[Book Re:commendation]หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ


เขตเศรษฐกิจพิเศษ มักถูกนิยามโดยนักวางแผนทางนโยบายและองค์กรระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในเชิงกายภาพและเชิงกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐภายในขอบเขตเฉพาะหนึ่งๆ เพื่อเป้าประสงค์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยระบอบการควบคุมกำกับที่แตกต่างไปจากระเบียบทางเศรษฐกิจที่ใช้ในที่อื่นๆ ของประเทศ และนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา เขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบต่างๆ ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย ลาตินอเมริกา แคริบเบียนและอัฟริกา….

เล่มนี้ จะพาเราไปสอดส่องเรื่องราวว่าด้วยรูปแบบและกลไกของเขตเศรษฐกิจพิเศษของแต่ละรัฐ/ ประเทศ ทั้งในแง่ของจุดกำเนิด พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ผลกระทบ เงื่อนไขความสำเร็จ และความล้มเหลว โดยเชื่อมโยงกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และชี้ให้เห็นว่า พลวัตของเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ซับซ้อนมากกว่าปัจจัยด้านประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเข้าใจ หากแต่ยังงครอบคลุมไปถึงการก่อตัวของรัฐและทุนท้องถิ่น การกำกับและควบคุมของอำนาจรัฐ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การสูญเสียที่ดิน และปัญหาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 


หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ
โดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนหน้า 271 หน้า

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?