หากอดีตไม่อาจหวนคืนได้อีก อัตลักษณ์แบบไหนเล่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่เป็นทั้งปฏิกิริยา ยอมรับความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็หยิบยื่นความผูกพันปักรากกับชุมชนในลักษณะใหม่ได้ ในแง่นี้ การยอมรับความหมายของอัตลักษณ์ในฐานะของ “กระบวนการ” แทนที่สิ่งที่เป็นคุณสมบัติและหยุดนิ่งตายตัว จะช่วยให้เราตระหนักถึงข้อจำกัดและอันตรายของ “ขอบเขต” การนิยามที่กั้นเราออกจากคนอื่น หากเราเปลี่ยนมาเน้นที่ความเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์แทน อาจช่วยให้เราสามารถหลุดจากการมองหาเส้นกั้นขอบเขตของอัตลักษณ์และไม่มองว่าการรุกล้ำจากภายนอกหรือความแตกต่างเป็นภัยคุกคาม………
“อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด” เล่มนี้ คือการหยิบยกแนวคิดว่าด้วยอัตลักษณ์มาทบทวนและชวนให้คิดจากมุมมองที่ต่างกัน ผ่านการสำรวจพัฒนาการของแนวความคิดในกรอบของทฤษฎีต่างๆ ในช่วงปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากสมัยใหม่นิยมมาเป็นหลังสมัยใหม่นิยม และเชื่อมโยงจุดเน้นใน 3 มิติ ทั้งเพศภาวะ ความเคลื่อนไหวทางชาติพันธุ์และศาสนาอย่างครอบคลุม…..
อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด
โดย อภิญญา เฟื่องฟูสกุล
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่