เขตเศรษฐกิจพิเศษ มักถูกนิยามโดยนักวางแผนทางนโยบายและองค์กรระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในเชิงกายภาพและเชิงกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐภายในขอบเขตเฉพาะหนึ่งๆ เพื่อเป้าประสงค์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยระบอบการควบคุมกำกับที่แตกต่างไปจากระเบียบทางเศรษฐกิจที่ใช้ในที่อื่นๆ ของประเทศ และนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา เขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบต่างๆ ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย ลาตินอเมริกา แคริบเบียนและอัฟริกา….
เล่มนี้ จะพาเราไปสอดส่องเรื่องราวว่าด้วยรูปแบบและกลไกของเขตเศรษฐกิจพิเศษของแต่ละรัฐ/ ประเทศ ทั้งในแง่ของจุดกำเนิด พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ผลกระทบ เงื่อนไขความสำเร็จ และความล้มเหลว โดยเชื่อมโยงกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และชี้ให้เห็นว่า พลวัตของเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ซับซ้อนมากกว่าปัจจัยด้านประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเข้าใจ หากแต่ยังงครอบคลุมไปถึงการก่อตัวของรัฐและทุนท้องถิ่น การกำกับและควบคุมของอำนาจรัฐ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การสูญเสียที่ดิน และปัญหาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ
โดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนหน้า 271 หน้า