Project Type: Humanร้าย,Human Wrong4 : gallery

นิทรรศการ SENSORY OF HUMANITY : Human ร้าย Human Wrong 4 | 2021

ปีนี้ โครงการ Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานศิลปะออกมาจำนวน 15 ผลงาน โดยสมาชิกที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปในปีนี้ ได้เลือกเอาประเด็นที่ตนเองสนใจมานำเสนอ ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ภายใต้หัวข้อที่เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในปีนี้ “Sensory of Humanity” การเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้ ซึ่งนิทรรศการนี้จัดขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม

เบื้องหลังการเตรียมนิทรรศการ Human ร้าย Human Wrong 4

18 มิถุนายนเป็นกำหนดการเปิดนิทรรศการของพวกเรา ปีนี้เราได้รับการสนับสนุนพื้นที่จัดแสดงงานเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย “ใหม่เอี่ยม” อีกครั้ง ทำให้พวกเราทั้งตื่นเต้นและดีใจมากที่ได้นำผลงานทั้ง 15 ชิ้นมาจัดแสดงที่นี่ แม้ว่าจะมีเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสถาณการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ที่ทำให้งานของพวกเราสะดุดไปบ้าง แต่พวกเราใช้เวลาในการเตรียมตัวและผลิตผลงานกันอย่างตั้งใจ รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือจากทีมงานของใหม่เอี่ยมที่คอยอำนวยความสะดวก และทีมติดตั้งงานศิลปะที่ให้คำแนะนำ ทั้งระหว่างการผลิตผลงานและการติดตั้งผลงานให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆและทำให้งานสำเร็จลุล่วง

workshop 7 : จัดการข้อมูล สรุปความคิด ด้วย mood board workshop

workshop ครั้งที่ 7 เป็นกิจกรรมพิเศษที่ออกแบบขึ้นมาหลังจากที่ สมาชิกทุกคนได้นำเสนอหัวข้อของตนเองและได้รับคำแนะนำ หรือสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมจาก อ.สรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ และอ.จักรกริช สังขมณี ที่ปรึกษาโครงการทั้งสองคน หลังจากที่ทุกคนไปทำการบ้าน หาข้อมูล ประเมินทักษะและสิ่งที่ตนเองมี เพื่อที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ แต่สิ่งที่มีในหัว ทั้งความคิด ข้อมูล ทักษะต่างๆ ทำไมมันกระจัดกระจาย ไม่รู้จะจัดวาง จัดหมวดหมู่สิ่งที่มียังไงดี วันนี้ทีมงาน Human ร้าย

นำเสนอ Project ของสมาชิก Human ร้าย 3

หลังจากที่สมาชิก Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4 ได้ร่วมทำเวิร์คช็อปเสริมสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะการจัดการความคิดและการสื่อสารไปแล้ว มาถึงขั้นตอนสำคัญที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องนำเอาองค์ความรู้ ความสนใจ และสิ่งที่ได้ค้นพบจากการใช้ผัสสะต่างๆ รับรู้เรื่องราว ปรากฎการณ์ของสังคมรอบตัว นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานของตนเอง ความน่าสนใจของการนำเสนอหัวข้อในครั้งนี้ ทุกคนได้นำเอาทักษะที่แต่ละคนถนัด ซึ่งมีความแตกต่าง หลากหลาย เช่น ความถนัดด้านศิลปะ การออกแบบ , ความถนัดด้านการเก็บข้อมูล การสืบหาข้อมูลผ่านการสำรวจ

workshop 6 : แล้วเราจะเข้าใจศิลปะได้อย่างไร

workshop ครั้งที่ 6 (กิจกรรมเสริมทักษะ ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง) กิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นจากการลงความคิดสิ่งที่พวกเราสมาชิก Human ร้าย ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยเริ่มจากคำถามที่ทุกคนต่างสงสัยว่า “เราจะเข้าใจงานศิลปะได้อย่างไร” ในเวลานี้ งานศิลปะยุคใหม่เป็นสิ่งที่ไม่เคยตัดขาดจากผู้คนและบริบททางสังคม ศิลปะจึงเป็นการเมือง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ ไม่ใช่นามธรรมไร้เหตุผลเข้าใจยาก เราจึงชวนสมาชิก Humanร้าย ปรับมุมมอง ชวนอ่าน ชวนคุย ชวนดูงานศิลปะ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะสัมพันธ์กับการใช้ตรรกะ เหตุผล และการวิเคราะห์ตีความของผู้คนที่มากกว่าศิลปินควบคุมเพียงคนเดียว  งานศิลปะจึงเป็นสิ่งที่สื่อสารกับสังคมตลอดเวลา เมื่อถูกจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะ

