[Book Re:commendation] Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย

[Book Re:commendation]
“Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย”


“มีบางคนไม่ให้ความร่วมมือ.
ถ้าคุณไม่รักพวกเขา.
ก็ออกไป.
เข้าห้องน้ำ.
ล้างหน้า ล้างตา.
แล้วกลับมารักกันใหม่ได้…”
—–(บางส่วนจากบทละคร โดย ธนพล วิรุฬหกุล)

Collective Thai Scripts ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหวังที่จะรวบรวม จัดแปล และ ตีพิมพ์ บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัยสู่ผู้อ่านทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในฉบับที่หนึ่งนี้ได้ตีพิมพ์บทการแสดงไทยร่วมสมัย 4 เรื่องภายใต้หัวข้อ 
“Micro Politics” ประกอบด้วย

“ที่ ไม่มีที่” โดย ประดิษฐ ประสาททอง 
“บางละเมิด” โดย อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ 
“HIPSTER THE KING” โดย ธนพล วิรุฬหกุล และ 
“การหายตัวไปของเด็กชายในบ่ายวันอาทิตย์” โดย ธนพนธ์ อัควธัญญู

…นอกเหนือไปจากบทละครเวทีและการแสดงทั้ง 4 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในหนังสือ Micro Politics ยังจัดทำบทสัมภาษณ์ถึงแนวคิดและเบื้องหลังการสร้างงานรวมไปถึงตารางเส้นทางชีวิตของศิลปินทั้งสี่ท่านที่คู่ขนานไปกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทยและประวัติศาสตร์บางส่วนของศิลปะการแสดง ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของผลกระทบจากภาวะทางสังคมและการเมืองไทยในช่วงสี่ปีหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองในปี 2557 ที่ส่งผลต่อเราในระดับปัจเจกทั้งในฐานะ ศิลปิน ประชาชน และ มนุษย์ พร้อมทั้งเป็นดั่งบันทึกภาวะการณ์จากแรงสะท้อนของปัจเจกสู่สังคม ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่อาจกลายเป็นเพียงประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกบันทึก…..

ไมโครโพลิติคส์ (Micro Politics)

จัดทำโดย : Collective Thai Scripts
ผู้เขียน : ประดิษฐ ประสาททอง, อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์, ธนพล วิรุฬหกุล, ธนพนธ์ อัควธัญญู
บรรณาธิการ : ธนนพ กาญจนวุฒิศิษฎ์ ,จารุนันท์ พันธชาติ, วิชย อาทมาท
ออกแบบปก : เจนวิชญ์ นฤขัตพิชัย
จำนวนหน้า : 224 หน้า (ปกอ่อน / พิมพ์ไทยและอังกฤษในเล่มเดียวกัน)

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?