Tag: ประวัติศาสตร์

[Book Re:commendation] การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สยามประสบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่อิทธิพลของชาติตะวันตกส่งผลให้ราชสำนักสยามเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ราชสำนักฝ่ายใน” ดินแดนหลังกำแพงสูงที่ถูกปิดกั้นด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎระเบียบที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน… ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นราชสำนักที่ปรากฏสีสัน เรื่องราว และบทบาทสตรีมากที่สุดสมัยหนึ่ง อันเนื่องมาจากยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการปกครองและอิทธิพลตะวันตก สตรีในราชสำนักที่นอกจากจะแสดงบทบาททั้งในฐานะภรรยาและมารดา จึงยังแสดงบทบาทของผู้นำในด้านสังคม วัฒนธรรม การตกเป็นเครื่องมือทางอำนาจ หรือแม้กระทั่งบทบาทผู้นำด้านการเมืองการปกครองอันเป็นเขตหวงห้ามของสตรีเสมอมา… “การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่

[Book Re:commendation] ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไทย: สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม

หากความตื่นใจทางวิชาการในงานของ “จิตร ภูมิศักดิ์”เรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ”เมื่อกึ่งศตวรรษก่อนนั้นยังคงฝังรากฝังรอยอยู่ วันนี้ อาจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา ได้ต่อรากนั้นให้งอกออกไปในชื่อ “สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม” ถ้านักสืบสมัยใหม่ไม่เคยละเลยแม้แต่ละอองไอจากรอยนิ้วมือ นักโบราณคดีไม่เคยเลยที่จะละเลยเศษภาชนะแตก นักดนตรีย่อมไม่ฟังข้ามเสียงเบี้ยวแม้แต่เสี้ยวโน้ต วิธีวิทยาแบบ Generative Anthropology ก็ไม่ยอมละเลยทุกอย่างที่เป็นผลมาจากการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ โดยไม่มองว่าสิ่งใดที่ฝั่งอยู่ในจิตใต้สำนึกเป็นเรื่องไร้ค่าทางวิชาการ “ด้ำ

[Book Re:commendation] ประวัติศาสตร์สำเหนียก

เผด็จการไม่เพียงจะควบคุมอำนาจทางการเมืองของประชาชน หากแต่ยังมุ่งเข้าไปควบคุมความทรงจำ ยึดพื้นที่ความทรงจำเดิม สร้างความรับรู้ใหม่ต่อเรื่องราวและผู้คน วางพิมพ์เขียวของการเขียนอดีต – สร้างประวัติศาสตร์เพื่อควบคุมกาลเวลาให้อยู่ในมือพวกเขาตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐมีอำนาจส่วนกลางเข้มแข็ง หรือต้องการจะสร้างความเข้มแข็งและเสถียรภาพ เพราะการเล่าและเขียนประวัติศาสตร์เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อเสริมสร้างอำนาจให้มั่นคง….. ในทางกลับกัน “ประวัติศาสตร์” เป็นอาวุธหนึ่งที่ถูกนำมาใช้วิพากษ์ เปิดโปง และชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของการกระทำในอดีตของผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ ทั้งที่เคยกุมอำนาจนั้น หรือยังคงอยู่ในอำนาจเสมอมา คัดง้างกับประวัติศาสตร์กระแสหลักด้วยประวัติศาสตร์อีกชุดหนึ่งจากมวลชน ในช่วงหลังมานี้การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อวิพากษ์ให้เห็นปัญหามีมากขึ้น ประวัติศาสตร์ไทยในมือนักประวัติศาสตร์ยุคหลัง จึงไม่ใช่การอวดโอ่มถึงมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไพศาลอันอุดมสมบูรณ์อีกต่อไป…. “ประวัติศาสตร์สำเหนียก” คือหนังสือรวมข้อเขียนที่จะพาคุณไปสอดส่องทำความเข้าใจยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเขียนประวัติศาสตร์ ความรู้สึกและสำนึกต่ออดีต ตลอดจนการหวนมาวิพากษ์บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ถูกจดจำเพียงแต่ในภาพของการถูกยกย่องสรรเสริญ เพื่อแสดงให้เห็นบทบาทและอำนาจของประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อสังคมการเมืองไทยในแวดวงต่างๆ…..