แนะนำหนังสือ : อ่านความทรงจำ ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์จากหนังสือ อ.นิธิ

แนะนำหนังสือ ที่ควรค่าแก่การอ่าน ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดยทีมงาน Book Re:public ปากไก่และใบเรือ “…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ”  หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนปะวัติศาสตร์ทุนนิยมไทยยุคแรก  ที่ศึกษาผ่านงานวรรณกรรม โดยหนังสืออธิบายการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ การเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่มุ่งเน้นอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคม ต้นรัตนโกสินทร์ ที่มีแรงผลักดันจากภายในเป็นสำคัญ  ด้วยองค์ประกอบสำคัญ เช่น แรงงาน, พ่อค้า,และชาวจีน รวมไปถึงจีนบางพวกที่แทรกซึมเข้าไปในระบบศักดินาและ ถูกกลืนเป็นชนชั้นสูงของไทย ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการศึกษางานวรรณกรรมในยุคนั้นด้วย การเมืองไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำไมต้องอ่าน กรุงธนบุรี | อ่านเล่นนี้ เพื่อเข้าใจ “เจ๊ก” หนังสือประวัติศาสตร์กษัตริย์ ที่ทำให้ผู้อ่านเห็นทัศนคติของ อ.นิธิที่มองพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่ทวยเทพ เป็นทั้งมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ความสง่างาม และยิ่งใหญ่ การมีตัวตนของพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่สามารถตัดขาดการเมือง และการมองเห็นความหลากหลายของวิถีชีวิตชนชาติจีน และคนอื่นๆ ในประวัติศาตร์ไทยไม่ได้เช่นกัน “…แม้ว่าในสมัยหลังความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อ “เจ๊ก” (ซึ่งใช้ในที่นี้เพื่อให้หมายุคงจีนและเชื้อสายจีนในเมืองไทย)ไม่สู้ดีนัก และทำให้ไม่อยากเห็นวีรบุรุษของชาติเป็น “เจ๊ก”…” ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน […]

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง Book Re:public จึงอยากชวนทุกคนทำความเข้าใจอำนาจที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องแบบ” “ระเบียบวินัย” มีความเป็นมาอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย, การทำงานของเครื่องแบบและกฎเกณฑ์ในสถานศึกษาควบคุมเนื้อตัวร่างกายและความคิดของคนในสังมอย่างฝังลึกยาวนานได้อย่างไร และเรื่องราว ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องปะทะกับอำนาจนิยมล้าหลังในสถานศึกษาที่ไม่สอดรับกับสังคมโลกที่หมุนไปข้างหน้าในหนังสือสามเล่มนี้ เลาะตะเข็บอำนาจประวัติศาสตร์การศึกษาไทย :ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการศึกษาในสังคมไทย จากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ การรัฐประหาร และระบบราชการ ตั้งแต่ พ.ศ.2490-2562 (On Thai-Education) โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เขียน “…ภายใต้ระบบและวัฒนธรรมของราชการที่มีลักษณะปกครองแบบแนวดิ่งเน้นทำตามคำสั่ง ควบคุมและจับผิด ทำให้การควบคุมพฤติกรรมและวินัยของนักเรียนกลายเป็นภารกิจสำคัญของโรงเรียนไปด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า การควบคุมเรือนร่างนักเรียนผ่านเครื่องแบบเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การควบคุมเรือนร่างและการละเมิดสิทธิ์เหนือร่างกายอื่นๆ โรงเรียนมีสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดในการดูแลชีวิตและความเป็นไปของนักเรียน ไม่มีองค์กรหรือกลไกลใดมาคานอำนาจ […]

‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative Wisdom Space   โดยมี ‘พรีเมียร์’ นาวินธิติ  ตัวแทนจากกลุ่ม SAAP 24:7 หนึ่งในสมาชิก Humanร้าย 5,  ‘ขวัญ’ ขนิษฐา ตัวแทนกลุ่ม SYNC space หนึ่งในสมาชิก Human ร้าย5  และ ‘เจ๋ง’ สิรศิลป์ ตัวแทนนักศึกษาสาขา Media art and Design มหาลัยเชียงใหม่  ในงานเสวนาจัดขึ้นจาก ความเห็นของ […]

