แนะนำหนังสือ ที่ควรค่าแก่การอ่าน ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดยทีมงาน Book Re:public
ปากไก่และใบเรือ
“…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”
ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ”
หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนปะวัติศาสตร์ทุนนิยมไทยยุคแรก ที่ศึกษาผ่านงานวรรณกรรม โดยหนังสืออธิบายการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ การเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่มุ่งเน้นอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคม ต้นรัตนโกสินทร์ ที่มีแรงผลักดันจากภายในเป็นสำคัญ ด้วยองค์ประกอบสำคัญ เช่น แรงงาน, พ่อค้า,และชาวจีน รวมไปถึงจีนบางพวกที่แทรกซึมเข้าไปในระบบศักดินาและ ถูกกลืนเป็นชนชั้นสูงของไทย ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการศึกษางานวรรณกรรมในยุคนั้นด้วย
การเมืองไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทำไมต้องอ่าน กรุงธนบุรี | อ่านเล่นนี้ เพื่อเข้าใจ “เจ๊ก”
หนังสือประวัติศาสตร์กษัตริย์ ที่ทำให้ผู้อ่านเห็นทัศนคติของ อ.นิธิที่มองพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่ทวยเทพ เป็นทั้งมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ความสง่างาม และยิ่งใหญ่ การมีตัวตนของพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่สามารถตัดขาดการเมือง และการมองเห็นความหลากหลายของวิถีชีวิตชนชาติจีน และคนอื่นๆ ในประวัติศาตร์ไทยไม่ได้เช่นกัน
“…แม้ว่าในสมัยหลังความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อ “เจ๊ก” (ซึ่งใช้ในที่นี้เพื่อให้หมายุคงจีนและเชื้อสายจีนในเมืองไทย)ไม่สู้ดีนัก และทำให้ไม่อยากเห็นวีรบุรุษของชาติเป็น “เจ๊ก”…”
ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน และอนุสาวรีย์
“คนเราเกิดมาตัวเปล่า แต่ก็ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมทันทีที่เกิดมา เหตุฉะนั้น เราทุกคนขีดเส้นชีวิตของเราได้ในระดับหนึ่ง แต่ขีดทั้งหมดตามอำเภอใจไม่ได้ เพราะส่วนสำคัญหนึ่งของชีวิตนั้นวัฒนธรรมได้ขีดไว้ให้แล้ว”
(บางส่วนจากบท “วัฒนธรรม คือระบบความสัมพันธ์”)
ศิลปะวัฒนธรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม, 2532)
ทำไมต้องอ่าน ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน และอนุสาวรีย์
แม้ว่าข้อเขียนส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้จะถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงปี 2532-2537 แต่ยังร่วมสมัยจนถึงเวลาปัจจุบัน ด้วยการวิพากษ์ให้เราเห็นถึงแก่นสำคัญของโครงสร้างวัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่ทำหน้าที่บรรจุเรื่องราวจำนวนมากเอาไว้เพื่ออ้างอิงถึงความเป็นไทยคืออะไร
แผ่นดินจึงดาล การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ
“ผมยังไม่เห็นความสัมพันธ์ที่ชนชั้นกลางในเมืองกับชนชั้นกลางระดับล่างจะมองอะไรคล้ายๆ กัน มันยังไม่เห็น เรื่องโอกาสของการที่จะเกิดการผสมผสานกับชนชั้นกลางในเมืองกับระดับล่างในทางวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่ดูว่ารัฐบาลใหม่เอาใจคนชั้นกลางในเมืองมากขึ้น เพราะทักษิณก็เอาใจ ทำไมเขาไม่ชอบแก ก็ต้องอยู่ที่ว่าจะมีโอกาสรวม 2 ชนชั้นนี้หรือไม่ ซึ่งผมไม่คิดว่าจะมี”
