ตอบคำถามเกี่ยวกับ โครงการ Humanร้าย 2024

ตอบคำถาม เกี่ยวกับ Human ร้าย Human Wrong

Q: Human ร้าย Human Wrong คืออะไร

A :Human ร้าย, Human Wrong Workshop เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2017 เป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ และเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ที่ผสมผสานศาสตร์ศิลปะร่วมสมัย และการคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อทำความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวันอย่างเป็นเหตุเป็นผลจากวิทยากร และผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นทางสังคมศาสตร์ มนุษยวิทยา ศิลปะร่วมสมัย ที่จะดึงเอาศักยภาพในตัวสมาชิกทุกคนออกมา ซึ่งในท้ายโครงการสมาชิก Human ร้าย จะได้นำเสนอประเด็นที่ตนเองสนใจถ่ายทอดออกมาเป็นงานสร้างสรรค์ตามทักษะที่แต่ละคนมีในพื้นที่สาธารณะ 

ในปีนี้เรามากันในหัวข้อ “Youth matters” เพราะเราเชื่อว่าวัยรุ่น คนรุ่นใหม่มีหลากหลายเรื่องราวที่ “สำคัญ” แต่ต้องการ พื้นที่ เครื่องมือ และไอเดียในการสื่อสารให้ทุกคนได้เห็น และเข้าใจว่านี่แหละคือเรื่องสำคัญของยุคสมัย ที่ต้องใช้พลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่สื่อสารมันออกมา 

Q:ไม่มีทักษะด้านศิลปะสมัครได้มั้ย

A: ศิลปะไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับเรื่องการวาดภาพ วาดเขียน ความสวยงามตามขนบ เพราะที่โครงการ Human ร้าย Human Wrong เรามองว่า ศิลปะเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารหนึ่งที่สามารถลองผิดลองถูก และสร้างการเรียนรู้ ตั้งคำถามต่อประเด็นที่เราอยากสื่อสารได้ 

โครงการ Human ร้ายฯ ใช้กระบวนการที่จะดึงเอาทักษะ ความถนัด และความสนใจของสมาชิกมาใช้เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน เพียงแค่คุณมีเนื้อหา หรือสารที่อยากสื่อสารเป็นที่ตั้ง และมาฝึก มาลองผิด ลองถูก ไปกับเรา เรามีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำตลอดทั้งโครงการ

ตัวอย่างงานที่ผ่าน

A: ตัวอย่างงานที่ผ่านของเพื่อนๆ Humanร้าย แต่ละรุ่น ที่ไม่ได้จำกัดกรอบตัวเองอยู่เพียงคำว่า “‘งานศิลปะ” แต่พวกเขาได้ใช้ทักษะ และความถนัดเฉพาะตัว มาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะในแบบฉบับที่แตกต่าง และสดใหม่

Homo song (LBX1), ‘จริงจัง’ Human ร้าย 3

‘จริงจัง’ เรียนคณะวิทยาศาสตร์ ใช้ความถนัดและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ทำงานศิลปะเป็นเพลงที่มาจากรหัส DNA

กล่อง Ready to go, ‘ฝน’ Humanร้าย 3

ไม่เคยทำงานศิลปะ แต่ใช้ประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็กไร้สัญชาติมาสื่อสารประเด็นนี้ผ่านงานตัดกระดาษ

ผีเสื้อราตรีผู้ขับขี่(เคลื่อน)ความปรารถนา , ‘ป๊อปปี้’ Human ร้าย 4

นำเอาข้อมูลภาคสนามประเด็น “สก๊อยซ์” มาถ่ายทอดเป็นวิดีโอสอนเต้น เพื่อบอกเล่าตัวตนของกลุ่มนี้

“กลัวไม่เปลี่ยน” | “The fear is here to stay.”, ‘กลอย’ Human ร้าย 4

 

ผู้ไม่เคยทำงานสารคดีและไม่เคยแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ แต่เธอรวบรวมความกล้าสร้างสารคดีเรื่องแรกขี้น และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเธอ

ทีมนี้ไม่ได้ทำชิ้นงานศิลปะ แต่ “SYNC space” ทำงานแคมเปญที่ชวนทุกคนส่งเสียงให้รู้ว่า ชาวเชียงใหม่ ต.สุเทพ ต้องการพื้นที่สาธารณะที่คนทำงานสร้างสรรค์เข้าถึงง่าย

ด้วยทรัพยากรความรู้ด้านงานสร้างสรรค์ในเชียงใหม่และพื้นที่ที่เข้าถึงยากและแทบไม่มี ศิลปินนักสร้างสรรค์มือใหม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการใช้พื้นที่เพื่อปล่อยของ สมาชิก Humanร้ายเฉพาะกิจ จึงรวมตัวกันสร้างพื้นที่เฉพาะกิจเรียกร้อง และปล่อยของที่เสียดสีล้อเลียนไปกับข้อจำกัดด้านความสร้างสรรค์ในนาม “Fluffy force” หรือชาวพลังนุ่ม

