Tag: การเมือง

เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่3]

งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019
ช่วงที่ 3 หัวข้อ “ชาติที่เราจะรักชาติที่เราจะรัก : ผ่านการมองประวัติศาสตร์ชาติจีน”
โดย อาจารย์วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่2]

งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019

ช่วงที่ 2 หัวข้อ “ชาตินิยมกับปรากฎการณ์ Brexit”
โดย อาจารย์ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่1]

งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019
ช่วงที่ 1 หัวข้อ “วิธีการบอก(ไม่)รักชาติบนtwitter” โดย อาจารย์พศุตม์ ลาศุขะ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ งานเปิดตัวหนังสือ ” AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ” พร้อมพูดคุยกับผู้เขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะมาเล่าเรื่องราว ที่มา และประเด็นเนื้อหาภายในเล่ม ชวนคุยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี จากสาขา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“สนามรบไร้น้ำตา” KACHIN : Forbidden Land

“สนามรบไร้น้ำตา” KACHIN : Forbidden Land โดย กรรณิกา เพชรแก้ว นักข่าวไทยที่เข้าถึงใจกลางพื้นที่เขตกบฎคะฉิ่นในพม่า เรื่องเล่าการต่อสู้ของเพื่อนบ้านคะฉิ่นที่มีมาอย่างยาวนาน หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1947 แม้ว่าพม่าต้องการรวบรวมชนกลุ่มน้อยต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน แต่ชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวในประเทศพม่าไม่ได้ยอมรับการอยู่ใต้อำนาจการปกครอง ซึ่งก่อให้เกิดจากปัญหาการต่อสู้ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับพม่ายาวนานมาตั้งแต่ปี 1950 หนึ่งในนั้นคือรัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบมาอย่างยาวนาน ทำให้ชาวคะฉิ่นในพื้นที่จำเป็นจะต้องหลบภัยสงคราม ก่อให้เกิดปัญหายืดเยื้อที่เป็นผลกระทบต่อประชากรคะฉิ่น เช่นการหลบหนีภัยสงคราม อาหารและยารักษาโรคที่มีไม่เพียงพอ

สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises?

สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises? เสวนาหัวข้อ “สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises?” ฟังการวิเคราะห์ความเป็นไปของอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงนานาประเทศ ร่วมเสวนาโดย อาจารย์สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์วรรณภา ลีระศิริ ที่ศึกษาเชียวชาญการเมืองอเมริกา

เมื่อโลกพลิกผัน : โปลานยีกับเสรีภาพในสังคมซับซ้อน

เมื่อโลกพลิกผัน : โปลานยีกับเสรีภาพในสังคมซับซ้อน โดย อ.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และ ผู้แปล คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ ชวนคุยโดย อ.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี “มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีสังคม โปลานยีเห็นว่าความเป็นสังคมมีความสำคัญมากกว่าความเป็นมนุษย์ ถ้าไม่มีสังคม มนุษย์ก็จะเปลือยเปล่าล่อนจ้อน..” — ภัควดี

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมีผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีครับทุกท่าน เรื่องที่พูดกันในวันนี้คือเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย เป็นเรื่องที่พูดกันได้มากมายหลายมิติ หลายแง่มุม

เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน

เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน โดย ธงชัย วินิจจะกูล  (ดำเนินรายการโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์)  บทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ค รี:พลับลิก วันที่ 17 ธันวาคม 2554ชื่อหัวข้อที่ใช้ในการบรรยายจริงคือ “เมื่อความจริง(และนิยาย)โดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” แต่เนื่องจากเอาเข้าจริงไม่ได้กล่าวถึงนิยายเลยแม้แต่น้อย ในที่นี้จึงขอปรับชื่อหัวข้อเสียใหม่ให้สอดตล้องกับเนื้อหา               เดิมทีผมตั้งหัวข้อไว้ว่าจะคุยสนุกๆ แต่เหตุการณ์ในสองเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมชักสนุกไม่ออก หากอาจจะมีคนอยากให้ผมพูดถึงเรื่องอากง พูดถึงเหตุการณ์เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามผมตั้งใจแต่แรกแล้วว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากสถานการณ์เฉพาะหน้าออกไปคิดเรื่องประวัติศาสตร์ทางความคิด เรื่องวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ผมถนัดมากกว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง ไปดูเรื่องประวัติศาสตร์ความคิดวัฒนธรรมไทย โดยจะอภิปรายถึงหนังสือสำคัญสักสองสามเล่ม ผมจะโยงให้เห็นประเด็นหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง 112 (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) แต่อยากดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย #2

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมีผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีครับ หัวข้อที่จะคุยในวันนี้ คือเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตย โดยผมจะพยายามอธิบายรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในมิติที่กว้างขึ้นมากกว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่