Workshop 5 : ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทักษะการถ่ายทำ ตัดต่อวิดีโอเบื้องต้น + ทักษะการเขียน

workshop ครั้งที่ 5 (กิจกรรมเสริมทักษะ ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง) “พวกเราอยากให้เพื่อนๆ สอนทักษะ หรือแลกเปลี่ยนความรู้อะไรกันบ้าง” หลังจากจบ workshop เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเราได้สอบถามเพื่อนๆสมาชิกกันว่าอยากเรียนรู้ทักษะอะไรเพิ่มเติม จนได้คำตอบร่วมกันว่า พวกเราอยากเรียนรู้ทักษะการตัดต่อวิดีโอเบื้องต้น และ ทักษะการเขียนบทความ ซึ่งวิทยากรไม่ใช่ใครที่ไหนไกล นั่นก็คือเพื่อนๆสมาชิกรุ่นที่ 4 ด้วยกันเองนี่แหละที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เพื่อนๆ โดยการจัด workshop เล็กๆขึ้นมา นำโดยฟลุ๊คกี๋ และพิม

workshop 4 : ฝึกคิดเชิงวิพากษ์กับ เครื่องมือ problem tree

นอกจากการหาแรงบันดาลใจ ผ่านการสำรวจเรียนรู้คนรอบข้างด้วยการใช้ “ผัสสะ” ที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือการรับสาร “คิดเชิงวิพากษ์” โดยทีม “คิด space” ได้นำเอาเครื่องมือที่เรียกว่า “problem tree” เป็นกระบวนการฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหา องค์ประกอบที่ทำให้เกิดปัญหา ผลกระทบ และหนทางการแก้ปัญหา  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้พวกเราได้ลองคิด ลองตั้งคำถาม และหาคำตอบ จากประเด็นปัญหาที่เราพบเจอและเป็นเรื่องใกล้ตัว หยิบยกเรื่องง่ายๆ มาลองวิเคราะห์หาที่มาที่ไปของปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาหมาแมวจรจัดในมหาลัย, ปัญหานักศึกษาจบใหม่,

workshop 3 : มองประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานออกแบบ และงานศิลปะ pop culture

workshop ครั้งที่ 3 มาพร้อมกับคำถาม ทั้งจากวิทยากรที่โยนคำถาม สลับไปมากับเหล่าสมาชิกให้ได้ฝึกคิด ทำไมเราต้องใช้ศิลปะในการสื่อสาร ? สิ่งที่แสดงออกในม็อบเป็นศิลปะหรือไม่? ทำไมงานศิลปะบางชิ้นถึงเป็นที่จดจำในเวลาชั่วข้ามคืน? พวกเราชาว Human ร้าย เปิดห้องเรียนในวันนี้ด้วยคำถามในประเด็นศิลปะและบรรยากาศม็อบการเมืองอันเผ็ดร้อนในช่วงที่ผ่านมาไปกับวิทยากรผู้เป็นทั้งผู้เฝ้าสังเกตการณ์และผู้ผลิตผลงานศิลปะในการแสดงออกทางการเมือง “คุณ วีร์ วีรพร” ที่ชวนพวกเรา ชาว Human ร้าย มาสำรวจเส้นทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานออกแบบ และงานศิลปะ pop culture ที่มาพร้อมกันความสนุกสนาน

Workshop 2 : ผัสสะการรับรู้ทางสายตา

เวิร์คช็อปครั้งนี้ สมาชิก  Human ร้าย 4 ได้ลงพื้นที่ยาวนานตลอดสองวันเต็ม เพื่อที่จะฝึกผัสสะทางสายตาและกระบวนการฝึกคิดหามุมมองในการสื่อสารผ่านภาพถ่าย โดย คุณธีรพงษ์ สีทาโส  หนึ่งในสมาชิกช่างภาพจากกลุ่ม Realframe ร่วมกับ อ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ​ ที่มาช่วยเสริมเนื้อหา และชี้ให้เห็นประเด็นข้อค้นพบจากการถ่ายภาพทางมานุษยวิทยา และการตั้งคำถามต่อความจริงที่ถูกนำเสนอบนงานศิลปะภาพถ่าย กิจกรรมเริ่มต้นของพวกเรา ไม่ใช่การเรียนรู้เทคนิกการใช้กล้อง แต่คือการสลับสับเปลี่ยนกันตั้งคำถาม กับกระบวนการการถ่ายภาพผู้คน คำถามแรกที่เราเริ่มต้นก่อนเรียนรู้การจับกล้องและเดินสำรวจ คือใกล้แค่ไหนถึงเรียกว่าใกล้ ในมิติของงานภาพถ่ายมานุษยวิทยา

Workshop 1 : เรียนรู้ความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้

workshop ครั้งที่ 1   Human ร้าย Human Wrong 4 ปีนี้เราได้พบกับสมาชิกในปีนี้มีทักษะความสามารถ และสถาบันการศึกษา เช่น สถาปัตยกรรม มนุษย์ศาสตร์ การสื่อสารมวลชน ครั้งแรกในวันที่ 16 – 18 พฤศจิกายน 2020 กับกิจกรรมปฐมนิเทศ เป็นเวลา 2 วัน 2