The Last Breath of Sam yan – สารคดีที่นิสิต/นักศึกษาทั่วประเทศควรดู
วันนี้มารีวิวและชวนดูสารคดี The Last Breath of Samyan
ใจความของรีวิวนี้คือ… สารคดีดังกล่าวจะช่วยเปิดประตูให้คุณเริ่มเข้าใจบริบทของ “ ทุกมหาวิทยาลัย ” ในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของอุดมการณ์ “ เสรีนิยมใหม่ ” อย่างเข้มข้น ด้วยความแนบเนียน ท้าทายพันธกิจและบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา ซึ่งสร้างความขัดแย้งในตัวเองที่ต้องจัดการตนเองในฐานะ “ นายทุน ” บนบทบาทของ “ สถาบันการศึกษา ” ท่ามกลางการเบียดขับผู้คนตัวเล็กมากมายให้ต้องตกระกำลำบากในรูปแบบต่าง ๆ บนความชอบธรรมทั้งทางศีลธรรม กฎหมาย และการช่วงชิงสถานะความเป็นผู้มีอารยะหรือเป็นปัญญาชนจากการศึกษาในระดับที่เหนือกว่าคนอื่น
.
ย้อนไปในปี 2020 (ประมาณ 3 ปีที่แล้ว) ช่วงที่เกิดกระแสความตื่นตัวของสังคมไทย โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่
หากเราจำได้.. กระแสหนึ่งที่โด่งดังใน Twitter ซึ่งเป็นที่จับตามองมาก ๆ คือแฮชแท็ก #Saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งมีที่มาจากการที่คุณเพ็ญประภา พลอยสีสวย (คุณนก) ผู้ดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ใต้ความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในชุมชนสามย่าน ได้รับการติดต่อจากสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) เพื่อแจ้งเงื่อนไขสำคัญคือ… หากคุณนกไม่ยอมย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมออกจากที่ตั้งเดิม จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายอย่างต่ำ 120 ล้านบาท (โดยอ้างว่าเป็นค่าเสียหายจากการเสียโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ทำกำไร) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาสารคดีเรื่องนี้
.
ใจความของรีวิวนี้คือ… สารคดีดังกล่าวจะช่วยเปิดประตูให้คุณเริ่มเข้าใจบริบทของ “ ทุกมหาวิทยาลัย ” ในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของอุดมการณ์ “ เสรีนิยมใหม่ ” อย่างเข้มข้น ด้วยความแนบเนียน ท้าทายพันธกิจและบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา ซึ่งสร้างความขัดแย้งในตัวเองที่ต้องจัดการตนเองในฐานะ “ นายทุน ” บนบทบาทของ “ สถาบันการศึกษา ” ท่ามกลางการเบียดขับผู้คนตัวเล็กมากมายให้ต้องตกระกำลำบากในรูปแบบต่าง ๆ บนความชอบธรรมทั้งทางศีลธรรม กฎหมาย และการช่วงชิงสถานะความเป็นผู้มีอารยะหรือเป็นปัญญาชนจากการศึกษาในระดับที่เหนือกว่าคนอื่น
.
ย้อนไปในปี 2020 (ประมาณ 3 ปีที่แล้ว) ช่วงที่เกิดกระแสความตื่นตัวของสังคมไทย โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่
หากเราจำได้.. กระแสหนึ่งที่โด่งดังใน Twitter ซึ่งเป็นที่จับตามองมาก ๆ คือแฮชแท็ก #Saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งมีที่มาจากการที่คุณเพ็ญประภา พลอยสีสวย (คุณนก) ผู้ดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ใต้ความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในชุมชนสามย่าน ได้รับการติดต่อจากสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) เพื่อแจ้งเงื่อนไขสำคัญคือ… หากคุณนกไม่ยอมย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมออกจากที่ตั้งเดิม จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายอย่างต่ำ 120 ล้านบาท (โดยอ้างว่าเป็นค่าเสียหายจากการเสียโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ทำกำไร) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาสารคดีเรื่องนี้
.
