[Book Re:commendation]เบสเมนต์ มูน

3 ตุลาคม ค.ศ. 2016, นักเขียนไทยวัยกลางคนชื่อปราบดา หยุ่น ได้รับข้อความประหลาดผ่านโทรศัพท์มือถือบงการให้เขาเดินทางไปยังตึกร้างในย่านเก่าของกรุงเทพฯ แม้ไม่เข้าใจอะไรนัก, และมีความเป็นไปได้ที่จะเสียสติเพราะความหดหู่ของบรรยากาศสังคม, เขายอมทำตามคำสั่งลึกลับนั้น. การสื่อสารปริศนาเกลี้ยกล่อมให้ปราบดาคิดว่ากการกระทำของเขาจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น.

เรื่องเล่าที่ปราบดาได้ฟังในห้องของตึกร้างซับซ้อนพิสดารกว่าที่เขาจะสามารถจินตนาการเอง. มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต, ความรุนแรงและความสูญเสียระดับชาติที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบกว่าปีข้างหน้า, ไกลไปถึงความเป็นไปของสังคมไทยและโลกในปี ค.ศ. 2069, ยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวไกลถึงขั้นสร้าง “จิตสำนึกประดิษฐ์” ได้สำเร็จ. จิตสำนึกประดิษฐ์ส่วนหนึ่งตกเป็นเครื่องมือขององค์กรลับชื่อ “โววา” ซึ่งถูกตั้งขึ้นเพื่อรับใช้กลุ่มประเทศอำนาจนิยม, ทางการไทยก็ต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ค้นหาและกำจัดขบวนการใต้ดินที่กำลังเริ่มแพร่เชื้อกระด้างกระเดื่องด้วยข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม, พยายามรื้อฟื้นความทรงจำหมู่ในประวัติศาสตร์ที่ทางการได้ลบล้างไปเป็นเวลานาน.

เหมือนเป็นเรื่องแต่งไซไฟ-แฟนตาซี, แต่สิ่งที่ห้องร้างป้อนใส่การรับรู้ของปราบดาดูจะเชื่อมโยงกับโลกจริงอย่างไม่น่าเชื่อ. จิตสำนึกประดิษฐ์ในอนาคตอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ห้องนั้นสามารถ “คุย” กับปราบดาได้. เรื่องเล่าของห้องร้างพาไปรู้จักกับ “สุญสตรี” และ “สำเนาสำนึก” ภายใต้ชื่อ “ญานิน” และรื้อฟื้นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น, แต่กลับเหมือนเป็นความทรงจำของใครบางคน.

เบสเมนต์ มูน
โดย ปราบดา หยุ่น
สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่น

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?