SYNC SPACE
“WE NEED FREEATIVE SPACE”
เชียงใหม่คือเมืองศิลปะจริงไหม แล้วทำไมถึงไม่มีพื้นที่ศิลปะที่ง่ายต่อการเข้าถึง?
นี่คือคำถามแรกของ SYNC SPACE กลุ่มนักสร้างสรรค์ที่อยากเห็น ‘พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะ’ แม้ว่าเชียงใหม่จะมีพิพิธภัณฑ์หรือ Art Gallery อยู่หลายแห่ง แต่การใช้พื้นที่นั้นกลับมีข้อจำกัดที่มากเกินเอื้อม
กลุ่ม Sync Space เห็นว่า นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่นั้นควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ สำหรับพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่การแสดงออก พื้นที่สำหรับกิจกรรมที่หลากหลาย และพื้นที่ที่แสดงถึงความเป็นเมืองศิลปะของผู้คนอย่างแท้จริง
มาร่วมกันผลักดันเพื่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์กันเถอะ!
FREEATIVE
SPACE
MATTERS
เพราะอะไรกัน ทำไม ‘พื้นที่’ จึงสำคัญสำหรับนักสร้างสรรค์ แล้ว ‘พื้นที่’ ที่ว่านี้คือห้องโล่ง ๆ เปล่า ๆ สีขาว ที่มีไว้จัดแสดงงานเหรอ นั่นใช่สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ มั้ย?
ก็คงใช่ การมีพื้นที่ศิลปะสำหรับทำอีเวนต์ จัดแสดง การฝึกซ้อม เป็นเรื่องใหญ่ของคนทำงานสร้างสรรค์แทบทุกแขนง ที่ต้องการการเข้าถึง นำเสนอ และใช้งานได้ในบริบทที่เหมาะสม แต่เมื่อถ้ามีพื้นที่แล้วยังไงกันล่ะ ? คงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ตอบโจทย์การมีอยู่ของนักสร้างสรรค์ หากลองมองว่า ‘พื้นที่’ ไม่ใช่แค่เรื่องของการได้แสดงผลงาน แต่เป็นเรื่องของโอกาสในการเติบโต เรียนรู้ และได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้คน
เพราะคนทำงานสร้างสรรค์นั้นไม่ควรถูกตัดขาดหรือถูกละเลย ‘พื้นที่’ ที่ว่านี้จึงควรเป็นทั้งการได้แสดงออก การได้มีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ โดยไม่ใช่การมีเพื่อสนับสนุนแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้หลายรูปแบบ และที่สำคัญควรจะมีพื้นที่ ‘ฟรี’ เพื่อเปิดโอกาสหรือทำให้กลุ่มนักศึกษาเข้าถึงได้มากขึ้น
เราก็สร้างพื้นที่เองเสียเลยสิ!!! และเพื่อส่งเสียงให้ ‘รัฐ’ เห็นความสำคัญของการมีพื้นที่สร้างสรรค์ ซึ่งอันที่จริงแล้วบทบาทของรัฐคือสิ่งสำคัญในการพูดถึงเรื่องนี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการมีพื้นที่สร้างสรรค์ในบริเวณ ‘พื้นท่ีสาธารณะ’ เพราะว่ารัฐเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการ
อีกทั้งการทำความเข้าใจความหมายของ ‘งานสร้างสรรค์’ ที่มาจากความเข้าใจของคนรุ่นใหม่และคนในพื้นที่ชุมชนอีกด้วย ความหมาย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐสามารถนิยามได้แต่เพียงผู้เดียว บางครั้งการแยกขาด และการไม่รับฟังเสียงจากผู้คน อาจนำไปสู่การสร้างอาคารโดยงบประมาณส่วนกลางที่ไม่ตอบโจทย์ หรือการออกแบบพื้นที่ในเมืองที่ไม่สอดรับกับปัญหา จนกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกแช่แข็ง และไม่มีคนเข้าไปใช้ประโยชน์ในท้ายสุด
นั่นคือเหตุผลที่เราควรจะมีพื้นที่ที่สามารถพูดคุยกันได้
ยกตัวอย่างในตอนนึงของหนังสือ The Death and Life of Great American Cities เจน เจคอบส์ ได้พูดถึงเรื่อง บทบาทของรัฐ (Governing and planning districts) ว่ารัฐควรมีบทบาทที่สามารถจัดการ วางแผน และทำความเข้าใจปัญหาของผู้คน ปัญหาไม่ควรถูกจัดการได้ด้วยสายตาแต่เพียงแค่รัฐอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นการออกแบบสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ถนน ทางเดิน พื้นที่พูดคุย ร้านค้า ย่านศิลปะ ของผู้คนนั้นเป็นอย่างไร สิ่งไหนจำเป็น และอะไรคือตัวหล่อเลี้ยงพวกเขาบ้าง นี่จึงเป็นบทบาทสำคัญของรัฐที่ละเลยไม่ได้
คนที่อยู่อาศัยในเมืองสามารถออกแบบเมืองสร้างสรรค์ของตัวเองได้และคุณก็สามารถสร้างความหมายของ ‘พื้นที่สร้างสรรค์’ ในแบบของคุณได้ด้วยเช่นกัน
“จริงๆเชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าอยู่ มันคงจะดีถ้าหากว่าเราตื่นขึ้นมาแล้ววันนี้อยากออกไปเล่นดนตรีเปิดหมวกในที่สาธารณะ หรืออยากออกไปนั่งวาดรูปโดยที่รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย เพื่อเข้าไปในพื้นที่ที่เราสามารถเป็นตัวของตัวเอง ได้แสดงออกถึงการมีอิสระของเรา”
พื้นที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนิยามของอิฐ ปูน กระดาษ แต่มันคือการมีตัวตน การพบปะผู้คนโดยบังเอิญ และการได้ทำกิจกรรมกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน
กิจกรรมของพวกเรา
SYNC SPACE
กลุ่มนักสร้างสรรค์ที่อยากเห็น
‘พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะ’
YOUR BODY
YOUR SPACE
กิจกรรมที่ Sync Space ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งคือ ‘วันสตรีสากล’เราเห็นถึงปัญหาของแรงงานหญิงที่ขาดพื้นที่การพูดและแสดงออก เราจึงอยากช่วยผลักดันในประเด็นนี้ โดยชวนทุกคนเริ่มจากการแสดงออกแบบบนร่างกายของตัวเอง วัสดุที่เราเลือกมาจะเป็นผ้า เพราะผ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับเครื่องนุ่งห่มที่ปกคลุมร่างกาย โดยให้ผู้เข้าร่วม สามารถเขียน พ่นสี บนผ้าที่มีอยู่ แล้วนำไปออกแบบตกแต่งบนร่างในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระโปรงหรือผ้าคลุม
เพราะเรามองว่าร่างกายของเราก็คือพื้นที่ เราสามารถออกแบบ หรือแสดงออกผ่านมันได้เช่นเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อกิจกรรมนี้
ซิ้งซิ่ง!
Sync (Zing)
Space
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2565 พวกเรามีกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์โดยกลุ่ม SYNCE Space และเพื่อนๆมาจัดงาน ซาวด์ซิ้งซิ่ง ว่าซั่นนนน! Sync Zing Sound [Public Jam Session]เปิดเวทีกระจายเสียง เรียกคนเข้ามาแจมมิ่ง เพียงแค่คุณรักในเสียงดนตรี และไม่จำเป็นต้องมีทักษะใดๆ ก็เข้ามาแจมกันได้ บริเวณหน้าคุกหญิงเก่า – ซอยข้างที่ว่าการอำเภอเก่า กลางเวียง
unFIXED Rehearsal การแสดงละครเวที ที่ต้องการซ้อมไปเรื่อยๆ
ในงานเราจะมี เวิร์คชอร์ปที่จะชวนกันมาเล่นละคร เรามีอุปกรณ์และคนที่คอยแนะนำให้คุณพร้อม! หรืออยากจะเอาอะไรมาแจมก็ได้เช่นกัน
ปิดท้ายด้วยกิจกรรม ฉายภาพยนตร์เรื่อง Payday — สุขสันต์วันเงินออก~ ร่วมกับกลุ่ม Dude Movie ภาพยนต์ที่จะสร้างเสียงหัวเราะให้คุณแม้ในวันกระเป๋าแห้งแบน ให้เสียงพากย์ไทยโดยชาว “คณะเชิญยู๊ด” คณะตลกดาวรุ่งดวงใหม่แห่งเมืองล้านนา!!!
