[Book Re:commendation]การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน



รอยเชื่อมต่อระหว่างความเป็นสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ เป็นการอนุวัฒน์ของโลกที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดระเบียบการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น สภาวการณ์ดังกล่าวได้รังสรรค์การเปลี่ยนแปลงที่สร้างข้อท้าทายและบ่อนเซาะความรู้สึกนึกคิดต่อระบบความรู้และการปฏิบัติการของรัฐที่มีต่อพลเมือง ทั้งยังนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงและข้อท้าทายใหม่ๆ ในพื้นที่ทางการศึกษา……


“การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน” เล่มนี้ มุ่งสร้างพื้นที่ทางความคิดและข้อถกเถียงสู่ชุมชนวิชาการ นักการศึกษาและครู ให้ทำความเข้าใจกับความคิดและทิศทางสำคัญในการจัดการศึกษาท่ามกลางช่วงรอยเชื่อมต่อของสองศตวรรษข้างต้น ผ่านการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการศึกษาพหุวัฒนธรรมในเชิงวิพากษ์ ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้กับการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาพหุวัฒนธรรมและเพื่อสนับสนุนให้การศึกษาได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมให้หลุดพ้นออกจากกับดักของความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง……..


การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน
โดย นงเยาว์ เนาวรัตน์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?