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่ “เมื่อคนที่ถือไมโครโฟนมีเพียงคนเดียว ที่เหลือจึงถูกบังคับให้มีสถานภาพเป็นผู้ฟัง เมื่อนักแสดงบนเวทียึดอำนาจการแสดงออกไปเป็นของพวกเขา ผู้ชมก็ได้แต่นั่งอยู่ในความมืดและไร้ความคิดเห็น เมื่อผู้มีอำนาจยึดครองความสามารถในการผลิตเรื่องเล่า ประชาชนจึงถูกยัดเยียดความจริงเพียงด้านเดียว เมื่อนักการตลาดครอบครองพื้นที่ในการพูด ประชาชนก็สูญเสียความสามารถในการผลิตกลายเป็นเพียงผู้บริโภคเชื่องเชื่อ” “การละครของผู้ถูกกดขี่” พยายามเสนอข้อพิสูจน์ที่ว่าการละครคืออาวุธชนิดหนึ่ง และเป็นอาวุธประสิทธิภาพสูงเสียด้วย ชนชั้นปกครองจึงไม่เคยลดละความพยายามที่จะครอบครองศิลปะการละครเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำมวลชน ขณะที่ละครก็สามารถเป็นอาวุธในการปลดแอกของมวลชนด้วยเช่นกัน ทั้งยังรวบรวมและนำเสนอปรัชญา-กระบวนการและระบบของการละครของผู้ถูกกดขี่ เพื่อ “ส่งคืน” ความสามารถในการเล่าเรื่องให้กับเหล่าผู้ถูกกดขี่และถูกช่วงชิงเสียงของตนเองไป… การละครของผู้ถูกกดขี่โดย Augusto Boalแปลโดย ภินท์ ภารดามสำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น เทคโนโลยีการทำแผนที่มีความเป็นมาอย่างไร เรื่องของการทำแผนที่สมัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนที่ของราชการและของเอกชนอีกหลายฉบับรวมทั้งกูเกิ้ลแมปนั้นในความเป็นจริงแล้วจึงมีประวัติที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการสำรวจของนักวิชาการซึ่งร่วมทำแผนที่ฉบับนั้นและได้สร้างผลงานที่เป็นต้นแบบของการศึกษาหมู่บ้านและวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นประวัติของวงวิชาการไทยอีกอย่างหนึ่งที่น่าเรียนรู้….. “แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น” คือหนังสือที่ว่าด้วยการทำแผนที่ทหารที่ชื่อ ‘L708’ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมุ่งตอบปมปัญหาหลักที่ว่า “รัฐประชาชาติ(nation state) ของไทยเกิดขึ้นเมื่อไร อะไรคือกลไกและปัจจัยให้รัฐประชาชาติก่อตัวขึ้นได้” ผ่านการพิจารณากระบวนการสำรวจและการทำแผนที่หมู่บ้านในประเทศไทยในยุคสงครามเย็น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้ามาของเทคโนโลยีที่รัฐใช้ในฐานะที่เป็นความพยายามออกแบบสังคมและการทำให้ผู้คนหยุดนิ่งอยู่กับที่และกลายมาเป็นผู้สวามิภักดิ์กับรัฐในที่สุด…… ผลของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของเรื่องราวดังกล่าว ถูกไล่เรียงออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ตั้งแต่บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการพันาเทคโลโลยีการทำแผนที่, เทคโนโลยีในบริบทของสงครามเย็น, กำเนิดการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย, ปมปัญหาบางประการในการถกเถียงเรื่องหมู่บ้านซึ่งปรากฏในงานวิชาการของนักมานุษยวิทยาจำนวนหนึ่งในทศวรรษ 1950 และ 1960, ศึกษาการสำรวจและทำแผนที่หมู่บ้านของนักมานุษยวิทยากลุ่มสำคัญ รวมไปถึงอภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจ เทคโนโลยีการทำแผนที่ และการก่อรูปของรัฐชาติ…… แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็นโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภสำนักพิมพ์ Illuminations Editionsกางแผนที่ความเป็นรัฐชาติรอคุณแล้วที่ Book Re:public ค่ะ