CNXYNCEPTION
PUBLIC INTERACTIVE BOARD “C.N.XYNCEPTION”
อยากเห็นพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เป็นแบบไหนกันน้า?
นี่คือสถานีพื้นที่สร้างสรรค์เล็ก ๆ ที่จะให้ทุกคนได้มาแต่งแต้มความเป็นเมืองเชียงใหม่ในแบบของคุณ จากถนนหนทางที่เราผ่านทุกวันเมื่อกลับบ้าน
สู่ภาพวาดลายเส้น ที่ทำให้ใครหลายๆคนคันไม้คันมือที่จะละเลงสีลงไป เพราะงั้นอย่ารอช้า!
หยิบมาร์คเกอร์ที่ใกล้มือที่สุดขึ้นมา แล้วเริ่มสื่อสารกับเมืองกัน 👀
CNX + sYNC + perCEPTION
เชียงใหม่ / เชื่อมต่อ / มุมมองการรับรู้
“เมื่อพื้นที่ในเมืองไม่เคยถูกจัดสรรผ่านมุมของใครนอกจากชนชั้นนำ และหลายครั้งพื้นที่เหล่านั้นกลับกลายเป็นพื้นที่เหลือใช้ที่ไร้ประโยชน์
จะดีแค่ไหนถ้ารัฐเข้ามาจัดสรรพื้นที่เหล่านั้นผ่านมุมมองของกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย และเชื่อมต่อพื้นที่กับผู้คนทำให้มันกลายเป็น
พื้นที่สร้างสรรค์ที่แท้จริงสำหรับพวกเรา และเรา Design Soulciety จึงอยากสร้างสิ่งที่จะช่วยส่งเสียงไปยังกลุ่มคนที่มีอำนาจว่าพวกเรานั้นมีตัวตน
และพร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆอย่างสุดความสามารถ ขาดแต่เพียงพื้นที่ที่พอดีสำหรับพวกเราก็เท่านั้น”
ก่อ ร่าง สร้าง สเปซ
ก่อ ร่าง สร้าง สเปซ
5 June 2022
‘ก่อร่างสร้างสเปซ’ มาจากคำว่า ‘ก่อร่างสร้างตัว’ ที่หมายถึง การเติบโตโดยพึ่งพาตัวเอง เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะนักสร้างสรรค์หรือคนทั่วไป
จำต้องวิ่งหาพื้นที่แสดงออกและปล่อยของ
เริ่มจากที่ Sync Space ได้จัดกิจกรรมบริเวณหน้าคุกเก่า แล้วพบว่า พื้นที่บริเวณนั้นไม่มีเก้าอี้สาธารณะให้ประชาชนได้ใช้ เราจึงคิด
ริเริ่มทำ workshop เก้าอี้ทำมือสาธารณะขึ้นมา เริ่มจากการหยิบจับวัสดุในพื้นที่ และชักชวนนักสร้างสรรค์มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงาน
ในขณะเดียวกัน ‘เก้าอี้’ ที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่เก้าอี้เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเดียว แต่ยังเปรียบเสมือน ‘สัญลักษณ์’ ของนักสร้างสรรค์อีกด้วย
ถึงแม้เชียงใหม่มีพื้นที่สาธารณะ แต่พื้นที่เหล่านั้นกลับไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ชาวเชียงใหม่ได้ทำงานสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
‘พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะ’ ไม่ควรจะมีรูปแบบเป็นเพียงแค่ลานว่างเปล่าธรรมดา หรือ พื้นที่ที่เซนเซอร์การแสดงออก
พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะควรเป็นพื้นที่ที่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้มาแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้
และส่งเสริมคนผู้คนได้ทำงานสร้างสรรค์อย่างเสรีภาพ
สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง SYNC SPACE
ไอซ์
อนันตญา ชาญเลิศไพศาล
ขวัญ
ขนิษฐา สุวรรณสังข์
ซันโว
ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์
แด๊กซ์
ปรัชวิชญ์ บุญยะวันตัง
ปูน
รณน โชติกมลพงศ์
Human ร้าย, Human Wrong 00 : 2000
