[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่ “เมื่อคนที่ถือไมโครโฟนมีเพียงคนเดียว ที่เหลือจึงถูกบังคับให้มีสถานภาพเป็นผู้ฟัง เมื่อนักแสดงบนเวทียึดอำนาจการแสดงออกไปเป็นของพวกเขา ผู้ชมก็ได้แต่นั่งอยู่ในความมืดและไร้ความคิดเห็น เมื่อผู้มีอำนาจยึดครองความสามารถในการผลิตเรื่องเล่า ประชาชนจึงถูกยัดเยียดความจริงเพียงด้านเดียว เมื่อนักการตลาดครอบครองพื้นที่ในการพูด ประชาชนก็สูญเสียความสามารถในการผลิตกลายเป็นเพียงผู้บริโภคเชื่องเชื่อ” “การละครของผู้ถูกกดขี่” พยายามเสนอข้อพิสูจน์ที่ว่าการละครคืออาวุธชนิดหนึ่ง และเป็นอาวุธประสิทธิภาพสูงเสียด้วย ชนชั้นปกครองจึงไม่เคยลดละความพยายามที่จะครอบครองศิลปะการละครเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำมวลชน ขณะที่ละครก็สามารถเป็นอาวุธในการปลดแอกของมวลชนด้วยเช่นกัน ทั้งยังรวบรวมและนำเสนอปรัชญา-กระบวนการและระบบของการละครของผู้ถูกกดขี่ เพื่อ “ส่งคืน” ความสามารถในการเล่าเรื่องให้กับเหล่าผู้ถูกกดขี่และถูกช่วงชิงเสียงของตนเองไป… การละครของผู้ถูกกดขี่โดย Augusto Boalแปลโดย ภินท์ ภารดามสำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น เทคโนโลยีการทำแผนที่มีความเป็นมาอย่างไร เรื่องของการทำแผนที่สมัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนที่ของราชการและของเอกชนอีกหลายฉบับรวมทั้งกูเกิ้ลแมปนั้นในความเป็นจริงแล้วจึงมีประวัติที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการสำรวจของนักวิชาการซึ่งร่วมทำแผนที่ฉบับนั้นและได้สร้างผลงานที่เป็นต้นแบบของการศึกษาหมู่บ้านและวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นประวัติของวงวิชาการไทยอีกอย่างหนึ่งที่น่าเรียนรู้….. “แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น” คือหนังสือที่ว่าด้วยการทำแผนที่ทหารที่ชื่อ ‘L708’ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมุ่งตอบปมปัญหาหลักที่ว่า “รัฐประชาชาติ(nation state) ของไทยเกิดขึ้นเมื่อไร อะไรคือกลไกและปัจจัยให้รัฐประชาชาติก่อตัวขึ้นได้” ผ่านการพิจารณากระบวนการสำรวจและการทำแผนที่หมู่บ้านในประเทศไทยในยุคสงครามเย็น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้ามาของเทคโนโลยีที่รัฐใช้ในฐานะที่เป็นความพยายามออกแบบสังคมและการทำให้ผู้คนหยุดนิ่งอยู่กับที่และกลายมาเป็นผู้สวามิภักดิ์กับรัฐในที่สุด…… ผลของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของเรื่องราวดังกล่าว ถูกไล่เรียงออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ตั้งแต่บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการพันาเทคโลโลยีการทำแผนที่, เทคโนโลยีในบริบทของสงครามเย็น, กำเนิดการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย, ปมปัญหาบางประการในการถกเถียงเรื่องหมู่บ้านซึ่งปรากฏในงานวิชาการของนักมานุษยวิทยาจำนวนหนึ่งในทศวรรษ 1950 และ 1960, ศึกษาการสำรวจและทำแผนที่หมู่บ้านของนักมานุษยวิทยากลุ่มสำคัญ รวมไปถึงอภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจ เทคโนโลยีการทำแผนที่ และการก่อรูปของรัฐชาติ…… แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็นโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภสำนักพิมพ์ Illuminations Editionsกางแผนที่ความเป็นรัฐชาติรอคุณแล้วที่ Book Re:public ค่ะ

Book Re:commendation] เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา

Book Re:commendation] เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา  เราดื่มสังสรรค์เมื่อสิ้นสุดวันทำงาน…เราดื่มเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ…เราดื่มเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา…เราดื่มเพื่อปลอบประโลมใจจากความทุกข์… ความเมามายไหลเวียนอยู่ในวิถีชีวิตมนุษย์มานับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน “เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุรา” จะพาคุณล่องกระแสน้ำเมาในแต่ละอารยธรรมทั่วโลก นับตั้งแต่งานเฉลิมฉลองในเทศกาลแห่งความเมาของชาวอียิปต์โบราณ ทะเลสาบเหล้าที่มอมเมาจักรพรรดิจีนจนสิ้นราชวงศ์ กระแสคลั่งจินกับโศกนาฏกรรมของชนชั้นล่างชาวอังกฤษ ไปจนถึงไวน์รสเลิศในงานเลี้ยงที่เผยด้านมืดของชาวโรมัน… หนังสือเล่มนี้จะพาคุณดื่มด่ำรสชาติของน้ำเมาในหลากหลายมิติ ทั้งรสหวานหอมในตำนานเรื่องเล่าแสนรื่นรมย์ รสขมเฝื่อนในฉากนองเลือดทางการเมืองอันเกิดจากความเมามาย รสล้ำลึกของความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างน้ำเมากับศาสนา หรือรสร้อนแรงยามดิ้นรนต่อสู้กับกฎหมายห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้ผสมผสานเป็นประวัติศาสตร์รสกลมกล่อม ไม่ต่างกับสุราเลิศรสที่มนุษยชาติหลงใหลใคร่ “เมา” มิเคยเสื่อมคลาย… เมา: ประวัติศาสตร์แห่งการร่ำสุราโดย Mark Forsythแปลโดย ลลิตา ผลผลาสำนักพิมพ์ Bookscape

[Book Re:commendation] Daisy Miller เดย์ซี มิลเลอร์

[Book Re:commendation] Daisy Miller เดย์ซี มิลเลอร์ “ผมเกรงว่านิสัยของคุณจะออกไปทางเจ้าชู้”“แน่นอนค่ะ​ ฉันเป็นผู้หญิงเจ้าชู้ที่น่ากลัวที่สุด! แล้วคุณเคยรู้จักผู้หญิง​ดีๆ​ ที่ไม่เจ้าชู้ไหม​ แต่ฉันว่าคุณกำลังตำหนิว่าฉันเป็นผู้หญิงไม่ดี”“คุณเป็นผู้หญิงที่ดีมาก​ แต่ผมอยากให้คุณหยอกเอินกับผมเพียงคนเดียว” เฟรดเดอริก วินเทอร์บอร์น ชายหนุ่มชาวอเมริกันผู้เติบโตและใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปเป็นเวลานาน ได้พบกับแอนนี พี. มิลเลอร์ หรือเดย์ซี มิลเลอร์ หญิงสาวเพื่อนร่วมชาติจากเมืองสเกอเนคตาดี รัฐนิวยอร์ค ซึ่งกำลังเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนในยุโรปกับมารดาและน้องชาย ด้วยอุปนิสัยที่ไม่เหมือนหญิงคนใด ทั้งความตรงไปตรงมาและไม่ทำตัวตามธรรมเนียมทำให้เขาหลงเสน่ห์เธอแต่ผู้คนรอบตัวเขาต่างพากันมองว่าเธอไม่ใช่ผู้หญิงที่ดีเพราะเที่ยว “ระริกระรี้” สนิทสนมกับชายหนุ่มทุกคนอย่างง่ายดาย รวมไปถึงพฤติกรรมที่เพิกเฉยต่อธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันชั้นสูงรับไม่ได้ เฟรดเดอริกต้องเผชิญกับความกดดันจากคติของสังคมความรู้สึกของหัวใจตนเองและตัวตนของเดย์ซี ว่าแท้จริงแล้วเธอคือหญิงสาวใสซื่อ อ่อนเดียงสาและรักอิสระ หรือเป็นหญิงสาวที่จงใจหว่านเสน่ห์และเร่รักกันแน่ ว่ากันว่าการมาเยือนเจนีวาครั้งนี้ของเขาจึงเป็น “การศึกษา” อย่างหนักของเขาในอันที่จะพาตัวเองเข้าถึงบทสรุปของหัวใจตนเองและความรู้สึกนึกคิดของหญิงงามชาวอเมริกันผู้ตกเป็นจำเลยของสังคม–เดย์ซี มิลเลอร์… เดย์ซี มิลเลอร์: การศึกษาสองภาค หรือ Daisy Miller: A Study ผลงานของเฮนรี เจมส์ (Henry James) นักเขียนชายชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสัญชาติอังกฤษในปี ค.ศ. 1878 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือในปี ค.ศ. […]