Q:อายุอยู่ในช่วง 18-25 ปี แต่ไม่ได้เป็นนักศึกษาแล้ว หรือเรียนจบแล้วสมัครได้มั้ย

สมัครได้ หากคุณคือคนที่สนใจมีในประเด็นสังคม สิทธิมนุษยชน รวมถึงปรากฏการณ์รอบตัวที่คุณเห็นว่าสำคัญจนอยากสื่อสารให้สาธารณะรับรู้ มีความอยากเรียนรู้ และกำลังมองหาประสบการณ์การทำงานด้านการสื่อสารผ่านงานศิลปะ และการออกแบบสื่อสารรูปแบบใหม่ 

ไม่จำกัดคณะ สาขา หรือสถาบันการศึกษา หากคุณยังมีไฟ มีแรงทำงานสร้างสรรค์ ลองเรียนรู้สิ่งใหม่ไปด้วยกัน

Q: Workshop อะไรบ้าง

A: หัวข้อการเรียนรู้  4 workshop ออกแบบโดยโครงการ Human ร้ายฯ

  1. Human Rights / Critical Thinking
  2. Design Thinking วางแผน จัดระบบคิดไอเดียสร้างสรรค์
  3. Workshop การสื่อสาร และการสร้าง story telling
  4. การลงพื้นที่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากกิจกรรม หรือประสบการณ์จริงWorkshop ตามความสนใจของสมาชิกโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเสนอหรือออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ได้สิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เข้าร่วมเอง

Q:ระยะเวลาโครงการนานมาก จะไหวมั้ยนะ

A:  โครงการ Human ร้าย Human Wrong เราให้ความสำคัญกับความยั่งยืนขององค์ความรู้ และกิจกรรมการฝึกอบรมที่สมาชิกจะได้รับ เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเราจึงกำหนดตารางเวลาการเรียนรู้ที่มีหลากหลาย/เนื้อหาเข้มข้น ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนเวลาเรียนและเวลาพักของสมาชิกในการร่วมกิจกรรมให้เหมาะสม ไหวและสนุกแน่นอน

phase 1 : Workshop  5 ครั้ง 

ใช้เวลาช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ (ช่วงเดือน พฤษจิกายน – ธันวา 2567)

phase 2 : ผลิตผลงานสร้างสรรค์ และปรึกษางาน

สมาชิกออกแบบเวลาการทำงานด้วยตัวเอง ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ 

(ช่วงเดือน ธันวา 2567- มกราคม 2568)

phase 3 : จัดแสดงงานนิทรรศการ Human ร้าย 7 

นำเสนอผลงานกับทีม และแสดงนิทรรศการท้ายโครงการ Human ร้าย 7

จัดแสดงที่แกลเลอรี่ในตัวเมืองเชียงใหม่  2-3 สัปดาห์ (ช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568)

**ปรับเปลี่ยนเวลาตามความเหมาะสมร่วมกัน

Q : ได้อะไรจาก Human ร้าย Human Wrong

A: ก่อนอื่นขอแนะนำที่มาของ Human ร้าย Human Wrong เป็นโครงการในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้ลองผิดลองถูก ลองคิด ถกเถียง ตั้งคำถาม เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งเรามี

สมาชิกโครงการ Human ร้ายฯ ตั้งแต่ปี 2017
50 คน
ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยสมาชิก Human ร้าย ตั้งแต่ปี 2017-2019
20 ผลงาน
งานแคมเปญโดยสมาชิก Human ร้าย ตั้งแต่ปี 2020
0 ทีม
มีนิทรรศการจัดแสดงผลงานภาย ใต้โครงการ Human ร้าย Human Wrong
0 ครั้ง

A : ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมาชิกหลายคนจากโครงการฯ ได้นำเอาทักษะ ความสามารถ และผลงานของพวกเขาต่อยอดโอกาส และก้าวไปสู่การทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยตัวเองอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การร่วมจัดแสดงงานศิลปะกับเทศกาลศิลปะอื่นๆ  
  • การทำงานร่วมกับกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ 
  • เดินทางไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ต่างประเทศ ที่ไต้หวัน 

สมัคร Human ร้าย Human Wrong 7

หากคุณต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ และทดลองทำงานสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสียงเรื่อง “สำคัญ” แห่งยุคสมัยของคุณให้ทุกคนได้รู้

มาสมัครร่วมโครงการกับเราและพัฒนาศักยภาพไปด้วยกัน

ช่องทางติดต่อโครงการ Human ร้าย Human Wrong

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ? 

Kenduri Seni Patani 2024 เทศกาลศิลปะเชื่อมประเด็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม – การเมือง – และชุมชนหลากหลายภูมิภาคมาจัดแสดงในปัตตานี

เทศกาลศิลปะนานาชาติ Kenduri Seni Patani 2024  : ภายใต้แนวคิด “ก่อนอุบัติ และหลังสลาย” ส่วนหนึ่งจากแถลงการณ์ภัณฑารักษ์ ” เทศกาลศลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ภายใต้แนวคิด “Before birth and