
โลกในทุกวันนี้ ใช้การสื่อสารด้วยภาพกันมากขึ้น เราจะสังเกตเห็นได้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรานั้นต้องพบเจอการสื่อสารด้วย “ภาพ” อยู่ตลอดเวลา การสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่ดึงดูดให้ผู้รับสารให้ความสนใจ และ ทำให้การทำความเข้าใจข้อมูลนั้นง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น เช่น ภาพวาดประกอบ ภาพถ่าย สัญลักษณ์รูปทรงง่ายๆ รอบตัวเรา ซึ่งถือได้ว่า สิ่งที่เราเห็นเป็นภาพ เป็นภาษาในการสื่อสารอีกชุดหนึ่งในเวลานี้ไปแล้ว
แล้วเราเคยสงสัยไหม ว่าทำไมเวลาเรามีภาพในหัวที่เราเข้าใจ แล้วเราต้องการจะสื่อสารภาพๆนั้น หรือข้อมูลนั้นๆ ให้คนอื่นเข้าใจ เขาจะเข้าใจตรงกับเราไหม ภาพที่เราคิด จะตรงกับที่เขาคิดด้วยหรือไม่ แล้วถ้าหากความเข้าใจในการสื่อสารคลาดเคลื่อน จะเกิดผลอย่างไร
คิด space นอกจากเราเห็นถึงความสำคัญในเรื่อง “การคิดเชิงวิพากษ์” แล้ว ยังมีกระบวนการอื่นๆอีกมากมายที่สามารถประยุกต์ให้เราจะสามารถจัดการระบบความคิดของเรา และภาพในหัวของเรา ให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือ “Visual Thinking”


กิจกรรมของพวกเราในขั้นตอนแรกเริ่ม เราจะชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมก้าวออกมาจากความคิดเดิม ที่ว่า” คนที่สามารถเรียนรู้ และทำกระบวนการ visual thinking ได้ดี คือคนที่เรียนศิลปะ หรือเป็นนักออกแบบ” แต่ในความจริงแล้วกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ “visual thinking” ของเรามีหัวใจหลักคือ การจัดการข้อมูล และความคิด ด้วยการใช้ “ภาพ” เป็นส่วนหนึ่งของการแปรงข้อมูลที่ยาก ซับซ้อน และยืดยาวจนเกินไป ให้มีความน่าสนใจและนำไปสื่อสารต่อได้ง่าย เช่น Visual Note , Infographic , Interactive Exhibition (นิทรรศการที่ผู้ชมมีส่วนร่วม) หรือตามเครื่องมือสื่อสารที่เราถนัด


รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการถกเถียง ดีเบตที่แทรกอยู่ในทุกกระบวนการ เราจะออกแบบให้เกมส์ที่เล่นได้มีบทสนทนา และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถแสดงความคิดเห็น ตรวจสอบ และนำไปปรับกระบวนการการทำ workshop

หรืออีกด้านหนึ่งนั้น การใช้กระบวนการ visual thinking เป็นหนึ่งในเครื่องมือการจัดการความคิด เพื่อการมองภาพรวมการทำงานได้ง่ายขึ้น เช่นการทำ Mood Baord

“Visual thinking” จึงคือหนึ่งในกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ของเรา ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ การทำงานของ “สมอง” ที่คิดเป็น “ภาพ” ผ่านบทเรียนที่จะฝึกให้ทุกคน “วิเคราะห์” หาเหตุและผลไปด้วยกัน นอกจากนี้ workshop visual thinking ของเราได้สอดแทรก กระบวนการตรวจสอบตรรกะ เหตุและผลของการแสดงความคิดเห็น การฝึกทักษะ อ่านและฟังจับประเด็น รวมทั้งทักษะ การแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เป็น “ภาพ” ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้ทดลองเล่น ทอดลองทำผ่านเกมส์ , แบบฝึกหัดที่นำเอาเครื่องมือศิลปะมาลองขีดเขียน และ เนื้อหาแนวคิดการนำภาพและการสร้างภาพสำหรับการสื่อสารแบบง่ายๆ เพื่อสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

พวกเราเชื่อว่ากระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ สามารถพัฒนาร่วมกับทักษะอื่นๆได้ รวมทั้งการนำเอาทักษะศิลปะมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่สนุก และสร้างสรรค์
สนใจร่วมออกแบบหลักสูตรการคิดเชิงวิพากษ์ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