สารคดีเรื่องนี้จะพาคุณไปติดตามกลุ่มนิสิตจุฬา ฯ ที่เข้าไปคลุกคลีอยู่กับการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเคยเคลื่อนไหวด้วยหลากหลายวิธีการ ทั้งเข้าไปยื่นเอกสารตามระบบเยี่ยง “ เด็กดี ” ติดป้ายคัดค้านการรื้อศาลเจ้าแม่ทับทิม เข้าไปร่วมเป็นกรรมการบริหารศาลเจ้าแม่ ฯ การเข้าไปจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับลมหายใจของผู้คนในพื้นที่ ฯลฯ
สารคดีเรื่องนี้จะพาคุณไปติดตามกลุ่มนิสิตจุฬา ฯ ที่เข้าไปคลุกคลีอยู่กับการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเคยเคลื่อนไหวด้วยหลากหลายวิธีการ ทั้งเข้าไปยื่นเอกสารตามระบบเยี่ยง “ เด็กดี ” ติดป้ายคัดค้านการรื้อศาลเจ้าแม่ทับทิม เข้าไปร่วมเป็นกรรมการบริหารศาลเจ้าแม่ ฯ การเข้าไปจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับลมหายใจของผู้คนในพื้นที่ ฯลฯ โดยเริ่มจากการนำเสนอภาพ/เสียงจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเกิดความพยายามของจุฬา ฯ ในการจะย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมจากที่เดิมไปสู่สิ่งปลูกสร้างใหม่ที่ตนเองอ้างว่าได้สร้างให้เหมือนของเดิมทุกประการ ทั้ง ๆ ที่คุณนก กลุ่มนิสิต และกรรมการบริหารศาลเจ้า ฯ ยังคงไม่ยินยอมจะให้ย้ายองค์เจ้าแม่ ฯ ของจริงไปยังที่แห่งใหม่ด้วยซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ของความดันทุรังในการจะสร้างพิธีกรรม (เทียม) ในการย้ายองค์เจ้าแม่จำลองเข้าไปยังสิ่งปลูกสร้างที่อ้างว่าเป็นศาลเจ้าแม่แห่งใหม่ใหม่แบบมั่ว ๆ นั้นก็แสดงให้เห็นว่า… ผู้มีอำนาจอาจไม่ได้สนใจความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรม และลมหายใจของผู้คนที่ยึดโยงกับศาลเจ้าแม่ ฯ ทั้งในเชิงพิธีกรรม งานศิลปะ หรืออารมณ์ความรู้สึกมากเท่ากันกับการสร้างกองปูน (สิ่งปลูกสร้างคล้ายศาลเจ้า ฯ ใหม่) เพื่อความชอบธรรมของตนเองในการดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากคุณนก หรือการเวนคืนที่ดินไป “ พัฒนาพื้นที่ ” สำหรับการรีดเอาผลกำไรสูงสุดสักเท่าไร
.