เมื่อปัญหาสังคมและประเด็นสิทธิมนุษยชนถูกทำให้กลายเป็นเพียงเรื่องไกลตัวและเรื่องวุ่นวายของคนบางกลุ่ม ไม่เพียงแต่เสรีภาพในการแสดงออกที่ถูกจำกัด ทว่าความคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารเรื่องราวของสังคมของผู้คนก็ถูกทำให้เลือนหายลงไปพร้อมๆ กัน
ศิลปะเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจในการฝึกฝนกระบวนการคิด การวิพากษ์ และเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับสังคมได้อย่างทรงพลัง เพราะนอกเหนือจากความบันเทิงและความงามแล้ว ศิลปะยังสามารถส่งต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านสัญลักษณ์ที่ไม่จำกัดและไม่อาจตีกรอบบังคับได้ จากความงามและรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆที่ถูกเลือกมาใช้ จึงนำมาสู่การตีความของผู้ชม การตีความที่จะนำไปสู่การตั้งคำถามและคิดวิเคราะห์อย่างอิสระ พื้นที่ศิลปะจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้คนได้ “คิด” “พูด” และ “ส่งต่อ” เรื่องราวที่ถูกลืมเลือนออกไปสู่สังคมได้อีกครั้ง
“Human ร้าย Human Wrong” เป็นโครงการฝึกปฏิบัติการ (workshop) การทำงานศิลปะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่นำศิลปะมาเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ แสดงออกและสื่อสารเรื่องใกล้ตัวที่ถูกทำให้ไกลเราจนยากที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมาอย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน ผ่านกิจกรรมฝึกทักษะและการตีความสร้างงานศิลปะ รวมไปถึงการคิดเชิงวิพากษ์ตลอดระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งช่วยดึงศักยภาพทางศิลปะ บ่มเพาะแรงบันดาลใจ จุดประกายให้ได้เรียนรู้และตั้งคำถามกับเรื่อง “สิทธิ์” ที่เราพึงมีในชีวิตประจำวัน ก่อนจะถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะในรูปแบบที่เสรีเพื่อสื่อสารกับสาธารณะ
Don’t get Human Rights to be wrong
Amidst the ‘wronging’ of ‘human rights and blatant restriction of freedom of expression, a space for arts can give us a breath, help us ‘speak’ and ‘pass on’ stories to society.
“Human ร้าย, Human Wrong” is a unique art workshop striving to be a conduit of creative expression and communication of immediate issues which have been made to distant to all of us and are hard to express straightforwardly. It is a long-term art workshop cum critical and fun discussion aiming to draw out the artistic potentials and inspire the participants. They would get to learn how to ask questions about the basic ‘rights’ to which we all are entitled and to express them through artworks with freedom in public space.
ผลงานศิลปะ ของสมาชิก Human ร้าย Human Wrong ปีที่
FuKu
The Innocent Death
ฉันเท่าเทียม I – Equal
กากี 4.0 Kaki 4.0
National Anthem
นวัตกรรมศักดิ์สิทธิ์พิชิตเป้า The Victory of Sacred Innovations
Under Greens
TROUBLEMAKER 4.0
Look at You
Bed Kingdom
We Refugees
กุญแจความดี Thainess Lock
สิ้นสุดเขตบังคับ The end of off-limit zone
Voice of Innocence
พบปะประชาชน Meeting the Public
ฯลฯ (และอื่นๆ อีกมากมาย) Etcetera
Cyber Bullying
Related
Pages: 1 2