Category: Book Re:commendation

[Book Re:commendation] ร้าวรานในวารวัน (The Glass Palace)

“เชิญพวกท่านแลมองรอบ ๆ เถิด ดูให้เต็มตาว่าพวกเราอยู่กันอย่างไร ถูกแล้วเราที่ครั้งหนึ่งเคยปกครองแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียและ ตอนนี้กลับตกต่ำถึงเพียงนี้ นี่คือสิ่งที่พวกมันกระทำต่อเรา และเป็นสิ่งที่พวกมันจะกระทำต่อพม่าทั้งมวลเช่นกัน……พวกมันพรากอาณาจักรเราไป สัญญาว่าจะสร้างถนน ทางรถไฟ และท่าเรือ แต่จำคำเราไว้ให้ดี มันจะลงเอยเหมือนเช่นนี้ ในไม่กี่ทศวรรษความมั่นคั่งจะสูญสิ้น ทั้งอัญมณี ทั้งไม้สัก ทั้งน้ำมัน แล้วเมื่อนั้นพวกมันจะละทิ้งไปเช่นกัน….. เราคือพวกแรกที่ถูกจองจำในนามความก้าวหน้าของพวกมัน คนอีกนับล้านย่อมตกต้องตามกัน นี่คือสิ่งที่เราทุกคนล้วนต้องประสบ นี่คือวิถีที่เราทุกคนจะลงเอย ในฐานะเชลยกลางสลัมแหล่งโรคระบาด……” “ร้าวรานในวารวัน (The

[Book Re:commendation]หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ มักถูกนิยามโดยนักวางแผนทางนโยบายและองค์กรระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในเชิงกายภาพและเชิงกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐภายในขอบเขตเฉพาะหนึ่งๆ เพื่อเป้าประสงค์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยระบอบการควบคุมกำกับที่แตกต่างไปจากระเบียบทางเศรษฐกิจที่ใช้ในที่อื่นๆ ของประเทศ และนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา เขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบต่างๆ ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย ลาตินอเมริกา แคริบเบียนและอัฟริกา…. เล่มนี้ จะพาเราไปสอดส่องเรื่องราวว่าด้วยรูปแบบและกลไกของเขตเศรษฐกิจพิเศษของแต่ละรัฐ/ ประเทศ ทั้งในแง่ของจุดกำเนิด พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ผลกระทบ เงื่อนไขความสำเร็จ และความล้มเหลว โดยเชื่อมโยงกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และชี้ให้เห็นว่า พลวัตของเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ซับซ้อนมากกว่าปัจจัยด้านประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเข้าใจ

[Book Re:commendation] รวมเรื่องสั้น สะพานขาด

เปลวไฟแดงฉานมาถึงเมื่อคืนฟ้าค่ำ บวกกับลมที่โหมกระหน่ำ กองทัพไฟรุดหน้าอย่างรวดเร็วมุ่งตรงมายังนากว่าสิบไร่ ที่รวงทองยังส่ายโอนเอน ผมไม่มีวันลืมภาพหญิงชราตนหนึ่งซึ่งถลันออกมาจากบ้านไปอย่างบ้าคลั่ง ออกไปยืนเด่น กางมือหลา อยู่เบื้องหน้านาที่ยังเต็มรวงทอง แกหันหน้าเข้าเผชิญกับไฟทั้งกองทัพซึ่งรุกเข้ามาอย่างรวดเร็วพลางกรีดร้องเหมือนเสียสติ ภายในหมู่บ้านบังเกิดโกลาหลขึ้นยกใหญ่ ต่างหักกิ่งไม้ติดใบสดๆ ออกไปไล่ฟาดเปลวไฟซึ่งรุกเข้ามานั้น ทว่าด้วยลมที่กรรโชกแรง ต่อให้คนอีกหมู่บ้านวิ่งเข้ามาช่วย ไม่มีใครแน่ใจว่าจะหยุดมันได้หรือไม่————————จากเรื่อง สะพานขาด “สะพานขาด” รวมเรื่องสั้นชุดแรกของกนกพงษ์ สงสมพันธุ์ ที่ส่งผลสำคัญต่อวรรณกรรมไทยในสองสามทษวรรษที่ผ่านมา นำด้วย 2 เรื่องสั้นรางวัลช่อการะเกด “สะพานขาด” และ