[Book Re:commendation] Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย

[Book Re:commendation]“Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย” “มีบางคนไม่ให้ความร่วมมือ.ถ้าคุณไม่รักพวกเขา.ก็ออกไป.เข้าห้องน้ำ.ล้างหน้า ล้างตา.แล้วกลับมารักกันใหม่ได้…”—–(บางส่วนจากบทละคร โดย ธนพล วิรุฬหกุล) Collective Thai Scripts ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหวังที่จะรวบรวม จัดแปล และ ตีพิมพ์ บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัยสู่ผู้อ่านทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในฉบับที่หนึ่งนี้ได้ตีพิมพ์บทการแสดงไทยร่วมสมัย 4 เรื่องภายใต้หัวข้อ “Micro Politics” ประกอบด้วย “ที่ ไม่มีที่” โดย ประดิษฐ ประสาททอง “บางละเมิด” โดย อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ “HIPSTER THE KING” โดย ธนพล วิรุฬหกุล และ “การหายตัวไปของเด็กชายในบ่ายวันอาทิตย์” โดย ธนพนธ์ อัควธัญญู …นอกเหนือไปจากบทละครเวทีและการแสดงทั้ง 4 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในหนังสือ Micro Politics ยังจัดทำบทสัมภาษณ์ถึงแนวคิดและเบื้องหลังการสร้างงานรวมไปถึงตารางเส้นทางชีวิตของศิลปินทั้งสี่ท่านที่คู่ขนานไปกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทยและประวัติศาสตร์บางส่วนของศิลปะการแสดง ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของผลกระทบจากภาวะทางสังคมและการเมืองไทยในช่วงสี่ปีหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองในปี 2557 ที่ส่งผลต่อเราในระดับปัจเจกทั้งในฐานะ ศิลปิน ประชาชน และ มนุษย์ พร้อมทั้งเป็นดั่งบันทึกภาวะการณ์จากแรงสะท้อนของปัจเจกสู่สังคม ณ […]

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา (On Critical Discourse Analysis) “ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 หนังสือ วาทกรรมการพัฒนา ตีพิมพ์สู่สังคมไทยเป็นครั้งแรก หนังสือเล่มนี้เปิดพื้นที่มุมมองต่อการพัฒนาที่แตกต่าง สร้างผลกระทบต่อวงวิชาการด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก “วาทกรรม” กลายเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง และถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาด้านการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมมาจนกระทั่งปัจจุบัน…. ทว่านับตั้งแต่ “วาทกรรมการพัฒนา” ได้ปรากฏตัวขึ้นในสังคมไทย ก็ยังไม่มีหนังสือหรือตำราเล่มใดที่เขียนเรื่องการศึกษาวาทกรรมการพัฒนาอย่างเป็นระบบ แทบจะไม่มีการขยายพรมแดนความรู้ของแนวทางการศึกษาดังกล่าวให้ไกลออกไปจากการศึกษาวาทกรรมแนวฟูโกต์ และที่สำคัญ การศึกษาการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมยังขาดข้อเสนอและรูปแบบวิธีการของการพัฒนาแบบ “หลังการพัฒนา” ที่เป็นรูปธรรม…. “ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา” เป็นความพยายามที่จะแสวงหาและนำเสนอแนวคิดของการพัฒนาที่ไปไกลกว่าการพัฒนาแบบทางเลือก พร้อมทั้งแนะนำแนวคิด ทฤษฎีการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ รวมไปถึงการเสนอวิธีวิทยาและการนำแนวคิดไปใช้ในการวิจัยค้นคว้าด้านการพัฒนา…… ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนาโดย สมชาย ศรีสันต์คำนิยมโดย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารสำนักพิมพ์สมมติ

[Book Re:commendation] เมือง กิน คน: แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องของนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย

ความเป็นเมืองไม่ใช่เพียงเป็นพื้นที่ หากแต่อยู่ที่วิถีชีวิตผู้คน ในความหมายนี้ ท่ามกลางชนบทก็ยังมีเมือง จึงกล่าวได้ว่า เวลานี้เราอยู่ในยุคสมัยของความเป็นเมืองแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมืองคือความสะดวกสบาย ความเจริญ การมีบริการที่ก้าวหน้า เหนือสิ่งอื่นใด เมืองคือโอกาสทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ และการมีงานทำ และยังเป็นศูนย์รวมของภูมิปัญญาและพลังที่สร้างสรรค์จนมีการกล่าวว่าเมืองคือการสืบทอดวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนเรากลับมีความเข้าใจและความใส่ใจต่อเมืองไม่มาก เมืองมักถูกพัฒนาตามยถากรรม การพัฒนาเมืองตามไม่ทันกับสภาพสังคมและกระแสการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนำมาซึ่งความขัดแย้งของเมืองในหลายด้านหลากมิติ…. “เมือง กิน คน” เล่มนี้ ถูกประกอบขึ้นจากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาวะของคนในเมือง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาของเมือง นโยบายการจัดการเมือง รวมไปถึงเรื่องการเมืองของนคร (Urban Politics) เพื่อชี้ชวนให้ผู้อ่านสนใจ สัมผัส และสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว ที่ประกอบกันขึ้นในลักษณะที่เรียกว่า “เมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเรามีส่วนร่วมในการสร้างมันขึ้นมา และเราก็ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากเมืองในหลายรูปลักษณะ เมือง กิน คน: แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องของนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2)โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI)