชื่อมโยง ท้ายที่สุด การปฏิเสธถึงตัวตนเหล่าของเขาเหล่านั้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก สิ่งที่เราทุกคนควรตระหนักในการศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ หรือเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือมุมมองในการศึกษาที่ต้องเปิดกว้างและเป็นอิสระต่อมโนทัศน์กระแสหลัก หรือมโนทัศน์ชุดใดชุดหนึ่ง
ผู้ผลิตผลงานเลือกสื่อสารประเด็นในรูปแบบวีดีโอความเรียง เกี่ยวกับอนุสาวรีย์ ที่ถูกสร้างและให้ความหมายในภายหลัง การตัดต่อส่วนประกอบวิดีโอ และการเลือกใช้องค์ประกอบเพิ่มเติม คือสัญญะว่าด้วยการรื้อสร้าง ไม่ต่างจากการสร้างเรื่องเล่าผ่านอานุสาวรีย์
Erected to affirm dominant discourse, monuments are selectively constructed with components serving to reproduce nationalist ideology. The story being told is a representation of partial fragments of the protagonists, failing to divulge the whole truth or other narratives around them. Through different components: its grand size, physical features and other elements, the story of protagonist in monuments are exemplified to implant dominant narratives. The Rajabhakti Park is the selected case selected for this piece.
We may fail to recognize the absolute truth behind the reconstructed history. What should not be dismissed in studying and understanding history narratives is critical and open perspectives. Created as video narrative, the selected technique symbolizes reconstruction just like the story being told as a monument.