‘ทุนนิยมเจ้า‘ ทุนนิยมใต้ร่มบรมโภธิสมภาร
‘ทุนนิยมเจ้า‘ ทุนนิยมใต้ร่มบรมโภธิสมภาร
“…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”
ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ”
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative
Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510
ชวนอ่าน : หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนานอกกระแส และความเคลื่อนไหวในท้องถิ่นที่พวกเรา Book Re:public อยากนำเสนอกับหนังสือประวัติศาสตร์คู่ขนานกับบางมุมที่ถูกซ้อนไว้และเราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านมุมมอง ข้อโต้เถียงของคนท้องถิ่นกับข้อเท็จจริงที่รัฐไทยสร้าง สะท้อนถึงอำนาจรวมศูนย์ผ่านการเขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา : ความเคลื่อนไหวของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดย อานันท์ กาญจนพันธุ์ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูนโดย รัตนาพร เศรษฐกุล ทวนกระแสประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำวังโดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ปรินส์รอยฯ 131 ปี (พ.ศ. 2430-2561)โดย
Book Re:commendation] เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา เราดื่มสังสรรค์เมื่อสิ้นสุดวันทำงาน…เราดื่มเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ…เราดื่มเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา…เราดื่มเพื่อปลอบประโลมใจจากความทุกข์… ความเมามายไหลเวียนอยู่ในวิถีชีวิตมนุษย์มานับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน “เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา” จะพาคุณล่องกระแสน้ำเมาในแต่ละอารยธรรมทั่วโลก นับตั้งแต่งานเฉลิมฉลองในเทศกาลแห่งความเมาของชาวอียิปต์โบราณ ทะเลสาบเหล้าที่มอมเมาจักรพรรดิจีนจนสิ้นราชวงศ์ กระแสคลั่งจินกับโศกนาฏกรรมของชนชั้นล่างชาวอังกฤษ ไปจนถึงไวน์รสเลิศในงานเลี้ยงที่เผยด้านมืดของชาวโรมัน… หนังสือเล่มนี้จะพาคุณดื่มด่ำรสชาติของน้ำเมาในหลากหลายมิติ ทั้งรสหวานหอมในตำนานเรื่องเล่าแสนรื่นรมย์ รสขมเฝื่อนในฉากนองเลือดทางการเมืองอันเกิดจากความเมามาย รสล้ำลึกของความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างน้ำเมากับศาสนา หรือรสร้อนแรงยามดิ้นรนต่อสู้กับกฎหมายห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้ผสมผสานเป็นประวัติศาสตร์รสกลมกล่อม ไม่ต่างกับสุราเลิศรสที่มนุษยชาติหลงใหลใคร่ “เมา” มิเคยเสื่อมคลาย… เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุราโดย Mark Forsythแปลโดย
“สงวน โชติสุขรัตน์” นั้นเป็นนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ศึกษาและสนใจค้นคว้าความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ทั่วไปอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องราวในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทางภาคเหนือ ซึ่งในที่นี้เราอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาและนำเสนอความรู้นั้นออกมาเป็นงานในรูปของสารคดีที่ดีเด่นและน่าสนใจยิ่ง “ประวัติศาสตร์ถิ่นเหนือ กับเรื่องอื่นๆ” เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งคุณสงวน ได้เขียนและตีพิมพ์ลงเป็นชิ้นในนิตยสารและหนังสือพิมพ์มาก่อนก่อนจะถูกนำมารวมเล่มอีกครั้งในภายหลัง โดยหลักแล้วเรื่องราวที่ปรากฏเป็นเรื่องราว ทั้งประวัติศาสตร์และตำนานของทางภาคเหนือ ทั้งนี้ รวมไปถึงการวิเคราะห์เอกสารตำนานต่างๆ ที่ท่านได้สังเกตและศึกษามา…. ประวัติศาสตร์ถิ่นเหนือ กับเรื่องอื่นๆโดย สงวน โชติสุขรัตน์สำนักพิมพ์ศรีปัญญา
… งานวิชาการด้านฟิลิปปินส์ศึกษาในโลกวิชาการภาษาไทยที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่มักเดินตามตำราประวัติศาสตร์กระแสหลักของฟิลิปปินส์ บ้างก็ละเลยข้อถกเถียงในวงประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ กระทั่งไม่สนใจที่จะหยิบของงานประวัติศาสตร์แนววิพากษ์ของนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายมาพิจารณาว่างานเหล่านั้นกำลังนำเสนอข้อถกเถียงหรือคำอธิบายประการใด บางคนอาจไม่ทันได้ตระหนักด้วยซ้ำว่างานต่างๆ ที่ตัวเองหยิบมาใช้นั้นดำเนินอยู่ในแนวทางอันแตกต่างชนิดอยู่ร่วมโลกกันได้ยากและกำลังห้ำหั่นกันอยู่ “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม” เป็นหนังสือที่ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นข้อถกเถียงของเหล่านักประวัติศาสตร์ฟิลีปีโนที่พยายามก้าวให้พ้นจากประวัติศาสตร์แบบเส้นตรงและสถาปนาความทรงจำร่วมของชาติขึ้นมาใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเผยให้เห็นถึงการขับเคี่ยวต่อสู้กันในวิถีการครอบงำและการผลิตสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ชาติให้กับพลเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหมุดหมายสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติ อย่างน้อยก็ต่อชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้….. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคมโดย สิริฉัตร รักการสำนักพิมพ์ Illuminations Editions
การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองในอดีต ถ้าไม่ศึกษาเรื่องของสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ก็มักจะศึกษาศูนย์กลางของอาณาจักรต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างไร แต่การศึกษาในหนังสือเล่มนี้นั้นสนใจการเติบโตและการเสื่อมถอย และโอกาสแห่งการพลิกฟื้นของเมืองที่เต็มไปด้วยพลวัตรของความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่กับความสะมพันธ์ของอำนาจนอกพื้นที่ และบ่อยครั้งการเปลี่ยนแปลงทิศทางจากการพัฒนาในระดับชาติมีผลต่อความมั่งคั่งและเสื่อมถอยของพื้นที่อยู่ไม่น้อย…. “น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่” นับเป็นชีวประวัติเมือง (urban biography) ที่เต็มไปด้วยสีสัน และทำให้คำว่าสถานที่ (place) นั้นไม่ติดกับวัตถุหรือสถาปัตยกรรมชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่คือพลวัตรของพื้นที่ ชุมชน และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในพื้นที่ เช่น เทศาภิบาล จังหวัด
ในอดีตที่ผ่านมา มีการศึกษาเกี่ยวกับ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือคณะผู้ก่อการ “กบฏบวรเดช” มาแล้วไม่น้อย แต่เป็นที่น่าสนใจว่า การให้ความหมายกลุ่ม “เลือดสีน้ำเงิน” เหล่านี้ ในบางกรณีเป็นการให้ความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง บางคราวมีผู้เสนอว่า คณะผู้ก่อการฯ เหล่านี้ พยายามต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ในอีกคราว งานเขียนทางประวัติศาสตร์บางชิ้นกลับทำให้ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” หรือพวก “น้ำเงินแท้” กลายเป็นพวก “ปฏิปักษ์ปฏิวัติ” ที่ต้องการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์… “เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง
ร้านหนังสืออิสระในเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการถกเถียงและแลกเปลี่ยนประเด็นทางสังคมและการเมือง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และแนวคิดสังคมประชาธิปไตย