Category: After Talks

เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน

เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน โดย ธงชัย วินิจจะกูล  (ดำเนินรายการโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์)  บทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ค รี:พลับลิก วันที่ 17 ธันวาคม 2554ชื่อหัวข้อที่ใช้ในการบรรยายจริงคือ “เมื่อความจริง(และนิยาย)โดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” แต่เนื่องจากเอาเข้าจริงไม่ได้กล่าวถึงนิยายเลยแม้แต่น้อย ในที่นี้จึงขอปรับชื่อหัวข้อเสียใหม่ให้สอดตล้องกับเนื้อหา               เดิมทีผมตั้งหัวข้อไว้ว่าจะคุยสนุกๆ แต่เหตุการณ์ในสองเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมชักสนุกไม่ออก หากอาจจะมีคนอยากให้ผมพูดถึงเรื่องอากง พูดถึงเหตุการณ์เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามผมตั้งใจแต่แรกแล้วว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากสถานการณ์เฉพาะหน้าออกไปคิดเรื่องประวัติศาสตร์ทางความคิด เรื่องวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ผมถนัดมากกว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง ไปดูเรื่องประวัติศาสตร์ความคิดวัฒนธรรมไทย โดยจะอภิปรายถึงหนังสือสำคัญสักสองสามเล่ม ผมจะโยงให้เห็นประเด็นหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง 112 (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) แต่อยากดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย #2

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมีผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีครับ หัวข้อที่จะคุยในวันนี้ คือเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตย โดยผมจะพยายามอธิบายรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในมิติที่กว้างขึ้นมากกว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่

เสรีภาพสื่อในมือกฎหมาย

เสรีภาพสื่อในมือกฎหมายบทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ค รี:พลับลิก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 สาวตรี  สุขศรี (ดำเนินรายการโดย ทศพล ทรรศนกุลพันธุ์) ขอกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่านอย่างเป็นทางการ และขออนุญาตแบ่งหัวข้อในการพูดให้สอดคล้องกับชื่อหัวข้องานในวันนี้ออกเป็น 5 ประเด็นด้วยกัน  ประกอบด้วย หนึ่ง ว่าด้วยเสรีภาพสื่อ สอง เสรีภาพสื่อในมือกฎหมาย สาม รัฐไทยใช้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพสื่อโดยอาศัยกฎหมายฉบับต่าง ๆ สี่ คือ สื่อและอำนาจของสื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สื่อออนไลน์” เป็นลักษณะของการตั้งคำถามว่า เหตุใดรัฐไทยจึงกลัวสื่อออนไลน์ และประเด็นสุดท้ายเป็นเรื่อง

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย#1

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมี           ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีค่ะ ดิฉันมาในฐานะที่เข้าร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์การแก้ไขมาตรา112 (ครก.112) หัวข้อในวันนี้คือรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย แต่ที่อยากจะพูดในวันนี้ ดิฉันอยากพูดในเรื่องกฎหมายกับความยุติธรรม

ความปรองดองกับความเป็นธรรม?

ความปรองดองกับความเป็นธรรม?
บทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ครีพับบลิก 19 พฤษภาคม 2555

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ | (ดำเนินรายการโดย ณัฐกร วิทิตานนท์)

(จะ) 80 ปี ผ่านไป ไวเหมือนโกหก (2475-2555)

บทความจากงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อม “(จะ) 80 ปี ผ่านไป ไวเหมือนโกหก (2475-2555)”
โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | ดำเนินรายการโดย ธนาพล อิ๋วสกุล

เสวนา Book Talk : Thou Shall Fear เจ้าจงตื่นกลัว

Book Talk : Thou Shall Fear เจ้าจงตื่นกลัว  คุณกฤดิกร ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกว่า “ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะได้มีส่วนร่วมในการเปิดแนวทางในการจัดการกับความกลัว และปัญหาความรุนแรงอย่างภัยจากการก่อการร้ายให้กับสังคมบ้าง…”  โดย กฤติกร วงศ์สว่างพานิช วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน เวลา

เสวนา US Election พูดคุยการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา

ด้วยบรรยากาศการเลือกตั้งที่น่าตื่นเต้นในสหรัฐอเมริกาเราจึงชวนพูดคุยและวิเคราะห์ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาว่าเป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร และมีวิธีการเพื่อให้ได้มาเพื่อตัวแทนของประชาชนอย่างไร Book Re:public ร่วมกับ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ จึงชวนผู้ที่สนใจร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา (U.S. Election)  พูดคุยโดย Michael Heath , Consul General Jennifer BarnesKerns, Political/Economic Officer ชวนคุยโดยอ.ดร.วรรณภา ลีระศิริ คณาจารย์สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช.

เสวนา ลวงตา: รูปแบบศิลปะกับอุดมการณ์เบื้องหลัง

สืบเนื่องมาจากผลงานของศิลปะคนไทยได้ไปจัดแสดงถึงประเทศเกาหลีใต้ในงานนิทรรศการ ‘The Truth_to Turn It Over’ พูดถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองกวางจู ปี 1980 แต่กลับมีจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ตั้งคำถามกับความหมายเบื้องหลังผลงานของคนไทยด้วยกันว่าอาจไม่เหมาะสมที่จะเป็นงานที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการที่รำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ถอดถอนงานแต่อย่างใด “ลวงตา: รูปแบบศิลปะกับอุดมการณ์เบื้องหลัง” โดย อ.ธนาวิ โชติประดิษฐ อ.บัณฑิต จันทร์โรจกิจ ผู้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงภัณฑารักษ์ในงานดังกล่าว พร้อมทั้งพูดคุยถึงรูปแบบงานศิลปะและอุดมการณ์การเบื้องหลังของงานโดยตั้งคำถามว่า รูปแบบของงานศิลปะกับอุดมการณ์ จะ “ซ้าย” หรือ “ขวา”