[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น
เทคโนโลยีการทำแผนที่มีความเป็นมาอย่างไร เรื่องของการทำแผนที่สมัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนที่ของราชการและของเอกชนอีกหลายฉบับรวมทั้งกูเกิ้ลแมปนั้นในความเป็นจริงแล้วจึงมีประวัติที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการสำรวจของนักวิชาการซึ่งร่วมทำแผนที่ฉบับนั้นและได้สร้างผลงานที่เป็นต้นแบบของการศึกษาหมู่บ้านและวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นประวัติของวงวิชาการไทยอีกอย่างหนึ่งที่น่าเรียนรู้…..
“แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น” คือหนังสือที่ว่าด้วยการทำแผนที่ทหารที่ชื่อ ‘L708’ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมุ่งตอบปมปัญหาหลักที่ว่า “รัฐประชาชาติ(nation state) ของไทยเกิดขึ้นเมื่อไร อะไรคือกลไกและปัจจัยให้รัฐประชาชาติก่อตัวขึ้นได้” ผ่านการพิจารณากระบวนการสำรวจและการทำแผนที่หมู่บ้านในประเทศไทยในยุคสงครามเย็น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้ามาของเทคโนโลยีที่รัฐใช้ในฐานะที่เป็นความพยายามออกแบบสังคมและการทำให้ผู้คนหยุดนิ่งอยู่กับที่และกลายมาเป็นผู้สวามิภักดิ์กับรัฐในที่สุด……
ผลของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของเรื่องราวดังกล่าว ถูกไล่เรียงออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ตั้งแต่บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการพันาเทคโลโลยีการทำแผนที่, เทคโนโลยีในบริบทของสงครามเย็น, กำเนิดการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย, ปมปัญหาบางประการในการถกเถียงเรื่องหมู่บ้านซึ่งปรากฏในงานวิชาการของนักมานุษยวิทยาจำนวนหนึ่งในทศวรรษ 1950 และ 1960, ศึกษาการสำรวจและทำแผนที่หมู่บ้านของนักมานุษยวิทยากลุ่มสำคัญ รวมไปถึงอภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจ เทคโนโลยีการทำแผนที่ และการก่อรูปของรัฐชาติ……
แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น
โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
สำนักพิมพ์ Illuminations Editions
กางแผนที่ความเป็นรัฐชาติรอคุณแล้วที่ Book Re:public ค่ะ