“เมื่อพิจารณาถึงความผันแปรของบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ รวมไปถึงข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมก็ไม่อาจปฏิเสธถึงความเป็น “การเมือง” ในบทบัญญัติเหล่านี้ได้ หรือแม้กระทั่งอาจกล่าวได้ว่าพลังอำนาจของอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองแห่งยุคสมัยมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหลักวิชาในการจัดวางสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญของไทย”
———————————–สมชาย ปรีชาศิลปกุล
“นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2475-2550” เล่มนี้ ไม่เพียงแต่เข้าไป “อ่าน” รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ตลอดเวลา 75 ปี แต่ยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน….
———————————–สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2475-2550
โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน