[Book Re:commendation] ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ



ในยุคที่เทคโนโลยีเสกสรรสรรพสิ่งได้สุดจินตนาการ “ผี” หรือ “วิญญาณ” ถูกนิยามว่าเป็นเพียงพลังงานรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าส่วนลึกในจิตใจของผู้คนหลายกลุ่ม “ผี” ยังคงทำให้เกิดพฤติกรรม “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เช่นกันในความรู้สึกและความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ผี” ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ชวนให้สยดสยอง ลี้ลับเท่านั้น แต่ยังบงการวิถีชีวิตและก่อเกิดเป็นประเพณีที่เคียงคู่หลายชุมชนนานนับศตวรรษ และสังคมไทยทุกวันนี้ก็ไม่อาจสลัดทิ้ง “ผี” ให้พ้นจากวิถีชีวิตประจำวันได้

หนังสือ “ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ” เล่มนี้ มุ่งอธิบายถึงพัฒนาการของคติความเชื่อและตำนานของผีหรือพลังลี้ลับเหนือธรรมชาติทั้งในวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก โดยที่ผีเหล่านี้ยังคงวนเวียนในความคิด ความเชื่อของผู้คนทั่วไปจนถึงบัดนี้ พร้อมทั้งอธิบายมูลเหตุที่มาของ “ผี” ทั้งในแง่ความเชื่อ ไสยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และในฐานะเครื่องมือควบคุมทางสังคม…….

ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ
โดย ธีระพงษ์ มีไธสง
สำนักพิมพ์อินทนิล

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?