สิ่งหนึ่งที่น่าตลกคือ ทั้งที่พิธีกรรมการย้ายเจ้าแม่ ฯ เข้าศาลเจ้า ฯ แห่งใหม่ถูกจัดขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมดังที่ได้กล่าว แต่เมื่อนิสิตที่นัดกันเฝ้าศาลเจ้าแม่ ฯ แห่งเดิมไม่ให้ถูกทุบ.. เดินทางมาชูป้ายต่อต้าน “ การรื้อศาลเจ้าแม่แห่งเดิมแบบ No สน No แคร์ ” แถมยังขอเข้าไปร่วมสังเกตในพิธีการย้ายเข้า ฯ ดังกล่าว ภายในสิ่งปลูกสร้างแห่งใหม่ กลับมีความพยายามของเจ้าหน้าที่ (ที่ไม่กล้าตอบว่าตนเองเป็นใคร หรือทำงานอยู่ภายใต้สังกัดองค์กรใดของจุฬา ฯ กันแน่… มีเพียงการอ้างว่าได้รับคำสั่งมา) ในการห้ามชูป้ายและผลักนิสิตออกจากสิ่งปลูกสร้าง ทั้งที่นิสิตกลุ่มนี้เป็นทั้งผู้ที่จุฬา ฯ (ซึ่งต้องสร้างความชอบธรรมให้ตนเองสำหรับการย้ายศาลเจ้า ฯ มาที่แห่งใหม่) ควรจะต้องเจรจาในฐานะผู้มีส่วนเสียผลประโยชน์จากการไล่ที่ศาลเจ้าเดิม เพราะมีทั้งกรรมการบริหารศาลเจ้าและกลุ่มนักศึกษาที่มีศาลเจ้าแม่ ฯ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และยังเป็น “ นิสิต ” ซึ่งสร้างความชอบธรรมในสถานะสถานศึกษาของตัวจุฬา ฯ เองอีกด้วย เราจะเห็นได้ชัดว่า… สิ่งนี้คือความพยายามใช้อำนาจและเครื่องมือหรือกลไกสารพัดที่ผู้มีอำนาจกุมเอาไว้มาจัดการกับความขัดแย้งทางชนชั้น โดยปล่อยให้คนตัวเล็ก (ซึ่งอาจไม่ได้รับรู้ถึงหลักคิดของผู้สั่งการที่แท้จริง และไม่ได้มีเจตนาในการจะมาสร้างความขัดแย้งกับผู้คนด้วยซ้ำไป) ต้องมาเผชิญหน้ากับสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ได้มีอำนาจที่เป็นทางการจะมารับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ขนาดนั้น
.
นอกจากนี้ ทีมสร้างสารคดีเรื่องนี้ยังได้มีการไปตามถ่ายความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวกรณีดังกล่าว ได้แก่ นิสิต ชาวบ้านในชุมชนสามย่าน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อเสนอที่ถูกนำเสนอผ่านกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่เพียงแต่พูดถึงประเด็นศาลเจ้าแม่ทับทิม แต่ยังพาให้เราตั้งแง่ต่อโครงสร้างอำนาจและบริบทของมหาวิทยาลัยในภาพรวมอีกด้วย ความคิดเห็นเหล่านี้ถูกนำเสนอควบคู่ไปกับแผนการพัฒนาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถูกนำเสนอออกมาผ่านช่องทางต่าง ๆ ด้วยอำนาจของการสื่อสารที่ทางมหาวิทยาลัยมีอย่างเต็มที่ แม้จะไม่มีบทสัมภาษณ์ต่อผู้บริหารจุฬา ฯ โดยตรงก็ตาม การนำเสนอในรูปแบบดังกล่าวนั้นสามารถทำให้เราเห็นความย้อนแย้ง และน่าตลกขบขันภายในตนเองของบริบททางสังคมของมหาวิทยาลัย และหลักคิดในการแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น (Gentrification) เพื่อผลกำไรได้อย่างดี เช่น การที่นักศึกษาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าจะไม่สนใจวัฒนธรรมของชุมชนกลับเป็นผู้มาปกป้องมัน ในขณะที่ผู้ใหญ่พยายามจะรื้อถอนศาลเจ้าแม่ ฯ อย่างไม่คำนึงถึงคุณค่าทางสังคมเป็นสำคัญ
.
หลังดูสารคดีเรื่องนี้และฟังการเสวนาจบ (เรามีโอกาสได้ไปดูสารคดีเรื่องนี้ที่ Doc Club & Pub ในวันที่ 25 มิถุนายน 2023 ซึ่งมีการปิดท้ายการชมสารคดีด้วยการเสวนาของผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 คน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย สถาปนิกและอดีตอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ, และเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล โปรดิวเซอร์) เราอยากจะสรุปประเด็นข้อเสนอหลัก ๆ ที่สารคดีเรื่องนี้ช่วยทำให้เราเห็นดังนี้…
.
.
หลังดูสารคดีเรื่องนี้และฟังการเสวนาจบ (เรามีโอกาสได้ไปดูสารคดีเรื่องนี้ที่ Doc Club & Pub ในวันที่ 25 มิถุนายน 2023 ซึ่งมีการปิดท้ายการชมสารคดีด้วยการเสวนาของผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 คน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย สถาปนิกและอดีตอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ, และเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล โปรดิวเซอร์) เราอยากจะสรุปประเด็นข้อเสนอหลัก ๆ ที่สารคดีเรื่องนี้ช่วยทำให้เราเห็นดังนี้…
.
...ดังที่เราเห็นในสารคดีเรื่องนี้ (การนำที่ดินในความครอบครองของตนเองมาปรับปรุงให้เป็นอาคารปลูกสร้างที่ “ ดูเหมือน ” ทันสมัย และเหมาะสมแก่การเข้ามาของนักลงทุน หรือพวก “ ชนชั้นสร้างสรรค์ ” เพื่อสร้างกำไรให้มากที่สุดด้วยความเชื่อว่ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการพัฒนาพื้นที่มากกว่าคนอื่น) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในมหาวิทยาลัยกระแสหลัก ท่ามกลางกระแสอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ของโลกปัจจุบันตลอดช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา บนความเชื่อที่ว่า “ ไม่มีทางเลือกอื่นใด ” ....
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นพัฒนาพื้นที่บนหลักคิดของการแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น (Gentrification) ดังที่เราเห็นในสารคดีเรื่องนี้ (การนำที่ดินในความครอบครองของตนเองมาปรับปรุงให้เป็นอาคารปลูกสร้างที่ “ ดูเหมือน ” ทันสมัย และเหมาะสมแก่การเข้ามาของนักลงทุน หรือพวก “ ชนชั้นสร้างสรรค์ ” เพื่อสร้างกำไรให้มากที่สุดด้วยความเชื่อว่ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการพัฒนาพื้นที่มากกว่าคนอื่น) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในมหาวิทยาลัยกระแสหลัก ท่ามกลางกระแสอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ของโลกปัจจุบันตลอดช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา บนความเชื่อที่ว่า “ ไม่มีทางเลือกอื่นใด ” นอกเหนือไปจากการพยายามหล่อเลี้ยงตัวเองผ่านการดำรงสถานะนายทุนในฐานะ “ เอกชน ” ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำ “ กำไร ” เพื่อนำมาสร้างชุมชนอุดมปัญญา (Intellectual community) ที่จะคอยชี้นำสังคมในฐานะแสงสว่างทางปัญญาที่นำพาสังคมไปในทางที่ก้าวหน้า อันเป็นพันธกิจที่สำคัญสูงสุดของสถาบันการศึกษา ผ่านเครื่องมือสนับสนุนความชอบธรรมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย (ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ พรบ.ประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กฎหมายหมิ่นประมาท ฯลฯ) อำนาจทุน กลไกอำนาจรัฐ การเข้าถึงทรัพยากร ตลอดจนระบบคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งบริบทดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เฉพาะประชาคมของจุฬา ฯ เท่านั้นที่กำลังเผชิญอยู่ แต่เรียกได้ว่าแทบจะทุกมหาวิทยาลัยในไทยเลยทีเดียว
.