[Book Re:commendation] Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย

[Book Re:commendation]“Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย” “มีบางคนไม่ให้ความร่วมมือ.ถ้าคุณไม่รักพวกเขา.ก็ออกไป.เข้าห้องน้ำ.ล้างหน้า ล้างตา.แล้วกลับมารักกันใหม่ได้…”—–(บางส่วนจากบทละคร โดย ธนพล วิรุฬหกุล) Collective Thai Scripts ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหวังที่จะรวบรวม จัดแปล และ ตีพิมพ์ บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัยสู่ผู้อ่านทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในฉบับที่หนึ่งนี้ได้ตีพิมพ์บทการแสดงไทยร่วมสมัย 4 เรื่องภายใต้หัวข้อ “Micro Politics” ประกอบด้วย “ที่ ไม่มีที่” โดย ประดิษฐ ประสาททอง “บางละเมิด” โดย อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ “HIPSTER THE KING” โดย ธนพล วิรุฬหกุล และ “การหายตัวไปของเด็กชายในบ่ายวันอาทิตย์” โดย ธนพนธ์ อัควธัญญู …นอกเหนือไปจากบทละครเวทีและการแสดงทั้ง 4 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในหนังสือ Micro Politics ยังจัดทำบทสัมภาษณ์ถึงแนวคิดและเบื้องหลังการสร้างงานรวมไปถึงตารางเส้นทางชีวิตของศิลปินทั้งสี่ท่านที่คู่ขนานไปกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทยและประวัติศาสตร์บางส่วนของศิลปะการแสดง ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของผลกระทบจากภาวะทางสังคมและการเมืองไทยในช่วงสี่ปีหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองในปี 2557 ที่ส่งผลต่อเราในระดับปัจเจกทั้งในฐานะ ศิลปิน ประชาชน และ มนุษย์ พร้อมทั้งเป็นดั่งบันทึกภาวะการณ์จากแรงสะท้อนของปัจเจกสู่สังคม ณ […]

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา (On Critical Discourse Analysis) “ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 หนังสือ วาทกรรมการพัฒนา ตีพิมพ์สู่สังคมไทยเป็นครั้งแรก หนังสือเล่มนี้เปิดพื้นที่มุมมองต่อการพัฒนาที่แตกต่าง สร้างผลกระทบต่อวงวิชาการด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก “วาทกรรม” กลายเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง และถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาด้านการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมมาจนกระทั่งปัจจุบัน…. ทว่านับตั้งแต่ “วาทกรรมการพัฒนา” ได้ปรากฏตัวขึ้นในสังคมไทย ก็ยังไม่มีหนังสือหรือตำราเล่มใดที่เขียนเรื่องการศึกษาวาทกรรมการพัฒนาอย่างเป็นระบบ แทบจะไม่มีการขยายพรมแดนความรู้ของแนวทางการศึกษาดังกล่าวให้ไกลออกไปจากการศึกษาวาทกรรมแนวฟูโกต์ และที่สำคัญ การศึกษาการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมยังขาดข้อเสนอและรูปแบบวิธีการของการพัฒนาแบบ “หลังการพัฒนา” ที่เป็นรูปธรรม…. “ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา” เป็นความพยายามที่จะแสวงหาและนำเสนอแนวคิดของการพัฒนาที่ไปไกลกว่าการพัฒนาแบบทางเลือก พร้อมทั้งแนะนำแนวคิด ทฤษฎีการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ รวมไปถึงการเสนอวิธีวิทยาและการนำแนวคิดไปใช้ในการวิจัยค้นคว้าด้านการพัฒนา…… ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนาโดย สมชาย ศรีสันต์คำนิยมโดย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารสำนักพิมพ์สมมติ