แผ่นดินจึงดาล บทสัมภาษณ์ “วัฒนธรรมและชนชั้น” โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในบทสัมภาษณ์ของ อ.นิธิ ในเล่มนี้มีความน่าสนใจในการชวนถอดรื้อมายาคติภาพชนชั้นชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างที่เป็นกลุ่มประชากรสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นกลุ่มที่อ.นิธิวิพากษ์ให้เห็นถึงความเปราะบาง เหตุใดพวกเขาจึงเป็น’อนุรักษ์นิยม’ และความหวาดกลัวต่อ ภาพแทนที่ชนชั้นกลางมีต่อ “ทักษิณ” และในอีกด้านหนึ่งคือตัวเร่งที่ทำให้คนชนบทตระหนักถึงพลังอำนาจของตัวเองผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเหมือนจิ๊กซอส่วนสำคัญที่เป็นผลกระทบสู่ทิศทางการเมืองไทย ณ เวลานี้
ว่างแผ่นดิน ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ “กรุงแตก” ในสามราชอณาจักร
ความวุ่นวายปั่นป่วนขั้นจลาจบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดช่วงเวลาที่เรียกว่า “ว่างแผ่นดิน” ว่างระเบียบ ซึ่งช่วงเวลาขนบนี้ ระบอบการปกครองที่จะแตกต่างจากระบอบปกครองเดิมอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งน้อยนักที่งานประวัติศาสตร์กระแสหลักจะขยายให้เห็นรายละเอียดของช่วง”ว่างขนบ”นี้
ในเล่มนี้จะชวนให้ผู้อ่านได้เห็นความสำคัญของช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านอำนาจ การปกครอง ช่วงประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าตาก ที่เป็นภาวะ ‘ว่างแผ่นดิน’ และยังเทียบเคียงกับช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ในกรณีล่มสลายของสาม ‘รัฐราชอาณาจักร’ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน คืออยุธยา อังวะ และด่ายเหวียดของเวียดนาม
วิวาทะว่าด้วยแก่นสานของประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่ : 2 ปัญญาชนอาวุโส ส.ศิวรักษ์ กับ นิธิ เอียวศรีวงศ์
“ผมคิดว่าตราบเท่าที่คุณเป็นประชาธิปไตยพอ คนที่เชื่อว่ามนุษย์ไม่เท่าเทียมกันก็สามารถที่จะต่อสู้ให้คนอื่นเห็นด้วยกับตัวว่า มนุษย์จริงๆ แล้วไม่ได้เท่าเทียมกัน คุณจะบอกว่าไม่เท่าเทียมโดยกำเนิดหรือไม่เท่าเทียมโดยเป็นบัวใต้น้ำ บัวกลางน้ำ บัวพ้นน้ำอะไรก็แล้วแต่ คุณก็ว่าไปเถอะ คนที่เขาไม่เห็นด้วยก็สามารถที่จะชี้ให้เห็นว่าทั้งหมดเหล่านี้มันก็ไม่จริงก็ได้ ขออย่าให้มีอำนาจอันใดอันหนึ่งที่จะมาปิดกั้นไม่ให้คนได้ต่อรองก็แล้วกัน”
ส่วนหนึ่งของบทสนทนา อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
หนังสือเล่มนี้ใช้การนำเสนอในรูปแบบบทสนทนาในประเด็นวิวาทะว่าด้วยแก่นสานของประชาธิปไตย ของอาจารย์ ศ.ศิวรักษ์และอาจารย์นิธิ ชวนเราเดินทางทางความคิดทั้งในมุมมองที่เห็นต่างและบางจุดเหมือนกัน เพื่อร่วมค้นหาคุณสมบัติหรือแก่นสารของระบบประชาธิปไตยที่ดี จะอ่านเป็นเหมือนหนังสือวิชาการก็คงไม่ใช่ แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดคือ ทัศนคติ และการถกเถียงกันที่ลื่นไหล และชวนให้เราเห็นคำถามใหม่ๆในระหว่างบทสนทนาของทั้งสอง