การพยายามแข่งขันของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในบริบทดังกล่าวนั้นถูกสะท้อนออกมาผ่านความสามารถในการจะพัฒนาตนเองบนดัชนีชี้วัดอันแข็งทื่อทั้งหลาย (เช่น การไต่เต้า Ranking อันดับมหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นเบื้องหน้าอันเป็นผลจากความสามารถในการจัดการกับทรัพย์สินของตัวเองให้รีดเอาทุนออกมาจากการทำกำไร โดยอ้างว่าจะนำมาพัฒนาเพื่อบรรลุพันธกิจของสถาบันการศึกษาต่อไป จึงส่งผลให้เกิดคำถามที่สำคัญต่อมหาวิทยาลัยทั้งโลกตามมาอย่างไม่หยุดหย่อน ก็คือ การหมกมุ่นอยู่กับตัวเลขไร้วิญญาณเหล่านี้ มันทำให้มหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงคุณค่าของพันธกิจในฐานะสถาบันการศึกษาได้จริง ๆ หรือไม่ ? เพราะข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญก็คือ… เมื่อเราพูดถึงพันธกิจของสถาบันการศึกษา ที่หมายถึงการเป็นแสงสว่างนำพาสังคมด้วยปัญญาแล้วล่ะก็ การจะบรรลุคุณค่าในตัวของมันไม่อาจถูกคิดคำนึงอย่างแยกขาดออกไปจากวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมได้ กล่าวโดยง่ายก็คือ พื้นที่แห่งการเรียนรู้และผลิตสร้างผลงานวิชาการให้บรรลุคุณค่านั้นไม่อาจบรรลุคุณค่าได้ทั้ง ๆ ที่เราผลักผู้คนในสังคมที่มีลมหายใจ มีชีวิตชีวา และอาศัยอยู่ร่วมกันจนเป็นประชาคมมหาวิทยาลัยออกไปผ่านการพัฒนาพื้นที่และทรัพย์สินเพื่อผลกำไรอย่างเต็มที่ได้ (ดังเช่นกรณีการไล่ที่ และเวนคืนที่ดินของชุมชนสามย่านเพื่อทำกำไร) มิเช่นนั้นแล้ว สถาบันการศึกษาก็เป็นแค่เศษตึกเศษปูนที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ เป็นพื้นที่ชั่วคราวที่นักศึกษาเข้ามาฟังบรรยาย เรียนภาคปฏิบัติ สอบวัดผล และกลับบ้าน/กลับหอไป โดยไม่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ไม่เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน และไม่อาจทำให้เกิดการนำวิชาการจากศาสตร์ต่าง ๆ ไปลงมือทำเพื่อให้สังคมมันพัฒนาไปข้างหน้าอย่างแท้จริง
.
จากคำถามที่มาจากความย้อนแย้งเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดข้อเสนอใหม่ที่สำคัญในโลกยุคใหม่ที่เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา และสถาบันในลักษณะอื่น ๆ คำนึงถึงสิ่งที่เรียกว่า “ Right to the city ” หรือสิทธิพลเมืองของผู้คนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์พึงมี เพื่อชะลอ และหยุดยั้งความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงตัวสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยเอง ที่เมื่อเราตั้งคำถามว่า… จากการที่จุฬามีแผนพัฒนาพื้นที่โดยเอาพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของจุฬา ฯ มาเวนคืนเพื่อรีดทำกำไรโดยผลักผู้คนในพื้นที่ออกไปเรื่อย ๆ ได้เนี่ยะ… จริง ๆ แล้วจุฬาเป็นของใคร ? แม้จุฬาประกาศออกนอกระบบมหาวิทยาลัยรัฐ ฯ เรายังสามารถเคลมความเป็นเอกชนของจุฬาอย่างเต็มที่ได้หรือไม่ ? ก็จะเกิดภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกทันที เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าจุฬา ฯ เป็นของนายกสภามหาวิทยาลัย/อธิการบดี/ผู้บริหารซึ่งเปลี่ยนเวียนวาระตามพรบ.มหาวิทยาลัยไปเรื่อย ๆ แม้แต่ชื่อบุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ไม่อาจหาได้ นอกจากนี้มันยังไม่สามารถดำรงอยู่โดยตัวของมันเองได้โดยปราศจากนิสิต/นักศึกษา/อาจารย์/และสมาชิกประชาคมอื่น ๆ (เพราะมันเป็นสถานศึกษาตั้งแต่แรก ซึ่งสร้างมาเพื่ออุดมคติของโลกวิชาการเพื่อมนุษยชาติ)
.
ดังนั้น… คำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดต่อทางเลือกในการพัฒนามหาวิทยาลัยในบริบทดังกล่าวที่เคยดูเหมือนจะก้าวหน้า โอ่อ่า และมีอารยธรรมนี้ก็คือ… “ เรากำลังเดินอยู่บนทางที่ควรจะเป็นแล้วหรือยัง ? ”
.
หรือมหาวิทยาลัยเป็นยังไง สังคมของเราก็กำลังเป็นแบบนั้นนั่นแหละ…?