[Book Re:commendation] ประวัติศาสตร์ถิ่นเหนือ กับเรื่องอื่นๆ

“สงวน โชติสุขรัตน์” นั้นเป็นนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ศึกษาและสนใจค้นคว้าความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ทั่วไปอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องราวในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทางภาคเหนือ ซึ่งในที่นี้เราอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาและนำเสนอความรู้นั้นออกมาเป็นงานในรูปของสารคดีที่ดีเด่นและน่าสนใจยิ่ง “ประวัติศาสตร์ถิ่นเหนือ กับเรื่องอื่นๆ” เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งคุณสงวน ได้เขียนและตีพิมพ์ลงเป็นชิ้นในนิตยสารและหนังสือพิมพ์มาก่อนก่อนจะถูกนำมารวมเล่มอีกครั้งในภายหลัง โดยหลักแล้วเรื่องราวที่ปรากฏเป็นเรื่องราว ทั้งประวัติศาสตร์และตำนานของทางภาคเหนือ ทั้งนี้ รวมไปถึงการวิเคราะห์เอกสารตำนานต่างๆ ที่ท่านได้สังเกตและศึกษามา…. ประวัติศาสตร์ถิ่นเหนือ กับเรื่องอื่นๆโดย สงวน โชติสุขรัตน์สำนักพิมพ์ศรีปัญญา

[Book Re:commendation] ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม

… งานวิชาการด้านฟิลิปปินส์ศึกษาในโลกวิชาการภาษาไทยที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่มักเดินตามตำราประวัติศาสตร์กระแสหลักของฟิลิปปินส์ บ้างก็ละเลยข้อถกเถียงในวงประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ กระทั่งไม่สนใจที่จะหยิบของงานประวัติศาสตร์แนววิพากษ์ของนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายมาพิจารณาว่างานเหล่านั้นกำลังนำเสนอข้อถกเถียงหรือคำอธิบายประการใด บางคนอาจไม่ทันได้ตระหนักด้วยซ้ำว่างานต่างๆ ที่ตัวเองหยิบมาใช้นั้นดำเนินอยู่ในแนวทางอันแตกต่างชนิดอยู่ร่วมโลกกันได้ยากและกำลังห้ำหั่นกันอยู่ “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม” เป็นหนังสือที่ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นข้อถกเถียงของเหล่านักประวัติศาสตร์ฟิลีปีโนที่พยายามก้าวให้พ้นจากประวัติศาสตร์แบบเส้นตรงและสถาปนาความทรงจำร่วมของชาติขึ้นมาใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเผยให้เห็นถึงการขับเคี่ยวต่อสู้กันในวิถีการครอบงำและการผลิตสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ชาติให้กับพลเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหมุดหมายสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติ อย่างน้อยก็ต่อชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้….. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคมโดย สิริฉัตร รักการสำนักพิมพ์ Illuminations Editions

[Book Re:commendation] เมือง กิน คน: แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องของนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย

ความเป็นเมืองไม่ใช่เพียงเป็นพื้นที่ หากแต่อยู่ที่วิถีชีวิตผู้คน ในความหมายนี้ ท่ามกลางชนบทก็ยังมีเมือง จึงกล่าวได้ว่า เวลานี้เราอยู่ในยุคสมัยของความเป็นเมืองแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมืองคือความสะดวกสบาย ความเจริญ การมีบริการที่ก้าวหน้า เหนือสิ่งอื่นใด เมืองคือโอกาสทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ และการมีงานทำ และยังเป็นศูนย์รวมของภูมิปัญญาและพลังที่สร้างสรรค์จนมีการกล่าวว่าเมืองคือการสืบทอดวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนเรากลับมีความเข้าใจและความใส่ใจต่อเมืองไม่มาก เมืองมักถูกพัฒนาตามยถากรรม การพัฒนาเมืองตามไม่ทันกับสภาพสังคมและกระแสการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนำมาซึ่งความขัดแย้งของเมืองในหลายด้านหลากมิติ…. “เมือง กิน คน” เล่มนี้ ถูกประกอบขึ้นจากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาวะของคนในเมือง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาของเมือง นโยบายการจัดการเมือง รวมไปถึงเรื่องการเมืองของนคร (Urban Politics) เพื่อชี้ชวนให้ผู้อ่านสนใจ สัมผัส และสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว ที่ประกอบกันขึ้นในลักษณะที่เรียกว่า “เมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเรามีส่วนร่วมในการสร้างมันขึ้นมา และเราก็ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากเมืองในหลายรูปลักษณะ เมือง กิน คน: แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องของนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2)โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI)