[Book Re:commendation] การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์

เป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐศาสตร์ ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ (body of knowledge) สาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ คือการแสวงหาหนทางที่จะเข้าใจถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการเมือง เพื่อจะคาดการณ์แนวโน้มของปรากฏการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ไปใช้หรือไม่ และมากเพียงใด เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม การที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจน จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นกระบวนการจำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้น ด้วยการชี้ให้เห็นระดับ ประเภท และทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวการณ์หนึ่ง อันจะทำให้เข้าใจได้ว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้น แะเกิดขึ้นอย่างไร ในความหมายอย่างกว้าง กระบวนการนี้ก็คือ การอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองนั่นเอง….

“การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์” เล่มนี้ มุ่งทบทวนและทำความเข้าใจรูปแบบ วิธีการการอธิบายและวิเคราะห์ทางการเมือง ปัญหาการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ รวมไปถึงผลกระทบต่อการศึกษาวิเคราะห์ทางการเมืองที่น่าสนใจยิ่ง



การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์
โดย อนุสรณ์ ลิ่มมณี
สำนักพิมพ์ศยาม

Latest Story

ไปให้พ้นจากการจ้องจับผิด: การเมืองของการเสพติด สู่ปัญหา “ปีศาจนักสูบ” แห่งมช.

ทำไมคนเราถึงสูบบุหรี่ ?…. ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน.. ที่แน่ ๆ คนสูบบุหรี่คงโดนถามคำถามนี้บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงใครสักคนจะสูบบุหรี่เพราะอะไรก็คงจะมีแรงจูงใจหลายอย่างตามอัตวิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบประสบการณ์เวลาตัวเองสูบ สูบเพื่อผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการบางห้วงขณะ หรือมันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลอะไรก็ได้ ก็แค่อยากสูบ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากชวนให้ทุกคนลองพิจารณาดูก็คือ เรื่อง “ภาพจำของคนสูบบุหรี่ในสังคม” คุณคิดว่าสังคมไทย ๆ มีภาพจำกับคนสูบบุหรี่แบบไหน ?