Tag: วรรณกรรม

‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative

เพราะรักและการปฏิวัติ จึงอ่านต่อ

Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510

[Book Re:commendation]เบสเมนต์ มูน

3 ตุลาคม ค.ศ. 2016, นักเขียนไทยวัยกลางคนชื่อปราบดา หยุ่น ได้รับข้อความประหลาดผ่านโทรศัพท์มือถือบงการให้เขาเดินทางไปยังตึกร้างในย่านเก่าของกรุงเทพฯ แม้ไม่เข้าใจอะไรนัก, และมีความเป็นไปได้ที่จะเสียสติเพราะความหดหู่ของบรรยากาศสังคม, เขายอมทำตามคำสั่งลึกลับนั้น. การสื่อสารปริศนาเกลี้ยกล่อมให้ปราบดาคิดว่ากการกระทำของเขาจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น. เรื่องเล่าที่ปราบดาได้ฟังในห้องของตึกร้างซับซ้อนพิสดารกว่าที่เขาจะสามารถจินตนาการเอง. มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต, ความรุนแรงและความสูญเสียระดับชาติที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบกว่าปีข้างหน้า, ไกลไปถึงความเป็นไปของสังคมไทยและโลกในปี ค.ศ. 2069, ยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวไกลถึงขั้นสร้าง “จิตสำนึกประดิษฐ์” ได้สำเร็จ. จิตสำนึกประดิษฐ์ส่วนหนึ่งตกเป็นเครื่องมือขององค์กรลับชื่อ “โววา” ซึ่งถูกตั้งขึ้นเพื่อรับใช้กลุ่มประเทศอำนาจนิยม, ทางการไทยก็ต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ค้นหาและกำจัดขบวนการใต้ดินที่กำลังเริ่มแพร่เชื้อกระด้างกระเดื่องด้วยข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม, พยายามรื้อฟื้นความทรงจำหมู่ในประวัติศาสตร์ที่ทางการได้ลบล้างไปเป็นเวลานาน.

[Book Re:commendation]ฟ้าบ่กั้น

“ลาว คำหอม” เคยกล่าวไว้อย่างเจียมตนเกี่ยวกับหนังสือรวมเรื่องสั้น ฟ้าบ่กั้น ของเขาไว้ในคำนำผู้เขียนฉบับภาษาสวีดิชว่า “ถ้าจะได้มีการพยายามจะจัดเข้าในหมวดหมู่วรรณกรรม หนังสือเล็กๆ เล่มนี้ก็คงจะมีฐานะเป็นได้เพียง ‘วรรณกรรมแห่งฤดูกาล’ ฤดูแห่งความยากไร้และคับแค้น ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ยาวนานมากของประเทศไทย” — ดูเหมือนว่าฤดูกาลที่ลาว คำหอม พูดไว้จะยาวนานเป็นพิเศษ เพราะจนวันนี้แม้จะล่วงเลยมากว่า 5 ทศวรรษนับแต่พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2501 แต่เรื่องราวใน ฟ้าบ่กั้น ยังดูเสมือนว่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ หรืออันที่จริงควรกล่าวว่าเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้กำลังดำเนินอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา ชื่อเสียงหน้าตาตัวละครอาจจะเปลี่ยนไป สถานที่และเหตุการณ์อาจจะแปลกตาไปจากเดิม

[Book Re:commendation] รวมเรื่องสั้น สะพานขาด

เปลวไฟแดงฉานมาถึงเมื่อคืนฟ้าค่ำ บวกกับลมที่โหมกระหน่ำ กองทัพไฟรุดหน้าอย่างรวดเร็วมุ่งตรงมายังนากว่าสิบไร่ ที่รวงทองยังส่ายโอนเอน ผมไม่มีวันลืมภาพหญิงชราตนหนึ่งซึ่งถลันออกมาจากบ้านไปอย่างบ้าคลั่ง ออกไปยืนเด่น กางมือหลา อยู่เบื้องหน้านาที่ยังเต็มรวงทอง แกหันหน้าเข้าเผชิญกับไฟทั้งกองทัพซึ่งรุกเข้ามาอย่างรวดเร็วพลางกรีดร้องเหมือนเสียสติ ภายในหมู่บ้านบังเกิดโกลาหลขึ้นยกใหญ่ ต่างหักกิ่งไม้ติดใบสดๆ ออกไปไล่ฟาดเปลวไฟซึ่งรุกเข้ามานั้น ทว่าด้วยลมที่กรรโชกแรง ต่อให้คนอีกหมู่บ้านวิ่งเข้ามาช่วย ไม่มีใครแน่ใจว่าจะหยุดมันได้หรือไม่————————จากเรื่อง สะพานขาด “สะพานขาด” รวมเรื่องสั้นชุดแรกของกนกพงษ์ สงสมพันธุ์ ที่ส่งผลสำคัญต่อวรรณกรรมไทยในสองสามทษวรรษที่ผ่านมา นำด้วย 2 เรื่องสั้นรางวัลช่อการะเกด “สะพานขาด” และ

[Book Re:commendation]ผู้หญิงสีฟ้า

โลกนี้หญิงชายเป็นผู้สร้าง แต่ว่าปัญหาอยู่ในการสร้างโลกของแต่ละคนช่างแตกต่างกันไปตามแต่วิธีการของส่วนตัว นี่อาจจะเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างสรรค์วรรณกรรมของคุณชมัยภร แสงกระจ่างก็เป็นได้ เพราะคุณชมัยภรมักบอกเสมอว่า “ไม่ชอบเขียนเรื่องแบบเดิม” ดังนั้นมิไยที่บรรณาธิการ นักอ่าน แฟนคลับ จะเรียกร้องว่า “เขียนเรื่องแบบนั้นอีกสิ” “อยากอ่านเรื่องแบบนี้” คุณชมัยภรมักจะตอบว่า “ก็เขียนไปแล้วนี่” … “ผู้หญิงสีฟ้า” เป็นนวนิยายที่เคยเขียนลงเป็นตอนในนิตยสารขวัญเรือน อ่านต้นเรื่องเหมือนจะเป็นเรื่องบู๊ เพราะนางเอกอยู่ในแวดวงสีดำ แต่ด้วยความเป็นนักเขียนแบบชมัยภร ในที่สุด ผู้หญิงสีฟ้า จึงกลับเป็นเรื่องชีวิต ที่ทำให้ผู้อ่านต้องกลับมามองตัวเองอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างครอบครัว