เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : Activist art ศิลปะแห่งการต่อสู้- ไม่มีอะไรช่วยคนดูศิลปะได้นอกจากการดู

Activist art ศิลปะแห่งการต่อสู้- ไม่มีอะไรช่วยคนดูศิลปะได้นอกจากการดู Human ร้าย, Human Wrong 3  workshop ครั้งที่ 2 : ความรู้พื้นฐานศิลปะกับสิทธิมนุษยชน ซาเรียใช้นิ้วมือวาดภาพเหล่านั้น บางภาพมีความยาวมากกว่า 10 ฟุตเพื่อสื่อสารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งความโกลาหลและความนิ่งสงบของภูมิทัศน์ เพื่อให้คนดูเกิดอารมณ์ความรู้สึกแม้ว่าจะไม่เคยเดินทางไปยังสถานที่เหล่านั้นเลย ภาพวาดของเธอจึงขับเน้นความงามมากกว่าความหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกเพื่อสร้างความรู้สึกอยากปกป้อง สุนทรียศาสตร์จากศิลปะสามารถสร้างพลังที่จะทำให้เรามองเห็นซึ่งกันและกันแม้ว่ารูปแบบของมันจะหลากหลายไปตามบริบทสังคมและยุคสมัย งาน activist ที่ใช้กระบวนทางศิลปะเป็นสื่อกับงานศิลปะที่สื่อสารประเด็นแบบ activist จึงเป็นสิ่งที่เหมือนและแตกต่างแม้ว่าจะแยกออกจากกันได้ยาก อาจารย์ธนาวิ โชติประดิษฐ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชวนถกเถียงในประเด็นของการสื่อสารประเด็นสังคมผ่านงานศิลปะ ถ้าคนทั่วไปดูงานแล้วไม่เข้าใจ ถือว่าล้มเหลวในการสื่อสารหรือไม่ สุดท้ายอาจจะกลายเป็นคำถามที่ย้อนกลับไปถามตัวศิลปินว่าทำงานไว้ดูกันเองในวงหรือเปล่า เป็น echo chamber (ห้องที่สะท้อนแต่เสียงของตัวเอง) หรือเปล่า ตรงจุดไหนที่ถือว่าศิลปินฉกฉวยผลประโยชน์จากความเดือดร้อนของคนในสังคม “ก็คือดูกันเองส่วนหนึ่งนั่นแหละ แต่ประเด็นคือเราจำเป็นที่จะต้องใช้มุมมองหรือมาตรวัดแบบเดียวในการดูงานเหล่านี้ไหม หรือว่าศิลปินฉกฉวยเอาประเด็นที่เป็นปัญหามาสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองหรือเปล่า นี่เป็นคำถามชุดที่เกิดขึ้นบ่อยมาก ตั้งแต่เรายังไม่เกิดไปจนตายไปแล้วเกิดใหม่ มันก็ยังคงมีคำถามชุดนี้อยู่” จากนั้นอาจารย์จึงชวนถกและยกตัวอย่างงานศิลปะที่ไม่ได้ตรงไปตรงมาขนาดนั้น คนทั่วไปไม่ได้เข้าใจขนาดนั้น แล้วถามต่อว่ามันต้องเข้าใจหรือตรงไปตรงมาขนาดไหนถึงจะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะที่สะท้อนสังคมได้ ศิลปะยาว แต่ความเข้าใจฉันสั้น ในช่วงสงครามเย็น soft power […]

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : ศิลปะกับสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างไร

“ศิลปะยังมีน้ำยาอยู่ไหม”, “ถ้าคุณทำงานศิลปะแต่คนดูไม่รู้เรื่อง ประเด็นสังคมที่ต้องการเรียกร้องมันจะมีความหมายอะไรไหม”, “การที่ศิลปินเอาเรื่องราวของผู้ที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาทำงานเป็นการฉกฉวยผลประโยชน์หรือเปล่า”

เปิดห้องเรียน Human ร้าย : ความเป็นเราอยู่ตรงไหนในโลกที่มีแต่คนอื่น – จักรกริช สังขมณี

การศึกษาเรื่องมานุษยวิทยาเริ่มได้ง่ายๆ จากแค่การแนะนำตัว เรามักจะแนะนำว่าเรามาจากจังหวัดไหน จบจากสถาบันอะไรเพื่อกำหนดขอบเขตและสร้างความเชื่อมโยงว่าเราดำรงอยู่ในสังคมร่วมกับใครบ้าง หรือผ่านวัฒนธรรมแบบไหนมา ความซับซ้อนเกิดขึ้นตรงที่ว่ามนุษย์แต่ละคนมีโลกของตัวเอง และบางครั้งเราซ้อนทับมันกับโลกของคนอื่นจนกลายเป็นว่าเราสร้างคนอื่นขึ้นมาจากการมองโลกของเรา

เปิดห้องเรียน Human ร้าย : 2 วัน 1 คืนที่หมู่บ้านปกาเกอะญอ หนองเต่า และการทำความเข้าใจความเป็น “เรา” ทีละน้อย

ความเป็นมนุษย์, สวนคนขี้เกียจ, ป่าชุมชน, สิทธิมนุษยชน, ปกาเกอะญอนักเล่าเรื่อง คือคีย์เวิร์ดคร่าวๆ ของการลงพื้นที่ครั้งแรกของโครงการ Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 3 ในคอนเซ็บเรื่องความเป็นมนุษย์