[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่

“เมื่อคนที่ถือไมโครโฟนมีเพียงคนเดียว ที่เหลือจึงถูกบังคับให้มีสถานภาพเป็นผู้ฟัง เมื่อนักแสดงบนเวทียึดอำนาจการแสดงออกไปเป็นของพวกเขา ผู้ชมก็ได้แต่นั่งอยู่ในความมืดและไร้ความคิดเห็น เมื่อผู้มีอำนาจยึดครองความสามารถในการผลิตเรื่องเล่า ประชาชนจึงถูกยัดเยียดความจริงเพียงด้านเดียว เมื่อนักการตลาดครอบครองพื้นที่ในการพูด ประชาชนก็สูญเสียความสามารถในการผลิตกลายเป็นเพียงผู้บริโภคเชื่องเชื่อ”

“การละครของผู้ถูกกดขี่” พยายามเสนอข้อพิสูจน์ที่ว่าการละครคืออาวุธชนิดหนึ่ง และเป็นอาวุธประสิทธิภาพสูงเสียด้วย ชนชั้นปกครองจึงไม่เคยลดละความพยายามที่จะครอบครองศิลปะการละครเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำมวลชน ขณะที่ละครก็สามารถเป็นอาวุธในการปลดแอกของมวลชนด้วยเช่นกัน ทั้งยังรวบรวมและนำเสนอปรัชญา-กระบวนการและระบบของการละครของผู้ถูกกดขี่ เพื่อ “ส่งคืน” ความสามารถในการเล่าเรื่องให้กับเหล่าผู้ถูกกดขี่และถูกช่วงชิงเสียงของตนเองไป…

การละครของผู้ถูกกดขี่
โดย Augusto Boal
แปลโดย ภินท์ ภารดาม
สำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?