[Book Re:commendation]หนังสือ/เมืองเล็ก/ความรัก นักอ่านชาวโบรกเคนวีลแนะนำ

เมื่อปล่อยให้หนังสือเข้ามาในชีวิต เรื่องเกินคาดสุดขีดอาจเกิดขึ้นได้… ชาวเมืองโบรกเคนวีลในรัฐไอโอวาไม่เคยเจอใครเหมือนซาร่ามาก่อน เธอเดินทางจากสวีเดนมาเยี่ยมเอมี่ เพื่อนทางจดหมาย แต่เมื่อมาถึง กลับพบว่าเอมี่เพิ่งตายไปหมาดๆ ทิ้งไว้เพียงหนังสือนับพันเล่ม กับชาวเมืองผู้มากน้ำใจแต่ไม่รู้ว่าจะให้นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นนักอ่านตัวยงทำอะไรในเมืองเล็กที่ร่อแร่ใกล้ร้าง จนกระทั่งความคิดเรื่องการเปิดร้านหนังสือผ่านวาบเข้ามา พบกับหนังสือลำดับที่ 5 ในชุด ‘คนรักหนังสือ’ จาก สำนักพิมพ์กำมะหยี่ “หนังสือ/เมืองเล็ก/ความรัก นักอ่านชาวโบรกเคนวีลแนะนำ” นวนิยายสุดน่ารักที่จะเตือนเราให้อบอุ่นในหัวใจว่า เพราะเหตุใดเราจึงเป็นคนรักหนังสือ เรื่องราวสุดฉลาดแสนน่ารักที่บอกให้เรารู้ว่า หนังสือสามารถหาเราพบ เปลี่ยนแปลงเรา และเชื่อมเราเข้าด้วยกันได้อย่างไร…….. คำเตือน : การอ่านหนังสือพร้อมกับยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ อาจทำให้คนรอบข้างหวาดกลัว 

[Book Re:commendation] “Limology: ชายแดนศึกษา กับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่/ระหว่าง

“สภาวะลักลั่นไม่ลงรอยภายในระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “รัฐ” และ “ชาติ” เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงยังควรรักษาเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ที่คั่นอยู่ระหว่างสองคำนี้ นั่นคือ รัฐ-ชาติ หรือ nation-state ในภาษาอังกฤษ เพื่อบ่งชี้ว่า “รัฐ” กับ “ชาติ” นั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มักถูกจับให้ดำเนินควบคู่กันไปในการศึกษารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เทียบแทนกันได้อย่างสนิทแนบแน่น และสามารถเป็นภาพสะท้อนของกันและกันได้….. เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความน่าสนใจของการศึกษาสังคมการเมืองสมัยใหม่ จึงไม่ควรจำกัดอยู่ที่การศึกษา “รัฐ-ชาติ” หรือ

[Book Re:commendation] อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด

หากอดีตไม่อาจหวนคืนได้อีก อัตลักษณ์แบบไหนเล่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่เป็นทั้งปฏิกิริยา ยอมรับความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็หยิบยื่นความผูกพันปักรากกับชุมชนในลักษณะใหม่ได้ ในแง่นี้ การยอมรับความหมายของอัตลักษณ์ในฐานะของ “กระบวนการ” แทนที่สิ่งที่เป็นคุณสมบัติและหยุดนิ่งตายตัว จะช่วยให้เราตระหนักถึงข้อจำกัดและอันตรายของ “ขอบเขต” การนิยามที่กั้นเราออกจากคนอื่น หากเราเปลี่ยนมาเน้นที่ความเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์แทน อาจช่วยให้เราสามารถหลุดจากการมองหาเส้นกั้นขอบเขตของอัตลักษณ์และไม่มองว่าการรุกล้ำจากภายนอกหรือความแตกต่างเป็นภัยคุกคาม……… “อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด” เล่มนี้ คือการหยิบยกแนวคิดว่าด้วยอัตลักษณ์มาทบทวนและชวนให้คิดจากมุมมองที่ต่างกัน ผ่านการสำรวจพัฒนาการของแนวความคิดในกรอบของทฤษฎีต่างๆ ในช่วงปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากสมัยใหม่นิยมมาเป็นหลังสมัยใหม่นิยม และเชื่อมโยงจุดเน้นใน 3 มิติ ทั้งเพศภาวะ ความเคลื่อนไหวทางชาติพันธุ์และศาสนาอย่างครอบคลุม…..  อัตลักษณ์

[Book Re:commendation]การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน

รอยเชื่อมต่อระหว่างความเป็นสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ เป็นการอนุวัฒน์ของโลกที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดระเบียบการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น สภาวการณ์ดังกล่าวได้รังสรรค์การเปลี่ยนแปลงที่สร้างข้อท้าทายและบ่อนเซาะความรู้สึกนึกคิดต่อระบบความรู้และการปฏิบัติการของรัฐที่มีต่อพลเมือง ทั้งยังนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงและข้อท้าทายใหม่ๆ ในพื้นที่ทางการศึกษา…… “การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน” เล่มนี้ มุ่งสร้างพื้นที่ทางความคิดและข้อถกเถียงสู่ชุมชนวิชาการ นักการศึกษาและครู ให้ทำความเข้าใจกับความคิดและทิศทางสำคัญในการจัดการศึกษาท่ามกลางช่วงรอยเชื่อมต่อของสองศตวรรษข้างต้น ผ่านการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการศึกษาพหุวัฒนธรรมในเชิงวิพากษ์ ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้กับการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาพหุวัฒนธรรมและเพื่อสนับสนุนให้การศึกษาได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมให้หลุดพ้นออกจากกับดักของความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง…….. การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียนโดย นงเยาว์ เนาวรัตน์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[Book Re:commendation] ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ

ในยุคที่เทคโนโลยีเสกสรรสรรพสิ่งได้สุดจินตนาการ “ผี” หรือ “วิญญาณ” ถูกนิยามว่าเป็นเพียงพลังงานรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าส่วนลึกในจิตใจของผู้คนหลายกลุ่ม “ผี” ยังคงทำให้เกิดพฤติกรรม “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เช่นกันในความรู้สึกและความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ผี” ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ชวนให้สยดสยอง ลี้ลับเท่านั้น แต่ยังบงการวิถีชีวิตและก่อเกิดเป็นประเพณีที่เคียงคู่หลายชุมชนนานนับศตวรรษ และสังคมไทยทุกวันนี้ก็ไม่อาจสลัดทิ้ง “ผี” ให้พ้นจากวิถีชีวิตประจำวันได้ หนังสือ “ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ” เล่มนี้ มุ่งอธิบายถึงพัฒนาการของคติความเชื่อและตำนานของผีหรือพลังลี้ลับเหนือธรรมชาติทั้งในวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก โดยที่ผีเหล่านี้ยังคงวนเวียนในความคิด ความเชื่อของผู้คนทั่วไปจนถึงบัดนี้ พร้อมทั้งอธิบายมูลเหตุที่มาของ

[Book Re:commendation] อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย

การก่อร่างสร้างความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ของสยามในช่วงเปลี่ยนผ่านของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่เพียงได้สร้างภูมิกายาชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นชาติที่ผูกโยงกับดินแดนผ่านเทคโนโลยีแผนที่เท่านั้น หากแต่ยังได้สร้าง “อัตลักษณ์เอกสาร” ให้กับประชากร เพื่อนิยามปริมณฑลของความเป็นพลเมืองเสียใหม่ผ่านวัตถุประดิษฐ์ในการระบุตัวตน และเช่นเดียวกับแผนที่ วัตถุเอกสารและการบันทึกราชการได้ช่วยทำให้รัฐไทยสามารถแปลงมโนทัศน์อันเป็นนามธรรมว่าด้วยชาติและพลเมืองให้กลายเป็นตัวตนรูปธรรมที่จับต้องได้ และดังนั้นจึงสามารถแยกความเป็นพลเมืองกับความเป็นอื่นออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด….. “อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย” เล่มนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะแห่งการปกครองของรัฐ (statecraft) การสร้างรัฐชาติ และการสร้างอัตลักษณ์ประชากรผ่านวัตถุเอกสารของราชการอย่างบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์การเขียนพลเมือง ตลอดจนอัตลักษณ์เอกสารของชนผู้เป็นอื่นของรัฐไทย….. อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทยโดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[Book Re:commendation] เถียงกันเรื่องแท้ง: สุขภาพ เสรีภาพ ศีลธรรม

แง่มุมต่างๆ ของเพศสภาพและเพศวิถี เช่น เรื่องเพศ ความสัมพันธ์ การแต่งงาน และการเจริญพันธุ์ ถูกมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่คนเลือกทำหรือไม่ทำได้ตามความต้องการ แต่ความพึงพอใจและการเลือกเหล่านั้นถูกจำกัดและกำกับโดยกรอบกติกาว่าด้วยเรื่องเพศในชุมชนทางการเมืองที่เธอและเขาดำรงอยู่ เกณฑ์ความถูกต้องเหมาะควรนี้ได้กลายเป็นฐานของกฎหมายและนโยบายของรัฐ ที่อนุญาต/ รับรอง/ คุ้มครอง/ ห้าม/ ลงโทษการแสดงออกและวิถีชีวิต ทำให้การเจริญพันธุ์ในหลายสถานการณ์กลายเป็นความไม่ถูกต้องหรือยากลำบาก…. “เถียงกันเรื่องแท้ง” เล่มนี้ คือหนังสือที่จะพาคุณไปทำความรู้จักแนวคิดว่าด้วยการควบคุมกำกับการเจริญพันธุ์และเพศวิถี การต่อสู้ทางการเมืองในการกำหนดกติกาที่จำกัดหรือเพิ่มพูนความสามารถของคนในการเลือกทางเลือกของชีวิต และเส้นทางการโต้เถียงและผลักดันนโยบายของรัฐ ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้คุณได้ยินเสียงของผู้หญิงมากมายที่เผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อมและการจัดการกับความทุกข์ อันเนื่องมาจากการตีตราประณามและการละเมิดข้อห้ามเรื่องเพศในสังคม….. เถียงกันเรื่องแท้ง: สุขภาพ