เป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐศาสตร์ ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ (body of knowledge) สาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ คือการแสวงหาหนทางที่จะเข้าใจถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการเมือง เพื่อจะคาดการณ์แนวโน้มของปรากฏการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ไปใช้หรือไม่ และมากเพียงใด เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม การที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจน จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นกระบวนการจำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้น ด้วยการชี้ให้เห็นระดับ ประเภท และทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวการณ์หนึ่ง อันจะทำให้เข้าใจได้ว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้น แะเกิดขึ้นอย่างไร ในความหมายอย่างกว้าง กระบวนการนี้ก็คือ การอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองนั่นเอง….
“การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์” เล่มนี้ มุ่งทบทวนและทำความเข้าใจรูปแบบ วิธีการการอธิบายและวิเคราะห์ทางการเมือง ปัญหาการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ รวมไปถึงผลกระทบต่อการศึกษาวิเคราะห์ทางการเมืองที่น่าสนใจยิ่ง
การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์
โดย อนุสรณ์ ลิ่มมณี
สำนักพิมพ์ศยาม